เรียกได้ว่ากลายเป็นกระแสไวรัลสุดฮิต กับกรณีทางการแพทย์ของชายรายหนึ่ง ที่มีอาการทรมานจากการเจ็บหน้าอก เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน หลังไปหาหมอจึงพบว่า หนุ่มเจอเข็มทิ่มปอด ความยาวเข็มกว่า 2.4 ซม.
เรื่องนี้ถูกรายงานตามสื่อท้องถิ่นของจีน โดยเป็นเรื่องของชายวัย 27 ปี ในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี มีอาการไม่สบาย นอนไม่หลับ และมีอาการเจ็บแปลบบริเวณหน้าอกบ่อย ๆ มานานกว่า 1 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตปกติของเขาอย่างมาก จึงทำให้เค้าตัดสินใจไปหาหมอที่โรงพยาบาล
หลังจากไปตรวจ CT สแกนที่โรงพยาบาล เขาก็ต้องตกใจเมื่อพบวัตถุโลหะคล้ายเข็มปักผ้าในร่างกาย ศาสตราจารย์จากภาควิชาศัลยศาสตร์ทรวงอก ได้ทำการศึกษาประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยอย่างรอบคอบ และทำการตรวจพบเข็มเงินมีความ 2.4 ซม. ปักอยู่บนบริเวณเนื้อเยื่อปอดด้านซ้ายจนขึ้นสนิม จนทำให้เขากลายเป็น หนุ่มเจอเข็มทิ่มปอด
แพทย์เผยว่า เข็มได้เจาะเข้าไปในเนื้อเยื่อของปอดแล้ว และตำแหน่งนั้นเป็นอันตราย หากเข็มยังคงเดินต่อไป มีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกและหลอดลม ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด ตกเลือด และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ทำให้ผู้ป่วยพร้อมกับครอบครัวของเขา ไปที่แผนกศัลยกรรมทรวงของโรงพยาบาล เพื่อทำการผ่าตัดส่องกล้องผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนและนำเข็มปักออกได้สำเร็จ ต่อมาผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีและออกจากโรงพยาบาลได้อย่างราบรื่น
จากการสันนิษฐานของผู้ป่วยอาจเป็นไปได้ว่า สมาชิกในครอบครัวทิ้งเข็มไว้บนเตียงหลังจากใช้งานเสร็จ และบังเอิญติดเข็มเข้าไปในร่างกายของเขา ซึ่งแพทย์เตือนว่าหลังจากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้ว ลวดและเข็มที่หักจะเคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในร่างกาย รู้สึกเจ็บปวดที่ผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อหัวใจ ตับ และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เรื่องราวดังกล่าวถูกแชร์ลงโซเชียล ชาวเน็ตต่างตกตะลึงอย่างล้นหลาม หลายคอมเมนต์ต่างตั้งคำถามไปในทางเดียวกัน อาทิ “คุณไม่เจ็บเหรอ ฉันไม่เข้าใจ”, “ฉันรู้สึกเจ็บปวดหลังอ่านข้อความ”, “นี่มันเกินไปแล้ว น่ากลัวจัง ทำไมมีเข็มทิ่มเข้าไปในปอด”,”โชคดีที่เจอมัน ไม่งั้นเข็มจะทิ่มอวัยวะส่วนอื่น พร้อมกับเลือดที่ไหลออกมา และผลที่ตามมาจะเป็นหายนะ”
อาการเจ็บหน้าอก แต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก ไม่ได้หมายถึงอาการของโรคหัวใจเสมอไป อาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ มาเช็กดูกันนะคะ ว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
- แสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ บางครั้งมีเรอเปรี้ยว มักเป็นขณะอิ่ม เกิดจากโรคกรดไหลย้อน
- เจ็บแปลบ ๆ เหมือนถูกเข็มแทงหรือถูกไฟช็อต เกิดจากเส้นประสาทอักเสบ
- เจ็บเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเมื่อเอี้ยวตัว เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
- กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ ๆ ทรวงอก เกิดจากกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
- เจ็บตลอดเวลา เป็นนานหลายชั่วโมง หรือเป็นวันโดยที่ไม่มีอาการร้ายแรงอื่น ๆ เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
- อาการเจ็บไม่สัมพันธ์กับความหนักเบาของกิจกรรม เช่น เจ็บเวลานั่งหรือนอน แต่ขณะทำงานบางครั้งก็ไม่เจ็บ แม้จะออกแรงมากกว่าหรือเหนื่อยกว่า
- อาการเจ็บหน้าอกเฉพาะด้านขวา
บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทำได้อย่างไร?
โรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไป ในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้น หรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็น หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ
อาการของโรคกรดไหลย้อน
- ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
- ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
- มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
- จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการได้อีก เช่น
- อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
- เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน
- ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
- กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
- อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
- โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ
การป้องกันโรคกรดไหลย้อน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม กระเทียม หัวหอม เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ควรแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง
- ผ่อนคลายความเครียด เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ สวดมนต์
- ควบคุมน้ำหนักโดยเฉพาะในคนอ้วน หรือคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อน้ำหนักลด ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลง ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง อาการกรดไหลย้อนก็จะลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้นยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ และทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หรือหากนอนควรนอนหนุนหมอนสูง และไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกหรือซี่โครงอ่อนอักเสบ
Costochondritis หรือภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ เป็นอาการอักเสบของกระดูกอ่อนในบริเวณที่เชื่อมระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกส่วนอก (Sternum) ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัสหรือรู้สึกเจ็บเมื่อกระดูกอ่อนช่วงอกถูกยกขึ้น เช่น เมื่อไอหรือสูดหายใจเข้าลึก แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแปลบลามไปยังแขนหรือเจ็บหน้าอกมากจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
อาการของกล้ามเนื้อเอ็นกระดูกหรือซี่โครงอ่อนอักเสบ
อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บแปลบ หรือรู้สึกเจ็บเหมือนถูกกดทับบริเวณกระดูกอก หากอาการรุนแรงอาจเจ็บลามไปยังหลังหรือท้องได้ ส่วนใหญ่จะเกิดฝั่งซ้ายของร่างกาย บางกรณีอาการเจ็บอาจเกิดขึ้นบริเวณซี่โครงมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง มักเกิดบริเวณกระดูกซี่โครงซี่ที่ 4-6 และจะรู้สึกเจ็บปวดยิ่งขึ้นเมื่อสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ หรือไอ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่ออยู่นิ่งและหายใจเบา ๆ ทั้งนี้อาการมักเกิดขึ้นหลังการออกกำลังกาย การได้รับบาดเจ็บที่ได้รับแรงกระทบไม่มาก หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อย่างภาวะหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยเฉพาะหากมีอาการเจ็บหน้าอกและอาการผิดปกติต่อไปนี้
- หายใจลำบาก
- มีไข้สูง และไข้ไม่ลดลงหลังจากรับประทานยาลดไข้ อย่างยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)
- มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีอาการบวมแดงหรือมีหนอง
- มีอาการเจ็บหน้าอกต่อเนื่องและอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ เหงื่อออก ปวดบริเวณแขนซ้าย หรือมีอาการเจ็บส่วนใดส่วนหนึ่งของหน้าอก เป็นต้น
การป้องกันภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกันอย่างสิ้นเชิง แต่การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยความระมัดระวัง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการใช้แรงในการทำกิจกรรมที่มากเกินไป และหากรู้สึกเจ็บหน้าอกขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ควรหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ และรีบไปพบแพทย์ทันที
ทั้งนี้หากเกิดอาการเจ็บปวดที่ผิดปกติ เจ็บหน้าอกขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ควรหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ และ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อหัวใจ ตับ และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เตือน! ห้ามขายเบบี้คริสตัล ของเล่นอันตราย หลังมีเด็กกินจนต้องผ่าตัด!
ร้องมูลนิธิปวีณาฯ แม่พาลูก 7 เดือนไม่มีรูทวาร หนีจาก รพ. ขณะจะผ่าตัด มาเสพยากับสามี
ทำนายฝัน ฝันว่าผ่าตัดตา ฝันว่าต้องผ่าตัดขา หมายถึงอะไร พร้อมเลขเด็ด
ที่มา : khaosod, pobpad, bumrungrad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!