เมื่อวันที่ 10 พ.ค.66 เวลา 02.00 น. เจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้รับแจ้งมีคนคลอดลูกในรถกระบะบริเวณถนนติวานนท์ ใกล้กับลอยข้ามแยกอัมพรไพศาล ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยที่เกิดเหตุพบกระบะยี่ห้อโตโยต้า สีดำ หมายเลขทะเบียน 8 กญ 6764 กทม. ซึ่งบริเวณเบาะหลังพบสาวรายหนึ่งทราบชื่อนางสาว XEM สัญชาติลาว น้ำคร่ำแตก คลอดลูกในรถกระบะ ออกมาเรียบร้อยแล้ว เป็นเพศชาย ส่วนสามีคือนายภาคภูมิ อายุ 22 ปี ตกอยู่ในอาการดีใจและตกใจที่ภรรยาคลอดลูกในรถ จากนั้น ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาสมัครป่อเต็กตึ๊งก็ได้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลกรมชลประทานปากเกร็ด
นายภาคภูมิ เล่าว่า แฟนบ่นเจ็บท้องปวดหลังทนไม่ไหว เลยไปซื้อยาพาราเซตามอลมากิน จากนั้นกินข้าวได้ 2-3 คำ น้ำคร่ำแตกคาที่นอน จึงได้ขับรถออกมาถึงตรงเลี่ยงเมืองปากเกร็ด แฟนทนไม่ไหวคลอดในรถ พอดีเห็นเจ้าหน้าที่กู้ภัยจอดอยู่จึงได้เข้าไปขอความช่วยเหลือ และยังขอบคุณทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ช่วยพาแฟนไปส่งที่โรงพยาบาล
ด้านนายพฤหัส โชคสัมฤทธิ์ผล อายุ 22 ปี หนึ่งในเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเล่าว่า ตนกำลังเข้าเวรอยู่แล้วมีรถกระบะขับมาขอความช่วยเหลือบอกว่าแฟนกำลังจะคลอดลูก แต่พอเจ้าหน้าที่ไปถึงเด็กก็คลอดออกมาแล้ว ซึ่งเด็กออกมาได้สมบูรณ์ดี จึงได้ช่วยกันนำตัวแม่เด็กและลูกส่งโรงพยาบาลกรมชลประทานปากเกร็ด
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้
น้ำคร่ำแตก คลอดลูกในรถกระบะ รับมือยังไงบ้าง
น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน เป็นภาวะที่ถุงน้ำคร่ำมีรอยรั่วทำให้น้ำคร่ำไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทารกพร้อมคลอดแล้ว และถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ใกล้คลอด แต่ถ้าภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด โดยเฉพาะกับคนที่มีอายุครรภ์ยังไม่ครบ 37 สัปดาห์ อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
ส่วนอาการน้ำคร่ำแตกของคุณแม่แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางคนอาจรู้สึกเหมือนถุงแตก น้ำคร่ำจะไหลทะลักออกมา และอาการน้ำคร่ำรั่วเล็ก ๆ หรือบางรายอาจมีน้ำคร่ำไหลหยดช้า ๆ เหมือนกำลังปัสสาวะค่ะ ในขณะที่บางรายอาจรุนแรงกว่านั้นมากกว่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงแรงกด จากนั้นค่อยรู้สึกเหมือนมีอะไรเล็ก ๆ แตกอยู่ข้างใน แล้วตามด้วยความรู้สึกโล่งหลังที่ถุงน้ำคร่ำแตก
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ หรือคุณแม่ท้องแรก อาจจะยังไม่มั่นใจว่าของเหลวที่ไหลออกมานั้น เป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะกันแน่ ซึ่งจุดสังเกตก็คือ น้ำคร่ำจะมีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ ไม่เหนียว และไม่ส่งกลิ่นอะไรเลย แต่ในบางรายน้ำคร่ำอาจมีกลิ่นเหมือนคลอรีน หรือน้ำอสุจิ หรือไม่ก็อาจมีเลือดปนอยู่เล็กน้อยได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่คลอดลูกแฝดที่เกิดจากถุงน้ำคร่ำเดียวกัน (Momo Twins)
ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อน้ำคร่ำแตก
