เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2566 ร.ต.ท.อนุรักษ์ หนักแน่น สว.(สอบสวน) สภ.สนามชัยเขต ได้รับการแจ้งเหตุ ว่ามีเด็กหญิงผูกคอเสียชีวิตภายในบ้าน อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 2 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา จึงได้รีบเข้าไปตรวจสอบ เมื่อไปถึงได้พบศพ เด็กหญิงวัย 15 ปี ผูกคอกับคานบ้านเสียชีวิต และพบจดหมายลาตาย ที่ เด็กหญิงวัย 15 ถูกบูลลี่ พร้อมระบายความในใจที่ เด็กหญิงวัย 15 ถูกบูลลี่ จากเพื่อนและขอโทษพ่อแม่ที่ต้องทำแบบนี้เพราะทรมานกับการที่ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า ขณะที่พ่อแม่เมื่อได้เห็นร่างลูกสาวที่ไร้วิญญาณต่างก็ร้องไห้โศกเศร้าออกมาด้วยความเสียใจ
ด้าน นายธนโชค ประคองสุข ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านท่าเลียบ ต.ท่ากระดาน เผยว่า เด็กสาวคนนี้เป็นเด็กกตัญญู ขยันมานะช่วยเหลือพ่อแม่ขายของในหมู่บ้านตลอดมา เพราะพ่อและแม่มีอาชีพขายผักขายปลา โดยจะขี่รถพ่วงข้างกับพี่สาวออกไปขายของรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นเด็กที่มีความสดใสร่าเริง ไม่คิดว่าภายใต้บุคลิกที่สดใสนี้จะพบกับเรื่องน่าเศร้ามากมาย ถึงขั้นเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น น้องน่าจะเก็บกดมาจากที่ถูกเพื่อนล้อทั้งในโรงเรียนและทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ จนเกิดความเสียใจ และแรงกดดัน จนต้องหาทางออกด้วยวิธีที่ผิดแบบนี้ ตนเองขอฝากถึงผู้ปกครองและโรงเรียนต่าง ๆ ให้ช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของบุตรหลานของท่าน และสอนสั่งเรื่องการบูลลี่คนอื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจอย่างที่เกิดได้
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐาน และจะสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมกับประสานหน่วยกู้ภัยส่งร่างไปชันสูตร ก่อนที่จะให้ญาติรับไปบำเพ็ญกุศลตามพิธีทางศาสนาต่อไป.
บทความที่เกี่ยวข้อง : นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก เพราะกินยาต้าน HIV ก่อนเจอความจริงสุดช็อก!
การกลั่นแกล้งกัน ภัยร้ายที่อาจจะนำไปสู่ความตาย ไม่ใช่แค่เรื่องเด็ก ๆ
แม้ว่าจะมีกฎหมายมากมายออกมาปกป้อง การกลั่นแกล้งกัน หรือที่เรียกว่า Bully มีออกมามากมาย แต่ตัวเลขของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งหรือบูลลี่นั้น ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีทีท่าลดลงเลย แต่กลับกัน กลายเป็นว่ามีทีท่าว่าจะสูงขึ้นมากทุกวันด้วยซ้ำ และการแกล้งกันนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย!
การ Bully มีกี่ประเภท?
1. การกลั่นแกล้งทางร่างกาย
เป็นการกลั่นแกล้งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกายตั้งแต่เบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งข้อนี้ยังรวมถึงการทำให้ข้าวของได้รับเสียหาย หรือกระทำด้วยการทำร้ายของรักของหวง เช่น การตบตี, ถ่มน้ำลายใส่, ผลักให้ล้ม, เอาของไปซ่อนหรือทำให้เสียหาย, แสดงสีหน้าหรือสัญญาณมือที่หยาบคาย เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : หยุด Bully เพราะเรื่องที่เกิดเป็นปมในใจ ไม่ใช่เรื่องน่าขำ
2. การกลั่นแกล้งด้วยคำพูด
การบูลลี่ด้วยกลั่นแกล้งทางคำพูด คือการที่ใช้คำพูดที่พูดออกเสียงมาให้รู้สึกแย่ หรือแม้กระทั่งการเขียนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย หากสิ่งนั้นทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดีหรือทำให้เกิดความอับอาย เช่น การล้อเลียนท่าทาง, การล้อรูปร่าง, การล้อชื่อพ่อแม่, การเหยียดเพศสภาพ, การเยาะเย้ย, การข่มขู่ด้วยคำพูด เป็นต้น
3. การกลั่นแกล้งทางสังคมหรืออารมณ์
พฤติกรรมการกลั่นแกล้งในข้อนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นการสร้างความอับอายให้คนหมู่มากได้รับรู้ โดยผู้ที่ถูกกระทำจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ถูกยอมรับจากสังคม ซึ่งส่งผลให้คนที่ถูกกลั่นแกล้งรู้สึกไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร เช่น การปล่อยข่าวลือ, กีดกันไม่ให้เข้าร่วมกลุ่ม, หัวเราะเสียงดังเมื่อผิดพลาด, เขียนด่าหรือประจานให้ทุกคนรู้ เป็นต้น
4. การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต
เป็นอีกหนึ่งในรูปแบบการบูลลี่ที่กำลังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Cyberbullying มักเป็นการกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของภาพ เสียงและข้อความ เช่น การโทรคุกคามข่มขู่, การพิมพ์คำหยาบหรือกล่าวหาในทางที่ไม่ดี, โพสต์ข้อมูลส่วนตัวทำให้เกิดความอับอาย, การเผยแพร่ภาพอนาจาร รวมถึงการสร้างแอ็กเคานต์ปลอมเพื่อโจมตี เป็นต้น
ทำอย่างไรหากลูกโดนกลั่นแกล้ง
1. สอนให้ลูกเห็นคุณค่าตัวเอง
แน่นอนว่าด้วยความที่ลูกยังเป็นเด็ก บางครั้งการที่ลูกถูกกลั่นแกล้งหรือโดนรังแกอยู่บ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเรารู้สึกไม่ดีต่อตัวเองขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสอนให้ลูกเห็นคุณค่าความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สอนให้ลูกรู้จักยอมรับและทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้นมาได้
2. สอนให้ลูกรู้จักขอความช่วยเหลือ
สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่สำคัญ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องสอนให้ลูกรู้จักขอความช่วยเหลือทุกครั้งเมื่อโดนกลั่นแกล้ง แน่นอนว่าหากลูกของเราอ่อนแอ เมื่อไหร่ที่ลูกโดนรังแก แต่ไม่รู้จักขอความช่วยเหลือ ลูกก็อาจจะโดนรังแกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ที่สำคัญไปกว่านั้นอาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกของเราได้เลยเช่นกัน
3. สอนลูกไม่ให้ตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม
หากเมื่อไหร่ที่ลูกของเรานั้นโดนกลั่นแกล้ง เราอาจจะต้องสอนให้เขารู้จักใจเย็นมีสติและพยายามอย่าสนใจสิ่งเหล่านั้น เพราะถ้าเราไม่มีการตอบโต้หรือทำอะไร ฝ่ายตรงข้ามเขาก็อาจจะหยุดการแกล้งเราก็ได้ แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่เราโดนกลั่นแกล้ง แล้วเรามีการโต้ตอบก็อาจจะทำให้เรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาได้เลย
4. สอนให้ลูกบอกเล่าปัญหาให้ฟัง
ในส่วนของข้อนี้ก็เป็นอะไรที่สำคัญไม่ต่างจากข้ออื่น ๆ เลย ทุกครั้งที่ลูกกลับมาจากโรงเรียน เราจะต้องหมั่นถามไถ่พูดคุยกับลูกมากขึ้น พยายามถามความรู้สึกของลูกทุกครั้ง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร รู้สึกไม่ดีหรือมีปัญหาอะไรที่ไม่สบายใจหรือเปล่า เพราะเมื่อไหร่ที่เราปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่สบายใจและไม่อยากไปโรงเรียนเลยก็เป็นได้
5. สอนให้ลูกพูดด้วยเหตุผล
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องฝึกให้ลูกของเรารู้จักพูดมากยิ่งขึ้น เมื่อไหร่ที่ลูกโดนกลั่นแกล้งก็อาจจะให้ลูกพูดกับเพื่อนไปตามตรง เลยว่า ไม่อยากให้เพื่อนทำแบบนี้ แต่การพูดในทุกครั้ง จะต้องพูดด้วยความใจเย็น เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกของเราโดนแกล้ง แต่ลูกกลับไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้โดนแกล้งแบบนี้อยู่บ่อยครั้ง สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพและจิตใจของลูกได้อย่างแน่นอน
หากลูกของเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูแลและเอาใส่ใจลูก ๆ ให้มากขึ้นเป็นพิเศษ คอยถามไถ่ความรู้สึกของลูก พร้อมกับสอนให้ลูกรู้จักปรับตัวและแก้ไขกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ เมื่อไหร่ที่ลูกเข้มแข็งมากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะหมดไปอย่างแน่นอนค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
การกลั่นแกล้งกัน ภัยร้ายที่อาจจะนำไปสู่ความตาย ไม่ใช่แค่เรื่องเด็ก ๆ
cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สู่ปัญหาการ “ฆ่าตัวตาย” ของเด็ก
หลาน ม.2 ถูกบูลลี่ ญาติเอะใจทำไมไม่ชอบไปโรงเรียน พบโทรมาข่มขู่-ท้าตบ
ที่มา : dailynews
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!