โควิดในหญิงตั้งครรภ์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อล่าสุดได้มีงานวิจัยที่ติดตามผลลัพธ์นาน 12 เดือน ลงในวารสารการแพทย์สากล JAMA Network Open ที่ได้อ้างอิงข้อมูลว่า “มารดาที่ติดโควิด-19 ระหว่างตั้งครรภ์ ลูกจะเสี่ยงมีปัญหาด้านพัฒนาการและระบบประสาทมากกว่าปกติถึง 2 เท่า ภายใน 12 เดือนหลังคลอด ทั้งความเสี่ยงจะสูงสุดหากติดเชื้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยติดตามทารกจำนวน 7,772 คนที่เกิดในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด ในจำนวนดังกล่าว มีมารดาที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 222 คน”
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงมียอดผู้ติดเชื้อในทุกวัน ถึงแม้ในบางวันจะไพบยอดผู้ติดเชื้อน้อย แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเช่นเดิม เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเอง รวมถึงลูกในครรภ์ให้ปลอดภัยในช่วงเวลานี้ การทำความเข้าใจเรื่องการดูแลตัวเองระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
บทความที่น่าสนใจ เผยผลการศึกษา!! หมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเผยเด็ก 5-6 ขวบ ติดโควิดมากกว่าที่ใครหลายคนคิด
ไวรัสโคโรน่า (Coronavirus) หรือ โควิด-19 (Covid-19) คือ โรคอุบัติใหม่ที่พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในประเทศไทยช่วงต้นปี 2563 เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งในรายที่มีการติดเชื้อรุนแรงจะมีการติดเชื้อไปที่ปอด ทำให้เนื้อเยื่อปอดถูกทำลาย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากทางเดินหายใจล้มเหลวได้
ในช่วงตั้งครรภ์ คนท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย โดยเฉพาะทางเดินหายใจ เช่น ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง ปริมาณการใช้ออกซิเจนในร่างกายเพิ่มขึ้น และระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นหากคนท้องติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์นั้น มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น เช่น เพิ่มโอกาสการต้องเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) เพิ่มโอกาสการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือแม้กระทั่งเพิ่มโอกาสการเสียชีวิต เมื่อเทียบกับการติดเชื้อในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในมารดาที่อ้วน มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ส่งผลให้ทารกเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีรายงานการพบทารกติดเชื้อในระหว่างการให้นมบุตรอีกด้วย
โควิดในหญิงตั้งครรภ์ และแนวทางการดูแล
- ตรวจร่างกายและซักประวัติ หากพบความเสี่ยงควรรีบตรวจหาเชื้อ
- หากตรวจไม่พบเชื้อ ให้สังเกตอาการและตรวจซ้ำอีกครั้ง
- หากพบเชื้อควรกักตัวที่บ้าน หากมีภาวะฉุกเฉินให้มาโรงพยาบาล
- หากยืนยันไม่พบเชื้อ ก็สามารถฝากครรภ์ได้ตามปกติ
- หากมีอาการแทรกให้รับการรักษาตามแนวทางการปฏิบัติของแต่ละโรงพยาบาล
คุณแม่ตั้งครรภ์กับการป่วย COVID-19
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมากกว่า 2 ใน 3 มักไม่แสดงอาการ
- คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการรุนแรงมักมีภาวะอ้วน อายุมาก มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
- คุณแม่ติดเชื้อโควิด-19ระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสส่งต่อเชื้อไปยังลูก 2-5%
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด 15.1% ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเรื่องการแท้งบุตร และควรได้รับการดูแลจากสูตินารีแพทย์
วิธีรักษาโควิดในหญิงตั้งครรภ์
- ให้สารน้ำ แก้ไขภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่ ให้ออกซิเจน
- ให้ยาต้านไวรัสในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
- ให้ยาปฏิชีวนะหากติดเชื้อแบคทีเรีย
- กรณีที่อาการรุนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ขึ้นอยู่กับการประเมินโดยแพทย์
ข้อจำกัดในการรักษา คือ ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง และคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สามารถนอนคว่ำเพื่อรับออกซิเจนให้เพียงพอ อาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อเพิ่มระดับการให้ออกซิเจน
การฝากครรภ์ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถทำได้ปกติ แต่ในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์, คุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง หรือคุณแม่ที่มีโรคร่วมอย่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ หัวใจ หอบหืด ปอดเรื้อรัง ไต ต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ได้แก่
- ฝากครรภ์ตามแพทย์นัดทุกครั้ง โดยนัดเวลาล่วงหน้า
- เลี่ยงการเดินทางรถสาธารณะ
- ผู้ติดตามต้องไม่เกิน 1 คน
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดที่ออกนอกบ้าน
- ล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัวตลอดเวลา
- เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
- กลับถึงบ้านล้างมือ ถอดหน้ากากทิ้งทันที เปลี่ยนเสื้อผ้า
- สังเกตความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น บวม ลูกดิ้นน้อยลง มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ น้ำเดิน หากมีอาการรีบพบแพทย์ทันที
- ในช่วง 3 – 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากไม่มีการตรวจพิเศษอื่น ๆ อาจเลื่อนนัดได้ตามสถานการณ์
คุณแม่ตั้งครรภ์จึงจำเป็นที่ต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุดและควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่ออายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ จึงจะสามารถฉีดได้ และ หากกรณีอายุครรภ์ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ที่สำคัญไม่ควรเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป ดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรง และหากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโควิด-19 ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
บทความที่น่าสนใจ
โควิดทำให้เด็ก ๆ ทำร้ายตัวเองเวลาโมโห ! คุณแม่ต้องระวัง !
เตรียมตัวพาลูกเดินทาง ขึ้นเครื่องบินอย่างไรให้ปลอดภัย หลังจากวิกฤติโควิด
แม่ติดโควิด แทบใจสลาย เมื่อกักตัวเสร็จลูกกลับเมินเฉย
ที่มา FB Thira Woratanarat , bangkokhospital.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!