ปล่อยลูกถ่ายเอง สามารถฝึกลูกขับถ่ายได้ตอนกี่เดือน เมื่อไหร่ลูกน้อยจะพร้อมฝึกขับถ่าย ควรเริ่มฝึกตอนไหน วันนี้เรามีคำตอบว่าควรฝึกลูกขับถ่ายได้ตอนกี่เดือน ไปดูกันเลยค่ะ
เริ่มฝึกขับถ่ายตอนไหน
เมื่อลูกเริ่มสามารถเว้นช่วงการถ่ายปัสสาวะได้นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เริ่มถ่ายอุจจาระเป็นเวลา เข้าใจภาษาพูดง่าย ๆ สามารถโต้ตอบโดยท่าทางคำพูด เช่น อึ ฉี่ สามารถนั่งกระโถนและลุกยืนได้เอง เริ่มมีอาการแสดงออกบางอย่างเมื่อจะขับถ่าย แสดงความตื่นเต้นเมื่อเห็นปัสสาวะตัวเองพุ่ง อยากสวมกางเกงแทนผ้าอ้อม แสดงความสนใจเวลาเห็นผู้ใหญ่เข้าห้องน้ำถ่ายปัสสาวะ แสดงความดีใจเมื่อได้รับคำชมเชย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งบอกถึงความพร้อมของลูก ช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุด คือช่วงอายุ 1 ขวบครึ่งจนถึง 2-3 ขวบ
ทำไมต้องฝึกการขับถ่ายลูก
การขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระที่เหมาะสมของลูกจะส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมเหมาะสมตามวัย เด็กที่มีการขับถ่ายไม่เหมาะสมส่งผล ดังนี้
- เด็กที่มีการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ดราด
- เกิดความอับชื้นของกางเกงอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอ จนเป็นรอยถลอกและติดเชื้อง่าย
- การไม่ถ่ายอุจจาระเป็นประจำจะทำให้อุจจาระแข็ง เจ็บทวารหนักเวลาถ่าย อาจทำให้เกิดแผล ฝี หรือริดสีดวงทวาร
- ทำให้ท้องอืดไม่อยากอาหาร จนลูกเจริญเติบโตช้ากว่าที่ควร
- ถ้าลูกไปโรงเรียน ลูกอาจจะมีปัญหาในการดูแลความสะอาดเมื่อเกิดการขับถ่ายเล็ดราด จนกระทบต่อกิจกรรมของลูก และต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กทารกควรถ่ายวันละกี่ครั้ง สีอุจจาระของทารกบ่งบอกอะไร
การฝึกลูกขับถ่าย
- ให้รู้จักบอกเมื่อจะขับถ่ายและให้รู้จักขับถ่ายในที่ที่เหมาะสม
สังเกตการณ์แสดงออกของลูก เมื่อจะขับถ่าย เช่น อยู่ ๆ ก็หยุดอยู่กับที่ ทำหน้านิ่งคิ้วขมวด อารมณ์ไม่ดี จับที่ผ้าอ้อมหรืออวัยวะเพศ เป็นต้น เมื่อมีการแสดงออกที่สงสัยว่าจะขับถ่ายให้ถามลูกว่า อึไหม เพื่อให้ลูกรู้ว่าเป็นการปวดอุจจาระ แล้วจึงพาไปที่กระโถนหรือห้องน้ำ เมื่อถูกถ่ายอุจจาระไม่ว่าจะถ่ายรดผ้าอ้อม รดกางเกง หรือถ่ายลงในกระโถนก็ให้บอกลูกว่า อึหรอ แล้วพาไปเข้าห้องน้ำ ล้างทำความสะอาด และให้ทิ้งสิ่งขับถ่ายลงในโถส้วมให้ลูกได้เห็น
- ให้คุ้นเคยกับการนั่งกระโถน
ให้ลูกลองนั่งกระโถนบ่อย ๆ อาจนั่งโดยที่ในช่วงแรกลูกยังสวมผ้าอ้อมไว้ หรือถ้าลูกยอมก็ให้นั่งในขณะที่ไม่ได้สวมผ้าอ้อม หากิจกรรมให้ลูกทำระหว่างการนั่งกระโถน เช่น อ่านนิทานให้ฟัง เล่นของเล่น เป็นต้น ให้ชวนลูกนั่งกระโถนทุก 2-3 ชั่วโมง หรือใน ½ ชั่วโมง หลังกินนมหรือน้ำ เพื่อขับถ่าย และให้ลูกนั่งกระโถนในช่วงเช้าทุกวันหลังตื่นนอนหรือหลังมื้ออาหาร เพื่อถ่ายอุจจาระ ให้นั่งไม่เกิน 2-3 นาทีในแต่ละรอบ เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกเบื่อ ไม่ควรคาดหวังว่าในช่วงแรกลูกจะถ่ายออกทุกครั้งที่หัดนั่งกระโถน ให้ชมเชยทุกครั้งหรืออาจให้เป็นสติกเกอร์ติดที่รอบกระโถนเมื่อลูกนั่งที่กระโถน ถึงแม้ว่าลูกไม่ได้ถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระ
เทคนิคช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ดี
