แม้ว่าจะมีกฎหมายมากมาย ออกมาปกป้อง การกลั่นแกล้งกัน หรือที่คนสมัยใหม่มักจะเรียกกันว่า Bully จะมีออกมามากมาย แต่ตัวเลขของเด็กที่ได้นับผลกระทบ จากการกลั่นแกล้งนั้น ดูเหมือนจะไม่มีลดลงเลย แต่กลับมีทีท่าว่าจะสูงขึ้นมากทุกวัน การแกล้งกันในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องใหม่
การกลั่นแกล้ง ล้อเลียน สร้างปมในใจให้กับเด็ก
การกลั่นแกล้งกัน ไม่ใช่แค่เรื่องเด็กเล่นกัน แต่เป็นภัยร้ายที่น่ากลัว
ในอดีต คนไทยมักจะ ล้อกันเรื่อง น้ำหนัก สีผิว หน้าตา กันจนเป็นเรื่องปกติ ถ่ายทอดมาจนถึงทุกวันนี้ เห็นได้ว่า บางทีผู้ใหญ่ทักเด็ก ที่ไม่ได้เจอกันเป็นเวลานานว่า อ้วนขึ้นรึเปล่า ดำขึ้นรึเปล่า ทุกอย่างล้วนหล่อหลอมให้สำหรับ สายตาผู้ใหญ่แล้ว เรื่องการกลั่นแกล้งกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป
โชคดีที่ในสังคมปัจจุบัน เริ่มมีคนออกมาพูดเรื่องการบลูลี่ มากขึ้น ทำให้คนกลุ่มใหญ่ได้รู้ถึงอันตราย ที่มากับค่านิยมผิด ๆ การกลั่นแกล้งกันไม่ใช่ เรื่องของเด็ก มันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าที่ใคร คิดและนำความสูญเสีย มาสู่หลายครอบครัว ที่มองข้าม ปัญหานี้ออกไปโดยมองว่ามันเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เด็กเล่นกันเท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้
ทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำอาจจะกลายเป็นเด็กมีปัญหา
เหยื่อมักไม่ยอมพูด
อีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้คนที่โดนกลั่นแกล้ง ไม่กล้าออกมาก็เป็นเพราะสังคม จะมองเหนื่อยว่าเป็นผู้ผิด อาจจะเกิดการโทษเหยื่อว่า ทำตัวแบบนั้นเอง ไปอยู่ตรงนั้นเอง ไม่แข็งแรงพอบ้าง ทำให้ตัวเหยื่อนั้น ไม่กล้าออกมาเล่าเรื่องราวของตัวเองทำให้เป็นปัญหาคาราคาซังตามมา เมื่อเห็นว่าเหยื่อไม่ยอมพูด ผู้ถูกกระทำ ก็จะยิ่งทำ เพราะในสายตาคนภายนอกแล้ว ส่วนใหญ่ยังมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของเด็ก ที่ไม่มีผิดไม่มีภัยอยู่
ปัญหาหลายอย่างจะตามมา
การกลั่นแกล้งนำมาซึ่งปัญหามากมายหลายต่อหลายอย่าง อาจจะเริ่มต้นด้วยความเครียด ปัญหาทางด้านระบบขับถ่าย ปวดหัว อาการความเครียดนั้นจะ นำไปสู่ความเครียดขั้นสูง ไมเกรน ความเจ็บป่วยด้านจิตใจ เช่นโรคซึมเศร้า เด็กที่มีความเครียดสะสม บางคนอาจจะคิดสั้นถึงขั้น ฆ่าตัวตาย เด็กบางคนอาจจะกลายเป็นคนปลีกตัว ไม่เข้ากับสังคม ติดยา กลายเป็นอาชญากร
ในสหรัฐอเมริกา ในหลาย ๆ โรงเรียนเริ่ม ที่กฎการห้ามการกลั่นแกล้ง ขึ้นมาอย่างจริงจัง โทษของคนที่เป็นผู้กระทำ อาจจะเป็นพักการเรียน หรือ ไล่ออก ในโรงเรียนที่อเมริกาบางส่วนเริ่มมีครู หรือ นักจิตวิทยา เข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยตรง เพื่อรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้ง ที่ดูจะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปทุกวัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกแบบนี้ไง ลูกถึงเป็น โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เด็กเกเร ไม่ใช่เรื่องเล็ก
การกลั่นแกล้งหลายรูปแบบ
ในสมัยก่อน การกลั่นแกล้งอาจจะมาจากในรูปแบบของ การทำร้ายร่างกาย หรือ การล้อเลียน หุ่น สีผิว เพศสภาพ แต่ในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดีย ทำให้ภัยการกลั่นแกล้งนั้น ทำได้หลายรูปแบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยข่าวมั่ว ๆ เพื่อให้ใครคนคนนั้นเสียหาย ในปัจจุบัน การกลั่นแกล้งของเด็กพัฒนารูปแบบไปเป็นการคุมคาม ที่โหดร้ายเกินกว่าผู้ปกครองจะตามทัน เหยื่อยังเป็นใครก็ได้ เพราะเด็กไม่มีทางรู้เลยว่า ใครเป็นคนที่ไม่ชอบเขา หรือ อะไรที่ทำให้คนอื่นไม่ชอบ เรียนไม่เก่ง นิสัยไม่ดี เรียนเก่ง หน้าตาดี เป็น LGBT ปัญหาจากการกลั่นแกล้ง และ แหล่งที่มานั้น หลากหลายมาก
การบูลลี่ในปัจจุบัน ในบางเคสแม้เหยื่อจะไม่ได้ถูกทำร้าย ทางร่างกาย แต่จิตใจของเขาถูกทำลายจนไม่เหลือชิ้นดี มันยิ่งทำให้การพูดกับคนอื่นเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก เพราะเขาไม่อาจ ไว้ใจใครได้ ไม่มีหลักฐาน กลัวที่จะโดนตัดสิน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ
ทำอย่างไรดีเมื่อลูกถูกบูลลี่
ก่อนอื่น คุณจะต้องมีการพูดคุยสารทุกข์ สุขดิบกับลูกบ้าง เพื่อให้ลูกไว้ใจ และ เชื่อใจคุณมากพอ เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน เพราะความเชื่อใจไม่ได้ ได้มาง่าย ๆ ถ้าคุณไม่ได้สนิทกับลูก หรือ เคยแสดงท่าทีว่าคุ้นจะตัดสินลูก ไม่ว่าลูกจะทำอะไรมาก่อน นี้อาจจะเป็นปัญหาในอนาคต เพราะลูกจะไม่เชื่อใจคุณ และจะไม่เล่าให้ฟังเวลาเขามีปัญหา เพราะเขารู้ดีว่า ถ้ามีเรื่อง พ่อแม่ ไม่ได้จะมาปลอบเขา แต่อาจจะมาด่าซ้ำเติม ซึ่งมันเป็นการสุมไฟ ให้ลุกขึ้นมาอีก
เมื่อพูดคุยกันแล้ว สิ่งที่คุณทำได้ก็คือ พูดคุยปรึกษากับอาจารย์ ในประเทศไทย อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะ ในสังคมโรงเรียน ครูเก่าๆบางคน ยังไม่เห็นความโหดร้าย และ ผลกระทบของการบลูลี่มากเท่าไหร่ หนำซ้ำครูบางคนยังเป็นคน บลูลี่เด็กเองก็มี ถ้าคุณมีครูที่เข้าใจและให้คำปรึกษาได้ ให้หาทางทำความเข้าใจถึงปัญหาและช่วยกันแก้ไข
ส่วนลูก คุณต้องทำให้ลูกมั่นใจว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณจะคอยรับฟังและอยู่ข้าง ๆ กับลูกเสมอ แม้ว่าที่โรงเรียนจะมีเรื่องราวโหดร้ายอะไร เกิดขึ้นก็ตาม อย่างน้อยลูกก็มั่นใจได้ว่า ยังมีพื้นที่ ที่บ้านให้เขากลับไป อย่างน้อยเขาก็มีความหวังเล็ก ๆ ให้ลูกพูดคุยกับเพื่อนสนิท ถึงปัญหาถ้าเขามีคนที่พูดคุยด้วยได้ ก็จะมีคนช่วยระบายเรื่องลึก ๆ ที่อยู่ในใจ
ผู้ถูกกระทำก็เป็นเด็กมีปัญหาเช่นเดียวกัน
ตามการรายงานข่าวของสำนักข่าว CBS บอกว่า National Academies of Sciences Engineering and Medicine หรือ หน่วยวิจัยด้านวิศวกรรมและการแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว กฎเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยมากเท่าไหร่นัก เพราะเด็กที่มีปัญหาเป็นผู้ถูกกระทำ หลังจากถูกไล่ออก ก็ต้องกลายมาเป็นเด็กที่ไร้อนาคต เป็นพลเมืองที่ไม่ดีต่อไป สิ่งที่รัฐบาลควรเข้ามาจัดการก็คือ หาวิธีอบรมเด็กกลุ่มนี้ให้กลับตัวกลับใจ เพราะเด็กที่ชอบแกล้งคนอื่นพวกนี้ คงจะมีปัญหาอะไรอยู่ในใจเช่นเดียวกัน เขาถึงได้มาลงกับเด็กคนอื่น ๆ แทนที่จะเผชิญกับปัญหานั้น
ทำอย่างไรเมื่อลูกโดนกลั่นแกล้ง
หากลูกของเราโดนกลั่นแกล้งอยู่เป็นประจำ คุณพ่อคุณแม่ก็ยังไม่รู้ว่าเราจะต้องสอนให้ลูกรับปัญหาที่เกิดขึ้นยังไงบ้าง ต้องให้เขาทำอย่างไร เพื่อที่เขาจะได้ยอมรับและแก้ไขปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน
(รูปจาก shutterstock.com)
1. สอนให้ลูกเห็นคุณค่าตัวเอง
แน่นอนว่าด้วยความที่เขาเป็นเด็ก บางครั้งการที่เขาถูกกลั่นแกล้งหรือโดนรังแกอยู่บ่อย ๆ สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเรารู้สึกไม่ดีต่อตัวเองขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสอนให้เขารู้เห็นคุณค่าความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พยายามสอนให้เขารู้จักยอมรับและทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้นมาได้
2. สอนให้ลูกรู้จักขอความช่วยเหลือ
สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่สำคัญ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องสอนให้เขารู้จักขอความช่วยเหลือทุกครั้งเมื่อโดนกลั่นแกล้ง แน่นอนว่าหากลูกของเราอ่อนแอ เมื่อไหร่ที่เขาโดนรังแก แต่เขาไม่รู้จักขอคำช่วยเหลือ เขาก็จะโดนรักแกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ที่สำคัญไปกว่านั้นอาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกของเราได้เลยเช่นกัน
3. สอนลูกไม่ให้โต้ตอบฝ่ายตรงข้าม
เมื่อไหร่ที่ลูกของเราโดนกลั่นแกล้ง เราอาจจะต้องสอนให้เขารู้จักใจเย็นและพยายามอย่าสนใจ เพราะถ้าเราไม่มีการตอบโต้หรือทำอะไร ฝ่ายตรงข้ามเขาก็อาจจะไม่แกล้งเราอีกแล้วก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราโดนกลั่นแกล้ง แล้วเรามีการโต้ตอบสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาได้เลย
4. สอนให้ลูกรู้สึกเล่าปัญหาให้ฟัง
ข้อนี้ก็เป็นอะไรที่สำคัญไม่ต่างจากข้ออื่น ๆ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ลูกกลับมาจากโรงเรียน เราอาจจะต้องพูดคุยกับลูกมากขึ้น พยายามถามความรู้สึกของลูกทุกครั้ง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเขากำลังรู้สึกไม่ดีหรือมีปัญหาอะไรที่ไม่สบายใจหรือเปล่า เพราะเมื่อไหร่ที่เราปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่สบายใจและไม่อยากไปโรงเรียนเลยก็ว่าได้
5. สอนให้ลูกพูดด้วยเหตุผล
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องฝึกให้ลูกของเรารู้จักพูดมากยิ่งขึ้น เมื่อไหร่ที่เขาโดนกลั่นแกล้งก็อาจจะให้เขาพูดกับเพื่อนไปตรง ๆ เลยว่าไม่อยากให้เพื่อนทำแบบนี้ แต่การพูดในทุกครั้งจะต้องพูดด้วยความใจเย็น เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกของเราโดนแกล้ง แต่เขากลับไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้โดนแกล้งแบบนี้อยู่บ่อย ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพและจิตใจของเขาได้แน่นอน
หากลูกของเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูแลและใส่ใจลูก ๆ ให้มากเป็นพิเศษนะคะ คอยถามความรู้สึกของลูก พร้อมกับให้เขารู้สึกปรับตัวและแก้ไขกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ เมื่อไหร่ที่เขาเข้มแข็งมากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะหมดไปอย่างแน่นอนค่ะ
Source : theasianparent, parents
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนเพื่อนแกล้ง ในวัยอนุบาล
ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง งานนี้ต้องรอด!
หรือสวรรค์แกล้ง? 6 ชีวิตรันทด วอนผู้ใจบุญให้การช่วยเหลือ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!