X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

บทความ 5 นาที
วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

แค่วินาทีแรกที่เห็นหน้าลูกก็ตื้นตันสุดบรรยายแล้ว แต่คุณจะซาบซึ้งยิ่งขึ้น ถ้าได้รับรู้เรื่องราวความมหัศจรรย์ทั้งหมดของชั่วโมงแรกในชีวิตลูก...

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

ชั่วโมงแรกในชีวิตลูก

คุณจะซาบซึ้งกับทุกอย่างในห้องคลอดยิ่งขึ้น ถ้าได้รับรู้เรื่องราวความมหัศจรรย์ของ วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

คุณรู้หรือไม่ ชั่วโมงแรกในชีวิตลูกน้อยสำคัญมากขนาดไหน

หากลองพิจารณาดี ๆ ชั่วโมงแรกเป็นครั้งแรกของหลายสิ่งหลายอย่างเลยทีเดียว

...เป็นครั้งแรกที่พ่อแม่ได้ชื่นชมและโอบกอดลูกน้อย

...เป็นครั้งแรกของลูกเช่นกันที่ได้รับรู้และได้รับสัมผัสจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด

ณ วินาทีนั้นเอง สายใยแห่งรักระหว่างพ่อแม่ลูกจะเริ่มก่อตัวขึ้นช้า ๆ และความผูกพันจะยิ่งแน่นแฟ้นมากขึ้นเมื่อลูกน้อยได้ลองลิ้มรสน้ำนมจากอกของแม่เป็นครั้งแรก

ใช่แล้วค่ะ มันเป็นชั่วโมงแรกแสนพิเศษที่ควรใส่ใจดูแลทุกนาทีให้คุ้มค่ามากที่สุด

พฤติกรรมตามสัญชาตญาณธรรมชาติ 1 ชั่วโมงกับอีก 10 นาทีแรกในชีวิตทารกนี้ได้รับการจดบันทึกอย่างละเอียดโดยทีมนักวิจัยจากสวีเดน ตีพิมพ์ในวารสาร Acta Paediatrica และเผยแพร่ผ่านเว็บ Science New

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

 และนี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วโมงมหัศจรรย์นี้ค่ะ...

0 นาทีหลังคลอด : ทารกตัวจิ๋วแต่ตะโกนร้องเสียงดังคล้ายอยากประกาศก้องให้โลกรู้ว่าเขาคลอดออกมาแล้ว (การร้องไห้เป็นการระบายน้ำคร่ำออกจากปอด)

2 นาทีหลังคลอด : หลังร้องไห้แล้ว เจ้าตัวเล็กจะนอนนิ่งเงียบ ๆ บนอกหรือท้องแม่สักแป๊บนึง (แป๊บเดียวจริง ๆ ไม่เกิน 1 นาที) นักวิจัยลงความเห็นว่า ช่วงอึดใจความเงียบสงบนี้อาจเกิดจากสัญชาตญาณหลบซ่อนตัวจากผู้ล่า

2 นาทีครึ่งหลังคลอด : หนูน้อยเริ่มลืมตาขึ้นเป็นครั้งแรก อาจเริ่มขยับหัวหรือทำปากขมุบขมิบด้วย

8 นาทีหลังคลอด : น้องเริ่มกลอกตา ขยับแขนขามากขึ้น และเริ่มนึกอยากหม่ำอาหารมื้อแรกแล้วสิ สังเกตดูจากที่น้องมองหน้าแม่และมองต่ำลงมาที่หน้าอก พร้อมส่งร้องหงิง ๆ และขยับมือเข้าใกล้ริมฝีปาก

18 นาทีหลังคลอด : ครอกฟี้.. สงสัยเมื่อกี้ออกลีลามากไปหน่อย เจ้าตัวเล็กจึงขอพักเหนื่อยอีกแป๊บ

36 นาทีหลังคลอด : พอได้งีบก็มีแรงมากขึ้น แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง เด็กน้อยจึงอาศัยประสาทรับรู้กลิ่นนำทางไปสู่อ้อมอกของแม่ เพื่อลิ้มอาหารแสนอร่อยมื้อแรกของหนู