- ค่อย ๆ เริ่มฝึกทีละนิดจนเด็กทำได้ โดยพ่อแม่ไม่คาดหวังเกินไป
- เริ่มจากให้เด็กนั่งกระโถนทุกครั้งก่อนจะเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกง เพื่อให้เด็กเกิดความเคยชินในการนั่งกระโถน
- เด็กแต่ละคนมีช่วงเวลาความพร้อมไม่เหมือนกัน พ่อแม่จึงไม่ควรขัดจังหวะในขณะที่เด็กพยายามขับถ่าย กำลังขับถ่าย หรืออารมณ์เสียใส่เด็กเมื่อเด็กไม่ขับถ่าย
- เมื่อพ่อแม่คาดเดาว่าใกล้ถึงเวลาที่เด็กจะขับถ่ายแล้ว พ่อแม่จึงถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมของเด็กออก แล้วเลื่อนกระโถนเข้ามาใกล้ตัวเด็ก
- เด็กควรมีความรู้สึกสะดวกสบายและมีความสุข ในการนั่งส้วมหรือกระโถน
- การวางของเล่นหรือหนังสือนิทานไว้ให้เด็กเล่น อาจทำให้เด็กเสียสมาธิ หรือเพลิดเพลินจนลืมขับถ่าย
- เมื่อเด็กทำสำเร็จ เช่น นั่งกระโถนได้ตามเวลาที่กำหนด ขับถ่ายออกมาได้ พ่อแม่ควรให้คำชมเชย ส่งยิ้ม แสดงท่าทีดีใจ หรือให้รางวัล เพื่อให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการขับถ่ายครั้งต่อไป และมีความภาคภูมิใจในตนเอง
- ดื่มน้ำเปล่าให้มากพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะและช่วยให้อุจจาระนิ่มถ่ายออกง่าย
- กินอาหารที่มีกากใยให้เพียงพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดอุจจาระ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก ลูกอุจจาระแข็ง อุจจาระไม่ออก ทําไงดี วิธีแก้ เด็กท้องผูก
ลูกขับถ่ายผิดปกติส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้
- ผลต่อพัฒนาการของร่างกาย เมื่อเด็กท้องผูกมากจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก และขาดสารอาหารได้
- ผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ ในเด็กบางรายที่ท้องผูกมานาน อาจมีอุจจาระเล็ดออกมาภายนอก ทำให้เปื้อนติดกางเกงและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกอายเพื่อนและรู้สึกมีปมด้อย หรือในกรณีของเด็กบางรายที่มีอาการปวดท้องแต่ไม่สามารถอธิบายอาการที่เป็นได้และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เข้าใจ ก็อาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางอารมณ์ กลายเป็นเด็กหงุดหงิด ก้าวร้าวได้
สังเกตอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก
- ลูกน้อยจะถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ขณะถ่ายท้องเด็กจะเบ่งนาน
- มีอาการท้องอืด แน่นท้องร่วมด้วย หากปล่อยไว้ลูกจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณรูทวารหนัก อาจมีแผลปริแตกหรือบวม
- อุจจาระมีเลือด หากลูกต้องเบ่งอุจจาระที่มีขนาดใหญ่และแข็ง อาจทำให้ติ่งเนื้อที่ก้นฉีกขาด
- เมื่อมีอาการบาดเจ็บที่รูทวาร ลูกจะไม่อยากเข้าห้องน้ำอีกแล้ว ส่งผลให้เกิดอาการเรื้อรังตามมา
- พยายามกลั้นอุจจาระ ยืนเบ่ง ไม่กล้านั่งถ่าย เขย่งเท้า ขาเกร็ง หนีบก้นจนหน้าซีดเหงื่อออก
- หากจับลูกให้นั่งถ่ายก็จะร้องไห้ต่อต้านไม่อยากทำ
วิธีป้องกันเมื่อลูกท้องผูก
เด็กควรทานนมไม่เกินวันละ 32 ออนซ์ และผสมให้มีความเข้มข้นตามสัดส่วนที่ถูกต้อง เลือกนมที่มีสูตรผสมน้ำตาลแลคโตส จะดีกว่าสูตรนมที่มีน้ำตาลซูโครส มอลโทส เด็กซตริน นมที่เติมกากใยอาหาร โอลิโกแซคคาไรด์ และจุลินทรีย์ (โปรไบโอติค) ทำให้อุจจาระนิ่ม และถ่ายง่าย ทานอาหารที่มีกากใยอาหาร ข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ผักต่าง ๆ อาหารช่วยระบาย เช่น ลูกพรุน มะละกอ กล้วยสุก
5-10 นาที หลังมื้ออาหาร โดยคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกนั่งถ่ายอย่างสงบ ไม่รีบร้อน ไม่เครียด อาจจะชวนคุย เล่านิทานให้ฟัง เมื่อลูกถ่ายได้ก็ให้ชมเชย ควรจัดหาหรือทำให้ส้วมหรือที่นั่งถ่ายให้น่านั่ง ไม่น่ากลัว สร้างบรรยากาศและอารมณ์ให้ผ่อนคลายในระหว่างการขับถ่าย จะช่วยทำให้ฝึกการขับถ่ายได้สำเร็จ หลังการปรับเปลี่ยนอาหาร และได้ฝึกระบบขับถ่ายแล้ว ถ้าเด็กยังมีปัญหาท้องผูกอยู่ควรปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ยารักษาต่อไป เนื่องจากท้องผูกอาจทำให้เป็นปัญหาเรื้อรังได้ ปัญหานี้จึงต้องการความร่วมมือกันระหว่างแพทย์ พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ครู ในการให้กำลังใจแก่เด็ก ฝึกการขับถ่ายและชมเชยเมื่อทำได้สำเร็จ ต้องใช้ความอดทนในการติดตามการรักษาเนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้อาการท้องผูกกลับมาเป็นใหม่อีก
กดจุดลดแน่นท้อง
จุดนี้จะอยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าล่างลงไปประมาณ 3 นิ้ว จะอยู่บริเวณข้างกระดูกหน้าแข้งด้านนอก โดยให้ใช้หัวแม่มือกดที่จุดจู๋ซานหลีทั้งสองข้างประมาณ 3-5 นาที
จุดของกระเพาะอาหาร จะอยู่บนแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้า เหนือสะดือ 4 นิ้ว กดจุดจงหว่านค้างไว้ข้างละ 3-5 นาที
จุดเน่ยกวนจะอยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสอง โดยห่างจากเส้นข้อมือประมาณ 2 นิ้ว กดจุดเน่ยกวนค้างไว้ข้างละ 3-5 นาทีก็จะช่วยให้ได้ผลดีขึ้น
ผลไม้ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
เพราะในกล้วยน้ำว้ามีสารเพคติน และใยอาหารสูง นอกจากทำให้อิ่มท้องแล้ว ยังช่วยเพิ่มการอาหารในลำไส้ใหญ่ ทำให้ขับถ่ายง่าย
ผลไม้ราคาถูกหาง่ายที่มีน้ำย่อยในตัว จึงช่วยจัดการกับอาหารที่ย่อยยาก ย่อยไม่หมดถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ พร้อมขับถ่าย
ผลไม้ชนิดนี้ช่วยให้อุจจาระที่แข็งนุ่มลงและขับออกมาได้ง่ายขึ้น
เวลาทานส้มต้องบอกว่าให้ทานใยขาว ๆ ของส้มไปด้วย เพราะนอกจากส้มจะช่วยให้อาหารย่อยง่ายเคลื่อนตัวได้ดี ยังช่วยให้ผมดกดำ ไม่หงอกก่อนวัยอีกด้วย สำหรับเด็ก ๆ หากทานเป็นผลยาก ก็แนะนำให้คั้นดื่มสดก็ช่วยได้
การฝึกลูกน้อยให้เตรียมความพร้อมในการขับถ่าย จะเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานสุขลักษณะที่ดีในการใช้ชีวิตของลูก จะทำให้ลูกรู้จักขับถ่ายให้ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งเรื่องระบบขับถ่ายของลูกน้อยเป็นอีกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญในการเอาใจใส่ค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ระบบขับถ่ายของลูก ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น อึเหลว อึแข็ง แบบไหนอันตรายต่อลูกน้อย ?
5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?
ฝึกลูกขับถ่าย เริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุเท่าไรคะ ให้ลูกฝึกขับถ่าย ดียังไงคะ
ที่มา : thaihealth, bumrungrad, thaihealth
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!