TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ชาวเน็ตน้ำตาซึม! พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน โมเมนต์ดี ๆ หน้าโรงเรียน

16 Jan, 2023
ชาวเน็ตน้ำตาซึม! พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน โมเมนต์ดี ๆ หน้าโรงเรียน

เพราะลูกคือแรงสำคัญ ที่ทำให้พ่อแม่ก้าวเดินต่อไปได้ โดยเฉพาะลูกที่กำลังอยู่ในวัยเด็ก เป็นช่วงที่ต้องการความใส่ใจ ของพ่อแม่อย่างเต็มที่ และถึงแม้ว่าครอบครัวจะไม่สมบูรณ์ทางร่างกาย แต่การที่ พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน จึงกลายเป็นโมเมนต์น้ำตาซึมของชาวเน็ต

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บนโลกโซเชียล มีการแชร์ต่อคลิปวิดีโอสุดซึ้ง พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน ที่ทำเอาหลายคนสะเทือนใจสุด ๆ ที่พ่อพิการรายหนึ่ง ทำงานหนักทั้งวัน บนรถสามล้อรับจ้าง แต่สุดท้ายก็ยังหาเวลาไปรับลูก ที่โรงเรียนด้วยตัวเอง เด็กชายเมื่อเห็นพ่อ ก็รีบวิ่งเข้ามากอดด้วยความดีใจ

 

เคยมีคำกล่าวที่ว่า “พ่อแม่อาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่จะรักลูกของตนให้สมบูรณ์ที่สุด” เพราะไม่ว่าพ่อแม่จะทำงานหนักแค่ไหน แต่การได้เห็นลูกอิ่มท้อง และมีความสุข นั่นก็คือความพอใจแล้ว ดังเช่นคุณพ่อรายนี้ ที่เมื่อเห็นลูกชายตัวน้อย วิ่งเข้าไปหาพ่อทันที เมื่อเห็นหน้ากัน

 

พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน

 

พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน

 

แต่ในความรักที่แสนสวยงามนั้น กลับมีสิ่งที่ดึงดูดสายตาชาวเน็ตหลายคน ให้รู้สึกสะเทือนใจ นั่นก็คือวินาทีที่พ่อ รีบคว้าผ้าขนหนูสะอาดมาพันรอบตัวลูกชาย ก่อนจะอุ้มเขาขึ้นมา เนื่องจากพ่อทำงานมาทั้งวัน จึงสะสมบนร่างกาย อาจจะไม่สะอาดเท่าที่ควร

 

นอกจากการห่มผ้าสะอาดลูกแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ชาวเน็ตน้ำตาซึม นั่นก็คือ คุณพ่อคนนี้ ยังมีความพิการที่ขาซ้าย ชีวิตของเขาในแต่ละวัน คงลำบากกว่าคนอื่น ๆ ที่ร่างกายสมบูรณ์พร้อม แต่ดูจากท่าทางที่แสดงออก ถึงความรักที่มีต่อลูกชายแล้ว ใคร ๆ ก็เห็นถึงความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม

 

เรียกได้ว่า ทันทีที่คลิปวิดีโอนี้ ถูกแชร์บนโซเชียลมีเดีย ก็ได้รับความสนใจแทบจะทันที หลายคอมเมนต์ประทับใจในช่วงเวลา ที่แสนมีค่าของสองพ่อลูกนี้ ต่างพากันคอมเมนต์อย่างล้นหลาม อาทิ “รักของพ่อช่างมากมาย กลัวลูกสกปรก เลยเอาผ้ามาห่อก่อนกอดลูก พ่อคือทุกอย่างจริง ๆ ” , “การได้มองลูกยิ้มอย่างมีความสุข บอกได้เลยว่ารักลูกมากแค่ไหน ! ขอให้ครอบครัวของคุณ มีความสุขตลอดไป” , “คลิปสั้น ๆ ไม่กี่วินาที แต่สื่ออารมณ์ และความรักได้มากมาย การห่มผ้าให้ลูก ก่อนจะกอดลูก แสดงให้เห็นว่า การเป็นพ่อที่ดีนั้น สมบูรณ์แบบขนาดไหน”

บทความที่เกี่ยวข้อง : สาวท้องโกรธแม่สามี เพราะขโมยแมวไปให้คนอื่นเลี้ยง อ้าง “เลี้ยงแมวจะคลอดลูกพิการ”

 

มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละออง

มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ มีที่มาหลากหลายรวมไปถึง ฝุ่นผง ละอองธุลี ขี้เถ้า และเขม่าควันและเกิดขึ้นทั้งจากแหล่งธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่าง ไอเสียจากรถเมืองใหญ่ และเขตอุตสาหกรรม ที่มีการจราจรหนาแน่น โรงงาน และงานก่อสร้าง มีแนวโน้มที่จะมีอันตรายจากการเจอกับมลพิษจากฝุ่นละออง

 

ยิ่งละอองฝุ่นมีขนาดเล็กลงเท่าใด ก็ยิ่งเป็นอันตรายคุกคามต่อสุขภาพเท่านั้น ขึ้นชื่อว่ามลพิษ ก็นับว่าเลวร้ายทั้งสิ้น แต่มลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศ ที่มีขนาดเล็กลงไปอีก ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากสามารถถูกสูดหายใจเข้าไป และมีขนาดเล็กพอ ที่จะเข้าไปลึกถึงปอดและทางเดินหายใจได้ บางอนุภาคอาจจะเข้าไปถึงกระแสเลือด และไหลเวียนทั่วร่างกายในที่สุด