62 นาทีหลังคลอด : หืม.. นี่อะไร อร่อยจัง ในที่สุดหนูน้อยก็ได้ปักหลักบนอกแม่และได้ดื่มน้ำนมเหลืองที่อุดมไปด้วยสารอาหารเข้มข้นรวมทั้งสารภูมิต้านทาน การดูดของลูกยังช่วยกระตุ้นให้มดลูกของแม่หดตัวกระชับเข้าที่เหมือนตอนก่อนท้องอีกด้วย

70 นาทีหลังคลอด : เมื่อกินอิ่มแปล้แล้ว ทารกน้อยก็ผล็อยหลับต่อ

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยเจ้าของผลงานออกตัวว่า “เลขนาทีที่เขียนนี้เป็นค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากเด็กแรกเกิดจำนวนไม่มาก แน่นอนว่าระยะเวลาของเด็กแต่ละคนย่อมแตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย”

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

1000 วันแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของเด็กทุกคน เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแท้จริง โครงสร้างร่างกายทั้งส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว น้ำหนักตัวมีอัตราการเพิ่มสูงสุดถึง 22 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 1.6 เท่าของช่วงวัยรุ่น และที่สำคัญมากคือ เป็นช่วงเวลาที่สมองของทารกพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุด

โดยเริ่มตั้งแต่ 18 วันหลังจากการปฏิสนธิ ทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างเซลล์สมอง มีการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาท และสารสื่อประสาทอย่างรวดเร็ว เมื่อมีอายุครบ 2 ปี สมองจะมีขนาดประมาณร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ จ านวนเซลล์สมองมีมากถึงแสนล้านเซลล์ เส้นใยประสาทมีหน้าที่ช่วยในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง สารสื่อประสาทเป็นสารเคมี ที่ทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้เกิดการทำงานของสมอง สร้างความทรงจำและการเรียนรู้ ส่งผลต่อความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ต่อไปในอนาคต

ดูแลลูก หลังแม่คลอด

สิ่งที่ทีมนักวิจัยต้องการนำเสนอ คือ ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เข้าใจว่าโดยธรรมชาติแล้วทารกต้องการอะไร และพ่อแม่ควรนำพาทารกน้อยแสนรักให้รู้จักกับโลกใบนี้อย่างไร

บันทึกนี้เป็นหลักฐานสนับสนุนให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการสัมผัสแนบชิด และช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกได้ดื่มนมจากอกแม่ตั้งแต่คลอดได้ไม่นาน

มีผลวิจัยยืนยันว่า ถ้าทารกได้เอาคางแนบใต้อกแม่หลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมง จะมีแนวโน้มกินนมแม่ได้สำเร็จมากกว่าทารกที่ไม่ได้สัมผัสเช่นนั้น

อ่านเพิ่มเติม : ทำไมเด็กแรกเกิดต้องการนมแม่เร็วที่สุด?

รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ ๆ อย่าลืมเก็บแรงไว้ชื่นชมช่วงเวลาที่น่าประทับใจด้วยนะคะ แล้วความทรงจำครั้งแรกเหล่านี้จะตราตรึงอยู่ในใจคุณตลอดไปค่ะ

