X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 เคล็ดลับรับมือลูกแรกคลอด

บทความ 5 นาที
4 เคล็ดลับรับมือลูกแรกคลอด

คุณแม่มือใหม่หลายคนเตรียมตัวมาดีตั้งแต่ก่อนคลอด โดยอ่านหนังสือคู่มือเลี้ยงลูกมามากมายหลากหลายเล่ม แต่พอคลอดลูกจริง ๆ แม้ในหัวเต็มไปด้วยทฤษฎี แต่แม่มือใหม่ที่ไม่เคยปฏิบัติ ก็อาจยังทำให้หลายสิ่งหลายอย่างดูขลุกขลักชุลมุน

รับมือลูกแรกคลอด

รับมือ ลูกแรกคลอด

ทั้งพ่อและแม่มือใหม่หลายคนต้องเผชิญกับสารพัดปัญหาที่ทำให้เหนื่อยทั้งกาย เหนื่อยทั้งใจ (ถึงขั้นเครียด น้ำตาตก) ไม่ว่าจะเป็นลูกงอแงไม่หยุด เอาลูกไม่อยู่ นมแม่ไม่ออก ลูกแหวะนม ลูกอาเจียนเยอะ ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ตื่นกลางคืนบ่อย เป็นต้น ถ้ายิ่งเลี้ยงลูกเองไม่มีผู้ช่วยด้วยล่ะก็ ยิ่งทำให้แม่ไม่มีเวลาเป็นของตัวเองเลย จะอาบน้ำ กินข้าว เข้าห้องน้ำ ทุกอย่างต้องรีบไปเสียหมด ส่งผลให้ยิ่งหงุดหงิดกังวลใจ

แต่…อย่ากังวลไปค่ะ มีเคล็ดลับดี ๆ ที่พิสูจน์ด้วยตนเองมาแล้วว่ารับมือลูกช่วงแรกคลอดได้อยู่หมัดมาฝากกัน

1. อย่าอายที่จะถามผู้ใหญ่

ยิ่งมีลูกคนแรก คุณแม่ป้ายแดงย่อมไม่เคยมีประสบการณ์เลย การถามผู้ใหญ่หรือขอความช่วยเหลือจากคุณแม่ของตัวเอง คุณแม่สามี หรือผู้ใหญ่ในบ้านไม่ใช่เรื่องน่าอาย อาจให้ท่านช่วยเป็นติวเตอร์ในบางเรื่อง เช่น อาบน้ำลูก เช็ดลิ้นลูก ห่อตัวลูก แล้วเราค่อย ๆ เรียนรู้และหัดไปเรื่อย ๆ แรก ๆ ถึงยังไม่เก่ง อย่าไปคิดว่าทำไมยังทำไม่ได้ ห้ามท้อ ถ้าได้ทำทุกวัน ๆ ท่าทางที่ดูเก้งก้างก็จะเข้าที่เข้าทาง และกลายเปลี่ยนคุณแม่มืออาชีพไปในที่สุดค่ะ

2. อดทน

Advertisement

คนเป็นแม่ต้องอดทนค่ะ เราอดทนกันมาตั้งแต่ตอนท้อง ตอนคลอด พอถึงตอนเลี้ยงนี่ก็ยิ่งต้องอดทนใหญ่ เพราะทั้งแม่ทั้งลูกต่างก็ใหม่ด้วยกันทั้งคู่ ลูกเพิ่งลืมตาดูโลกยังไม่รู้วิธีการสื่อสาร ที่ทำได้มีเพียงวิธีเดียวคือการร้องไห้ ทุกอย่างเป็นสัญชาตญาณล้วน ๆ แม่อย่างเราต้องอดทนกับชีวิตน้อย ๆ ให้ได้ ให้ลองคิดดูว่า ‘ถ้าแม่เลี้ยงเรามาได้ เราก็ต้องเลี้ยงลูกของเราได้เช่นกัน’ ไม่ว่าจะปัญหาใด เชื่อเถอะค่ะว่า แค่อดทนอีกเพียงนิดเดียวทุกปัญหาก็จะผ่านไปได้จริง ๆ ค่ะ