 

พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน

 

ผลกระทบจากมลพิษละอองฝุ่น

จากงานศึกษาวิจัยพบว่า มลพิษทางอากาศ เป็นอันตรายคุกคามสุขภาพ มากกว่าที่เคยเข้าใจ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่า มีประชากรที่ต้อง “ตายก่อนเวลาอันควร” เนื่องจากมลพิษในอากาศทั่วโลก มากกว่าหกล้านคนในแต่ละปี และในจำนวนนี้ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ราวร้อยละสิบ หรือ ประมาณ 600,000 คน

 

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่แสดงด้วยว่า เมื่อคุณภาพอากาศเลวร้ายลง อัตราการไปห้องฉุกเฉิน และการเข้าอยู่โรงพยาบาลจะสูงขึ้น เพราะมลพิษทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่กำเริบขึ้น และเป็นเหตุให้หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ หอบหืดกำเริบ และอื่น ๆ

 

ตัวอย่างอันตรายจากฝุ่นต่อร่างกาย

1. อันตรายคุกคามต่อหัวใจ

งานวิจัยได้แสดงว่า การเผชิญกับมลพิษในอากาศ อาจทำให้เกิดเหตุรุนแรงเฉียบพลัน กับกล้ามเนื้อหัวใจได้ รวมทั้งหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรงขึ้น อัตราการผันแปรการเต้นของหัวใจลดลง ตลอดจนมีความเสี่ยง ที่จะเกิดการตายจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานปรากฏไม่นานมานี้ด้วยว่า ภาวะหลอดเลือดแข็ง และการเผชิญกับอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นระยะยาวมีความเชื่อมโยงกัน โดยที่มีการสะสมตะกอนที่เรียกว่า พลาค ภายในหลอดเลือด ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และหลอดเลือดสมองตีบจนถึงตายได้

 

2. อันตรายคุกคามต่อปอดและทางเดินหายใจ

มลพิษในอากาศ เป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจ และที่ทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ ซึ่งรวมถึงโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

3. อันตรายคุกคามต่อสมอง

เป็นที่เชื่อกันว่า การเผชิญกับมลพิษในอากาศเป็นระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้เกิดลิ่มเลือดในสมองได้

 

กลุ่มที่มีภาวะความเสี่ยงสูง

1. เด็กอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงด้วยหลายปัจจัย

ยิ่งอายุน้อย ความเสี่ยงยิ่งมากขึ้น ปอดและระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ยังอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา การเผชิญกับมลพิษในอากาศ จะขัดขวางการเจริญเติบโตของปอดในเด็กในวัยเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่แล้ว เด็กใช้เวลาอยู่กลางแจ้ง เพื่อเล่นกีฬาและทำกิจกรรมนอกบ้านมากกว่า นอกจากนั้น เด็กยังมีอัตราที่จะเป็นโรคหอบหืด และโรคระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงอื่น ๆ มากกว่า ซึ่งโรคเหล่านี้ กำเริบขึ้นได้อย่างง่ายดาย เมื่อระดับมลพิษสูง

 

2. หญิงมีครรภ์

แม่ท้องร่างกายจะอ่อนแอเป็นพิเศษ กับมลพิษในอากาศ การเผชิญกับมลพิษในอากาศ จากฝุ่นละอองในระดับสูงระหว่างตั้งครรภ์ มีความเชื่อมโยงกันกับการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวทารกแรกคลอดต่ำ และความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตร และอัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้น

 

3. ผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ที่จะมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับมลพิษ ทั้งนี้เพราะระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุ มักจะอ่อนแอลง และร่างกายมักจะมีความสามารถน้อยลง ที่จะรับมือกับมลพิษในอากาศ นอกจากนั้น ผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มมากขึ้น ที่จะมีอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือระบบทางเดินหายใจ ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย ที่อาจจะกำเริบขึ้น เนื่องจากมลพิษในอากาศ

 

4. ผู้ที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจ

เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหอบหืด โรคถุงลมในปอดโป่งพอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากอนุภาคฝุ่นละออง สามารถทำให้สภาวะโรค ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้กำเริบขึ้นได้

 

พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน

 

ดังนั้นหากครอบครัวไหน ที่มีลูกอ่อน และยังต้องไปรับส่งด้วยตัวเอง หากเป็นการเดินทางด้วยรถสาธารณะ หรือมอเตอร์ไซค์ หรือรถใดก็ตาม ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะของฝุ่น อาจจะต้องลดการสัมผัสใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกาย เพื่อความปลอดภัยของเราและลูกน้อย ควรอาบน้ำให้เรียบร้อยทันที หลังกลับมาถึงบ้าน แล้วจึงค่อยสัมผัสอย่างใกล้ชิดกันดีกว่าค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หนุ่มพิการไรเดอร์ ส่งอาหารถูกฟอร์จูนเนอร์ชนเสียชีวิต ขาเทียมหลุดกระเด็น

แม่ใจสลาย ชายข้างบ้านบุกข่มขืน ลูกสาว วัย 10 ปี ที่พิการทางสมอง

ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือ ผู้พิการเรียนต่อได้ที่ไหน ได้บ้าง

ที่มา : sanook, bumrungrad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ชาวเน็ตน้ำตาซึม! พ่อพิการอุ้มลูกกลับบ้าน โมเมนต์ดี ๆ หน้าโรงเรียน
แชร์ :
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

powered by
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว