X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

บทความ 3 นาที
น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

คุณแม่ท่านนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองผ่านเพจคนท้องคุยกันว่าตัวเองเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำให้ต้องผ่าท้องออกก่อนสายเกินไป

อาการน้ำคร่ำรั่ว หากคุณแม่ท้องมีอาการผิดปกติใด ๆ แม้แต่นิดเดียว อย่าลืมรีบหาหมอให้ไวที่สุด เพราะนั่นอาจะเป็นสัญญาณของถุงน้ำคร่ำรั่วก็เป็นได้ ก่อนที่จะเล่าเรื่องราวของคุณแม่ ต้องขอแจ้งให้ทราบก่อนนะคะว่า ตอนนี้คุณแม่ Mo Mcry ได้คลอดลูกสาวที่น่ารักแล้วชื่อว่า “น้องอลิน” ซึ่งเป็นการคลอดน้องก่อนกำหนด เนื่องจากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับ ถุงน้ำคร่ำรั่ว อาการและสาเหตุเกิดจากอะไรไปดูกันเลยค่ะ

อาการน้ำคร่ำรั่ว

อาการน้ำคร่ำรั่ว

คุณแม่ Mo Wcry เล่าว่า คุณแม่ขับขี่มอเตอร์ไซด์เป็นประจำ ตั้งแต่ท้องได้แรก ๆ จนรู้สึกว่ามีน้ำไหลคล้ายปัสสาวะออกมา ซึ่งน้ำดังกล่าวนั้น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไหลออกมาจากทางอวัยวเพศ สัปดาห์นึงไหลประมาณ 2 – 3 ครั้ง แต่เป็นการไหลในปริมาณที่ไม่มาก น้ำคร่ำรั่วตกขาว ไม่เหมือนกัน 

คุณแม่ได้แจ้งไปยังหมอที่ฝากครรภ์ หมอได้ทำการตรวจภายในให้ แล้วบอกว่าไม่มีอะไรต้องน่าเป็นกังวล เป็นตกขาวจึงให้ยาสอดมา คุณแม่พยายามอธิบายกับหมอว่า ไม่ใช่ตกขาว หมอก็ยังคงยืนยันว่า มันเป็นตกขาว!!

จนเข้าเดือนที่ 8 หรือสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่มีอาการท้องแข็งตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้า โดยมีน้ำใส ๆ ซึมออกมาตลอดเวลาเลยรีบโทรถามหมอที่ฝากครรภ์ หมอก็ยังคงบอกว่า ไม่เป็นไร แค่เด็กโก่งตัว ไม่ต้องมาหาหมอหรอก แต่ด้วยความไม่สบายใจ จึงตัดสินใจไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอให้อัลตร้าซาวด์ปรากฏว่า “น้ำคร่ำน้อย ถุงน้ำคร่ำรั่ว” จึงให้นอนแอทมิททันที!!

ตลอดทั้งคืนนั้นท้องของคุณแม่แข็งมาก ปัสสาวะออกมามีสีเข้ม หมอจึงฉีดยาขยายปอดเด็ก เตรียมผ่าน้องออกก่อนกำหนด เพราะน้ำคร่ำนั้นน้อยมาก และน้องจะอยู่ข้างในต่อไปอีกไม่ได้แล้ว หมอจึงผ่าคลอดด้วยวิธีการโปะยาสลบ น้องอริน ออกด้วยน้ำหนักตัว 1,900 กรัม สุขภาพแข็งแรงดีมาก ๆ และไม่ต้องอยู่ในตู้อบเลย

คุณแม่บอกว่า “ระหว่างท้องคุณแม่ไม่เคยแพ้ ไม่ได้บำรุงอะไรมากมาย ยาบำรุงก็ไม่ได้ทาน กินทุกอย่างตามใจปาก แต่ที่ต้องการเล่าสู่กันฟังนั้น เป็นเพราะว่าอยากให้คุณแม่ท้องที่มีอาการผิดปกติหรืออาการคล้ายกัน อย่านิ่งเฉย ถ้าหากมีอาการผิดปกติอะไร ให้รีบหาหมอดีที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้เราไม่มีทางรู้เลยว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับลูกของเราหรือเปล่า”

ขอขอบคุณเรื่องราวจากคุณแม่ Mo Wcry และ เพจคนท้องคุยกัน

อาการน้ำคร่ำรั่ว

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด น้ําคร่ำรั่ว คืออะไร ?

หากถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำจะแตกออก และน้ำคร่ำจะไหลออกทางช่องคลอด การเกิดเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า น้ำเดิน หรือ SROM  ซึ่งคุณแม่จะมีเวลาพอที่จะโทรศัพท์ไปหาแพทย์ หรือเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งหากทารกคลอดในเวลานี้ ก็จะถือว่าเป็นการคลอดที่ปกติสมบูรณ์แบบ แต่หากน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 หรือ 38 เราจะเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด หรือ PROM ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำที่ออกมาจะมากหรือน้อยก็ได้

น้ำคร่ำโดยปกติจะมีสีใส แต่บางครั้งก็อาจมีเลือดปะปนทำให้เห็นเป็นสีชมพู สีเขียว หรือสีน้ำตาล เราสามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ำคร่ำ และน้ำปัสสาวะได้ เพราะน้ำคร่ำจะไหลต่อเนื่องโดยเราไม่สามารถควบคุมให้หยุดได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการปัสสาวะรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก น้ําคร่ำรั่ว ?

หากพบว่ามีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด คุณแม่ต้องสังเกตที่ความต่อเนื่องของการไหลเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นน้ำคร่ำคุณแม่จะไม่สามารถควบคุมการหยุดได้ ซึ่งแตกต่างจากน้ำปัสสาวะ คือสามารถบังคับให้หยุดไหลได้

เมื่อแน่ใจว่าของเหลวที่ไหลออกมาเป็นน้ำคร่ำ ให้ใช้ผ้าอนามัยใส่ที่กางเกงใน และเมื่อผ้าอนามัยซับน้ำจนชุ่มก็ต้องเอาออกเพื่อตรวจสอบสี และกลิ่นของน้ำคร่ำ หากเป็นน้ำคร่ำ มันจะใสไม่มีสี และมีกลิ่นหอม ซึ่งหากตรวจดูแล้วว่าเป็นน้ำคร่ำจริงก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการ คลอดทันที น้ำคร่ำที่ไหลออกมาอาจทำให้คุณแม่และทารกมีโอกาสติดเชื้อได้

 

อะไรคือสาเหตุของถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ?

การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนเจ็บท้องคลอดอาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันดังนี้

  • มารดาเคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดมาก่อน
  • การติดเชื้อในช่องคลอด มดลูกหรือปากมดลูก
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • แรงตึงมากเกินไปที่ผนังถุงน้ำคร่ำในกรณีทารกแฝดหรือทารกตัวใหญ่
  • เคยผ่าตัดมดลูกหรือปากมดลูกมาก่อน
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ดื่มสุรา ยาเสพติด หรือการขาดสารอาหาร

ที่มา: เพจคนท้องคุยกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

คุณแม่แชร์ประสบการณ์ ท้องแข็งบ่อยระวังคลอดก่อนกำหนด

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้
แชร์ :
  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

    อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

    อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