3. ผ่อนคลาย

อดทนแล้วต้องผ่อนคลายห้ามเครียดนะคะ อย่ากะเกณฑ์อะไรให้เข้มงวดเกินไป ทำใจสบาย ๆ เช่น บางทีถ้าลูกไม่ยอมนอนทั้งวัน ก็ต้องปล่อยวาง คิดบวกเอาไว้ ว่านี่อาจทำให้ลูกหลับกลางคืนได้ ถ้าเรายิ่งหงุดหงิดก็จะยิ่งเครียดลูกเขารับรู้ได้ก็จะยิ่งงอแง แต่ถ้าเล่นกับเขาทำอะไรด้วยกันเพลิน ๆ สบายใจทั้งแม่ทั้งลูกแป๊บเดียวเดี๋ยวก็หลับปุ๋ยค่ะ เรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน

4. สังเกต

รู้เขารู้เรา…รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ต้องหัดสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ของลูก เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ปัญหาเรื่องการนอน ดูสิว่าลูกหลับยังไง อะไรคือไม้ตายพิชิตลูกหลับ แล้วก็กล่อมเขาด้วยวิธีนั้น รวมไปถึงปรับเราให้เข้ากับลูก และปรับลูกให้เข้ากับวิถีชีวิตของเรา หรือก็คือการฝึกลูกนั่นเอง เช่น ฝึกตื่นนอน เข้านอนให้เป็นเวลาที่เราสะดวก เป็นต้น

รับรองค่ะว่า 4 วิธีนี้เอาลูกอยู่หมัดแน่ ๆ แถมยังทำให้คุณแม่เลี้ยงลูกได้อย่างมีความสุขด้วยค่ะ

4 เคล็ดลับรับมือลูกแรกคลอด

ดูแลทารกหลังคลอด กลับบ้านไปแล้ว ทุกวันต้องทำอะไรบ้าง

ดูแลทารกหลังคลอด

การ ดูแลทารกหลังคลอด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ มาดูสิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ เพื่อให้ทุกๆ วัน ทำตามได้อย่างครบถ้วนกันดีกว่า

ทำความเข้าใจทารกแรกเกิด 1-2 สัปดาห์แรก

ทารกแรกเกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แทบจะไม่ทำอะไรเลย นอกเสียจากนอน หลังจากนั้นพัฒนาการด้านอื่นๆ ก็จะเริ่มเพิ่มเติมขึ้นมา ช่วงแรกๆ ลูกจะตื่นมาพร้อมกับร้องไห้ด้วยความหิว หรืองอแงเมื่อรู้สึกไม่สบายตัว พอเริ่มอิ่ม ก็จะง่วง แล้วก็นอนอีก วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ลูกต้องนอนคว่ำหรือนอนหงาย

ในช่วงที่ยังชันคอไม่ได้ โดยเฉพาะ 1-2 เดือนแรก ที่คอไม่แข็ง ต้องให้ลูกนอนหงาย เพราะนี่เป็นท่านอนทารกที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็สามารถให้ลูกนอนตะแคง หรือนอนคว่ำได้ แต่พ่อแม่ต้องจับตาดูไว้ตลอด ไม่ให้คลาดสายตา เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอันตราย เสี่ยงต่ออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก หรือโรคไหลตายในทารก SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

นอนสักพักก็ตื่นเพราะหิวนม

ทารกแรกเกิดมักจะตื่นบ่อย หิวนมถี่ๆ ในช่วงแรก อยู่ราว 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง และอาจบ่อยกว่านั้น ซึ่งทางการแพทย์แนะนำให้คุณแม่ให้นมแม่กับลูกอย่างเดียวไปนาน 6 เดือน ไม่ควรให้ดื่มน้ำ และห้ามเด็ดขาดที่จะให้ทานสิ่งอื่น

การให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ ยังช่วยกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มาก ทั้งยังลดอาการคัดตึงของเต้านมได้ด้วย

ทุกครั้งที่ลูกอิ่มจากน้ำนมแม่แล้ว อย่าลืมอุ้มลูกเรอ ด้วยการอุ้มลูกพาดที่บ่า ลูบหลังเบาๆ หรือใช้ท่าอุ้มลูกเรออื่นๆ การที่ลูกเรอออกมาจะรู้สึกสบายตัว ลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกร้องไห้

ร่างกายทารกหลังคลอด

  1. ช่วงแรกๆ ตอนอายุ 1 – 2 วัน ผิวหนังทารกจะลอก หายไปได้เองใน 2 – 3 วัน
  2. ทารกจะมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล ตรงจมูก ริมฝีปากและแก้ม หายไปเองหลังคลอด 1 – 2 สัปดาห์
  3. ในช่วง 3 – 5 วันหลังคลอด จะมีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด มักจะหายไปเองในสองสัปดาห์ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ผ่านไปยังทารกขณะอยู่ในครรภ์ และระดับฮอร์โมนลดลงหลังคลอด

4 เคล็ดลับรับมือลูกแรกคลอด

 

เช็คลิสต์ วิธีดูแลทารกหลังคลอด

อาบน้ำ

  • อาบด้วยน้ำอุ่นๆ ไม่ร้อน โดยอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้งเดียว
  • อาบน้ำทารกไม่ควรใช้เวลานาน เพียง 5-7 นาทีก็ควรทำให้เสร็จ และไม่อยู่ในบริเวณที่มีลม
  • หลังจากที่ลูกอิ่มนม อย่าอาบน้ำทันที

ดูแลสะดือ

พ่อแม่ต้องดูแลทั้งโคนสะดือและตรงสะดือให้แห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดสะดือทารกด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์ตามที่โรงพยาบาลจัดให้ใช้) ทำความสะอาดวันละ 3 ครั้ง และสะดือจะหลุดได้เอง 1 – 2 สัปดาห์ พอสะดือใกล้หลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้ยา แป้ง มาโรยสะดือเด็ดขาด

ดูแลช่องปากลูกน้อย

ลูกทานนมบ่อยๆ ต้องหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากลูก ด้วยการเช็ดคราบนมเบาๆ ตามเหงือกและลิ้น เพื่อป้องกันฝ้าขาว

วิธีการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้านุ่มๆ พันบริเวณปลายนิ้ว นำไปชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือกให้ทั่ว เมื่อลูกรักปากสะอาดก็จะไม่เกิดเชื้อรา ทำบ่อยๆ ยังส่งผลดีตอนโต ลูกก็จะชินกับการแปรงฟันได้ง่ายขึ้น

เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูแลหลังขับถ่าย

ลูกฉี่แล้ว พ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้ทารกตัวเย็น ส่วนการอึนั้น ทารกที่ดื่มนมแม่มักจะอึบ่อยๆ เป็นเรื่องปกติ วิธีทำความสะอาดก้น ให้เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดไปมา

ถ้าเป็นลูกสาวให้แม่เตรียมผ้าเปียก หรือแผ่นสำลีชุบน้ำสะอาด

  • เมื่อลูกสาวฉี่ ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดจากท้องน้อย จนถึงอวัยวะเพศ ไม่ต้องเช็ดลึกไปในช่องคลอด เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง แล้วเปลี่ยนผ้าเปียกผืนใหม่ เช็ดตรงก้นอีกครั้ง ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจ
  • ถ้าใช้สำลีชุบน้ำ ให้เช็ดเหมือนกับข้อบน หลังจากเช็ดขาหนีบให้เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ แล้วเช็ดตรงก้น ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง ก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ใช้ผ้าขนหนูนิ่มๆ เช็ดเบาๆ ที่ผิวก้น และตรงอวัยวะเพศ ให้แห้งเสียก่อน
  • หากลูกสาวอึ ให้ใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อน พอเกลี้ยง ให้ซับอวัยวะเพศและก้นลูกให้แห้ง เช็ดแค่ด้านนอก ไม่ต้องเช็ดลึกถึงช่องคลอด ย้ำอีกครั้ง การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ห้ามเช็ดจากก้นขึ้นมา เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ที่สำคัญ ห้ามทาแป้งลงบนอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้อับชื้นและเกิดการติดเชื้อ

ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com/%

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิ่งที่พ่อมือใหม่ควรรู้

วิธีช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้

9 เดือนในท้องแม่ของหนู

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ธิดา พานิช

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 4 เคล็ดลับรับมือลูกแรกคลอด
แชร์ :
  • 7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

    7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • 7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

    7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว