X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก เพราะกินยาต้าน HIV ก่อนเจอความจริงสุดช็อก!

4 Jan, 2023
นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก เพราะกินยาต้าน HIV  ก่อนเจอความจริงสุดช็อก!

การป่วยเป็นโรค HIV ไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ แต่การต้องบูลลี่จนอีกฝ่ายต้องออกไปต่างหาก ถึงเป็นการกระทำที่ไม่ดี โดยเรื่องที่เกิดขึ้นกับสาวรายนี้ นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก เนื่องจากต้องกินยาต้าน HIV มานานนับปี ก่อนรู้ความจริงสุดช็อก

 

เรื่องนี้ถูกรายงานผ่านสื่อ Saostar ซึ่งเป็นเรื่องราวของ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 ในมณฑลเจียงซี ประเทศจีน ที่ไปโรงพยาบาลเมื่อปีที่แล้ว เพื่อตรวจร่างกาย เนื่องจากรู้สึกไม่ค่อยสบาย จากผลตรวจร่างกายเบื้องต้น แพทย์สงสัยว่า เธออาจติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือเอดส์ จึงขอให้เธอเข้ารับการตรวจ ที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอีกครั้ง

 

นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก

 

ต่อมา แพทย์ของศูนย์ฯ วินิจฉัยยืนยันว่า เธอเป็นโรคเอดส์จริง ๆ เธอถูกบังคับให้แจ้งเรื่องดังกล่าว กับสถานศึกษา นับจากนั้นเธอก็เริ่มถูกรังแกด้วยวิธีต่าง ๆ จนสุดท้ายทนไม่ไหว และต้องออกจากมหาวิทยาลัยในที่สุด

 

นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก คนนี้เธอต้องกินยารักษาโรคเอดส์ มาเป็นเวลากว่าหนึ่งปี ก่อนที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลกลับเปิดเผยว่า การวินิจฉัยของเธอนั้นผิดพลาด เธอไม่ได้เป็นโรคเอดส์ อย่างที่เคยแจ้งเมื่อครั้งแรกในปีก่อน

 

ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อเธอไปโรงพยาบาล ในเครือของมหาวิทยาลัยหนานชาง เพื่อตรวจสุขภาพโดยรวมตามปกติ แต่ผลการตรวจกลับพบว่า เธอไม่มีเชื้อเอดส์ เมื่อได้รับผลดังกล่าว พ่อจึงพาเธอไปที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคทันที เพื่อขอคำชี้แจงสำหรับการตรวจพบเชื้อ HIV ในครั้งแรก

 

หลังจากที่เรื่องดังกล่าว ถูกเปิดเผยออกมา พ่อของนศ.คนดังกล่าว ได้บอกว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ชีวิตของลูกสาวเปลี่ยนไปมาก หลังจากได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ว่ากำลังเป็นโรคเอดส์ เธอฝันร้ายบ่อยในตอนกลางคืน ร้องไห้ตลอดเวลา ซ้ำน้ำหนักยังขึ้น 4-5 กิโลกรัม

 

เนื่องจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดดังกล่าว ทำให้ผู้เป็นพ่อโกรธมาก จึงได้ตัดสินใจฟ้องศาล เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ให้กับลูกสาว แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากผู้รับผิดชอบ ห้องปฏิบัติการของ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ได้ระบุว่า

 

“ในขณะที่ตรวจหาเชื้อ HIV นักศึกษาหญิงกำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่เธอไม่ได้บอกความจริง ซึ่งการไม่บอกข้อนั้น ส่งผลต่อการทดสอบ จึงเกิดเป็น “ผลบวกลวงของไวรัสเอชไอวี” หรือกล่าวคือ การที่ไม่ได้บอกว่าท้อง และตรวจร่างกายตามปกติ ทำให้ไม่ได้ตรวจหาเรื่องการท้อง ทำให้ผลตรวจออกมาเป็น โรคเอดส์นั่นเอง

 

ทั้งนี้ ประเด็นข้อพิพาทของครอบครัวนี้และโรงพยาบาล ยังคงอยู่ในกระบวนการตัดสินของศาล

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรค HIV คือโรคอะไร ใช่โรคเอดส์ไหม ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

 

นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก

 

โรคเอดส์คืออะไร ?

โรคเอดส์คืออาการของ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) โดยเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus : HIV) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี (HIV)

 

โดยโรคเอดส์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 8-10 ปีทำให้ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงจนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก

 

ซึ่งในการทำลายเม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่การกำจัดสิ่งแปลกปลอมถูกทำลายไป ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ ส่งผลให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมา อาทิ วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อรา และอีกมากมายหลายโรค ที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย จึงไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายได้นั้นเอง

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

ในปัจจุบัน สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างรวดเร็ว และให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส สำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีเชื้อเอชไอวี เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อในร่างกาย และป้องกันการดำเนินโรคไปสู่ระยะโรคเอดส์ได้

 

โรคเอดส์มีกี่สายพันธุ์

เชื้อไวรัสเอดส์นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ เอชไอวี 1 (HIV-1) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่แพร่ระบาดอยู่ใน ยุโรป แอฟริกากลาง และสหรัฐอเมริกา ส่วนเอชไอวี 2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก

 

ส่วนในประเทศไทยนั้น พบบ่อยคือ เชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ เออี (A/E) หรือ (E) พบได้มากถึง 95% โดยการแพร่ระบาดนั้นเกิดจาก การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพื่อใช้เสพยาเสพติด

 

สำหรับสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบเลยในประเทศไทยเลยคือ สายพันธุ์ซี แต่มีการพบสายพันธุ์ระหว่าง อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย กับสายพันธุ์ซี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และเมื่อไม่นานมานี้ ได้ค้นพบเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยตรวจพบที่ใดในโลกมาก่อน เป็นการผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ เอ อี และจี เรียกว่า เอ อี จี (AE/G)

 

นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก

 

เชื้อไวรัสเอชไอวี ติดต่อได้อย่างไร ?

เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ในเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่ง ที่มีเชื้อเอชไอวี ผ่านทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยหลัก ๆ มี 3 ทาง ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น
  3. การรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีโอกาสรับเชื้อได้ 3 ช่วง คือ ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และ กินนมแม่

 

ที่สำคัญเชื้อเอชไอวี ไม่ติดต่อจากการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การจับมือ กอด การทานอาหารร่วมกัน รวมทั้งไม่ติดต่อผ่านยุงกัด  นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้าน จะสามารถลดปริมาณไวรัสในเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลา 6 เดือน หลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จะกดปริมาณไวรัสลง จนแทบจะตรวจไม่พบ หลังจากนั้นโอกาสที่จะถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีไปที่คนอื่น ๆ เช่น คู่นอน หรือ ลูก จะลดลงอย่างมาก ดังที่อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า ตรวจไม่พบเชื้อ เท่ากับไม่แพร่เชื้อ

 

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์

1. ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ

หากได้รับเชื้อเอดส์ในปริมาณมาก ก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงตามไปด้วย เชื้อเอดส์จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด

 

2. การมีบาดแผล

หากมีบาดแผล บริเวณผิวหนังหรือในปาก ก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์สูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย

 

3. ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ

หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

 

4. การติดเชื้อแบบอื่น ๆ

เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้ จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และเชื้อเอดส์ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย

 

5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ

หากเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน

 

นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก

 

ควรตรวจหาเชื้อเอดส์เมื่อไหร่

  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการทราบว่า ตัวเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
  • ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรือแต่งงาน
  • ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของแม่และตัวเด็ก
  • ผู้ที่จะเดินไปทำงานต่างประเทศ เพราะต้องการข้อมูลที่สนับสนุนเรื่อง ความปลอดภัยและสุขภาพร่างกาย

 

การป้องกันโรคเอดส์

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว
  • ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรมีการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

 

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ที่ได้รับเชื้อเอดส์

ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์หรือ HIV นั้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติทั่วไป ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพราะหากไม่พบโรคแทรกซ้อน ก็จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อีกหลายปี โดยปฏิบัติดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
  2. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องมีเพศสัมพันธ์ ให้ป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพราะวิธีนี้จะเป็นการป้องกันการรับเชื้อ และการแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่ผู้อื่นได้
  4. ทำจิตใจให้สงบผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ  ไม่เครียด
  5. หากเป็นหญิงไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถแพร่จากแม่สู่ลูก ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

 

จริงอยู่ที่โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์เสียส่วนใหญ่และในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ถ้าทำการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการทานยากดภูมิก็มีโอกาสที่จะทำให้ปริมาณเชื้อในเลือดต่ำลงจนไม่สามารถส่งต่อความเสี่ยงให้คู่รักได้

 

อย่าลืมว่าเดิมทีโรคนี้ ก็เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงอยู่แล้ว เป็นปัญหาทางสุขภาพที่มีหลายปัญหาตามมา แถมตัวผู้ป่วยยังถูกมองติดลบในสังคมอีกด้วย ซึ่งการป่วยทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจอยู่แล้ว หากต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมจริง เพียงแค่ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด ก็ไม่สามารถติดโรคได้แล้วค่ะ หันมาเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อให้การป่วยนี้เบาบางลงเถอะค่ะ!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เตือนภัยสาว ๆ ที่ชอบทำเล็บ อันตรายใกล้ตัวสาว ติด HIV เพราะการทำเล็บ

เพื่อนร่วมงานขอบริจาคน้ำเชื้อทำพันธุ์ เหตุเพราะเห็นสามีตัวเองหล่อ ถึงขั้นคุกเข่าขอร้อง!

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก เพราะกินยาต้าน HIV ก่อนเจอความจริงสุดช็อก!
แชร์ :
  • 10 ยาย้อมผม ปี 2023 ที่มาแรงที่สุด ! ผมสวย ติดทน สีผมสุดปังต้อนรับปีใหม่ !

    10 ยาย้อมผม ปี 2023 ที่มาแรงที่สุด ! ผมสวย ติดทน สีผมสุดปังต้อนรับปีใหม่ !

  • วิธีทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างจานโฮมเมด ปลอดภัย ไร้สารเคมี

    วิธีทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างจานโฮมเมด ปลอดภัย ไร้สารเคมี

  • ตัวช่วยดูแลสัตว์เลี้ยง เครื่อง ให้อาหารอัตโนมัติ ดียังไง ควรซื้อดีไหม ?

    ตัวช่วยดูแลสัตว์เลี้ยง เครื่อง ให้อาหารอัตโนมัติ ดียังไง ควรซื้อดีไหม ?

  • 10 ยาย้อมผม ปี 2023 ที่มาแรงที่สุด ! ผมสวย ติดทน สีผมสุดปังต้อนรับปีใหม่ !

    10 ยาย้อมผม ปี 2023 ที่มาแรงที่สุด ! ผมสวย ติดทน สีผมสุดปังต้อนรับปีใหม่ !

  • วิธีทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างจานโฮมเมด ปลอดภัย ไร้สารเคมี

    วิธีทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างจานโฮมเมด ปลอดภัย ไร้สารเคมี

  • ตัวช่วยดูแลสัตว์เลี้ยง เครื่อง ให้อาหารอัตโนมัติ ดียังไง ควรซื้อดีไหม ?

    ตัวช่วยดูแลสัตว์เลี้ยง เครื่อง ให้อาหารอัตโนมัติ ดียังไง ควรซื้อดีไหม ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