เมื่อน้ำคร่ำแตก สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติก็คือ พยายามทำใจให้สงบ ตั้งสติ แล้วโทรเรียกโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ อาจมีน้ำคร่ำในปริมาณมากถึง 800 มิลลิลิตร เพื่อให้มั่นใจได้ว่า น้ำคร่ำจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย และสามารถสวมใส่แผ่นอนามัยเพื่อป้องกันน้ำคร่ำไหลเปื้อนเสื้อผ้าได้ หรือถ้าเกิดว่าคุณแม่มีน้ำคร่ำไหลออกมาในปริมาณมากเกินไป ก็สามารถป้องกันน้ำคร่ำเลอะเทอะได้ด้วยการใช้ผ้าขนหนูสะอาด และแผ่นพลาสติกรองขณะเดินทางไปโรงพยาบาลได้ค่ะ
ในกรณีที่น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด อาจต้องรอให้มีอาการเจ็บคลอดก่อน ซึ่งปกติแล้วมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากน้ำคร่ำแตก โดยสามารถแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัวได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อของทารกในครรภ์ หากถุงน้ำคร่ำแตกนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง แต่ยังไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บท้อง ให้รีบแจ้งคุณหมอทันที
ส่วนกรณีมีภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด ควรแจ้งสูตินรีแพทย์ และไปโรงพยาบาล ในขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ให้คุณแม่ระวังน้ำคร่ำให้ดี เพราะการสูญเสียน้ำคร่ำมากเกินไป อาจจะทำให้ลูกเกิดอาการเจ็บปวดได้ค่ะ และจะสังเกตเห็นได้จากสีของน้ำคร่ำ แทนที่จะเป็นน้ำใส ๆ น้ำคร่ำจะมีเลือดปนมาด้วยในปริมาณมาก พร้อมกับมีกลิ่นเหม็น สิ่งสำคัญเมื่อน้ำคร่ำแตก ต้องคอยสังเกตให้ดี โดยเฉพาะในภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เพราะทารกที่แม่มีภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าทารกที่คลอดตามปกติ ซึ่งคุณแม่ต้องเพิ่มระมัดระวังตัวเอง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์
น้ำคร่ำแตกเมื่อไร ?
โดยทั่วไปแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกก่อนเกิดอาการเจ็บท้องคลอดเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแม่ท้องทุกคนจะน้ำคร่ำแตกช่วงในเวลาเดียวกัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละสิบ ที่มีภาวะน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด เรียกว่า “ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด” หรือ “ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด” นั่นเองค่ะ
แต่ในบางกรณีที่พบได้น้อย ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละสาม ก็อาจเกิดภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด (Preterm prelabor rupture of membranes: PPROM) ซึ่งหมายถึง ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บคลอดที่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ซึ่งภาวะนี้ทำให้ทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน และหากน้ำคร่ำแตกเร็วเกินไป คุณหมออาจต้องกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บคลอดมากขึ้น
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ถุงน้ำคร่ำแตกจะมีผลต่อแม่และทารกก็ต่อเมื่ออายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์ หรือการคลอดก่อนกำหนดนั้นเอง ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่เกิดอาการถุงน้ำคร่ำแตก ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะถ้าเกิดปล่อยให้น้ำคร่ำไหลออกมามากเกินไป ลูกน้อยก็อาจจะได้รับบาดเจ็บได้เช่นเดียวกันค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?
ภาวะน้ำคร่ำแห้ง คืออะไร ป้องกันได้หรือไม่?
น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร
ที่มา :
sanook.com
hellokhunmor.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!