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

บทความจากพันธมิตร
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย

เเล้วทารกที่คลอดก่อนก่อนกำหนดละ

 การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ต้องอาศัยทีมแพทย์พยาบาลที่มีความชำนาญทางด้านทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ เนื่องจากทารกเหล่านี้ไม่เพียงแค่น้ำหนักน้อยเท่านั้น แต่อวัยวะต่างๆยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนทารกปกติ ดังนั้น ผู้ดูแลจะต้องเข้าใจถึงปัญหาที่จะตามมา ยิ่งทารกเกิดก่อนกำหนดมากเท่าไหร่ก็จะพบปัญหาได้มากขึ้น ภายหลังคลอดอาการของทารก อาจจะมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกวินาทีของทารกแรกเกิดนั้น จึงมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น ทารกกลุ่มนี้ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแล อย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง  รักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ส่งผลให้ปลอดภัยพ้นจากภาวะวิกฤต รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อน 
ข้อสำคัญของทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ต้องให้การดูแลเป็นอย่างมาก
  • อันดับแรก คือ “เรื่องการหายใจ” เพราะปอดถือเป็นอวัยวะสำคัญมาก เนื่องจากปอดของทารกเกิดก่อนกำหนด ขาดสารลดแรงตึงผิว ส่งผลให้ปอดขยายตัวไม่ดี ดังนั้น ทารกเกิดก่อนกำหนด จึงมีอาการหายใจลำบากหรือหายใจผิดปกติได้ ซึ่งการหายใจนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีชีวิตก็ว่าได้
  • นอกจากนั้น คือ “สมอง” ของทารกเกิดก่อนกำหนดค่อนข้างเปราะบาง เส้นเลือดในสมองเปราะบาง โดยเฉพาะทารกที่น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม การดูแลทารกเหล่านี้จะต้องดูแลด้วยความนุ่มนวลรบกวนทารกให้น้อยที่สุด ติดตามดูสัญญาณชีพและออกซิเจนโดยใช้เครื่องมอนิเตอร์ติดตามตลอดเวลา พยายามรักษาระดับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ คือ ดูแลทารกให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตของทารก โดยการให้นมทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ต้องให้ด้วยความระมัดระวัง ให้ทีละน้อยๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากอวัยวะภายใน โดยเฉพาะลำไส้ยังไม่สมบูรณ์ การให้นมปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลกับลำไส้ได้ ทารกจึงต้องได้รับสารอาหารทางเส้นเลือดที่เหมาะสมร่วมด้วย

วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่

   การดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนด “เริ่มต้นตั้งแต่วินาทีแรก” ที่เกิดในห้องคลอด โดยการกู้ชีพด้วยอุปกรณ์ช่วยหายใจที่เหมาะสม และดูแลต่อเนื่องภายใต้มาตรฐานการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วย เครื่องช่วยหายใจ, การควบคุมอุณหภูมิภายในตู้อบ, การให้ยาและสารอาหาร ต้องได้รับการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางตลอดระยะเวลา ภายใน NICU (Neonatal Intensive Care Unit) เพื่อความปลอดภัยของทารก ทำให้ทารกสามารถเจริญเติบโตได้เหมาะสมใกล้เคียงกับการอยู่ในครรภ์มารดา

หวังว่าบทความนี้จะน่าสนใจสำหรับว่าที่คุณแม่ทุกคนนะคะ ใครคิดเห็นอย่างไร เชิญมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้เลยค่ะ

ที่มา : sg.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

เทรนด์ใหม่! ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด

4 เคล็ดลับรับมือลูกแรกคลอด

https://www.bangpakokhospital.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่
แชร์ :
  • คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม กินเกลือแร่ เพราะท้องเสียได้ไหม ?

    คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม กินเกลือแร่ เพราะท้องเสียได้ไหม ?

  • ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
    บทความจากพันธมิตร

    ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้

  • 40 ชื่อลูกที่แปลว่า ดอกไม้ในภาษาฝรั่งเศส ตั้งชื่อลูกสาวน่ารัก ๆ สุดหรูหรา

    40 ชื่อลูกที่แปลว่า ดอกไม้ในภาษาฝรั่งเศส ตั้งชื่อลูกสาวน่ารัก ๆ สุดหรูหรา

app info
get app banner
  • คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม กินเกลือแร่ เพราะท้องเสียได้ไหม ?

    คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม กินเกลือแร่ เพราะท้องเสียได้ไหม ?

  • ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
    บทความจากพันธมิตร

    ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้

  • 40 ชื่อลูกที่แปลว่า ดอกไม้ในภาษาฝรั่งเศส ตั้งชื่อลูกสาวน่ารัก ๆ สุดหรูหรา

    40 ชื่อลูกที่แปลว่า ดอกไม้ในภาษาฝรั่งเศส ตั้งชื่อลูกสาวน่ารัก ๆ สุดหรูหรา

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