ทันทีที่ลูกน้อยคลอดออกมา ทารกมีสัญชาตญาณในการค้นหาเต้านมของแม่และจะเริ่มดูดนมจากอกแม่ทันที การโอบกอดลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อบนอกของคุณแม่ในชั่วโมงแรกหลังคลอด มีประโยชน์ต่อทั้งลูกน้อยและตัวคุณแม่เองหลายประการ
ทำไมเ ด็กแรกเกิดต้องการนมแม่เร็วที่สุด
– ควบคุมอุณหภูมิของทารก
– ควบคุมอัตราการหายใจ
– รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
– กระตุ้นพัฒนาการสมอง
นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่าคุณแม่และลูกน้อย โดยลูกแรกเกิดจะเริ่มดูดนม และได้รับน้ำนมแรกจากอกแม่ที่เรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ คอลอสตรัม ซึ่งอุดมไปด้วยแอนติบอดี้และสารอาหาร ที่ถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันแรกของลูกน้อยเลยทีเดียว
ทำไมเด็กแรกเกิดต้องการนมแม่เร็ว ที่สุด
คุณประโยชน์ของคอลอสตรัม
– ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้และการติดเชื้อ
– ช่วยล้างอุจจาระแรก
– ช่วยลดอาการตัวเหลือง
การให้นมแม่ในชั่วโมงแรกหลังคลอด เป็นสิ่งที่สำคัญแม้ว่าคุณจะให้กำเนิดลูกน้อยด้วยการผ่าคลอดก็ตาม หากคุณแม่ทำการผ่าตัดคลอด ควรเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่คุณจะสามารถอุ้มลูกน้อยของคุณไว้แนบอกได้
ทำไมเด็กแ รกเกิดต้องการนมแม่เร็วที่สุด
การให้นมลูกสามารถทำได้ในห้องคลอดทันที และแม้ว่าลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ แต่ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกน้อยได้ทันทีเช่นกัน
ลูกน้อยแรกเกิดต้องการนมแม่บ่อยครั้ง และมักจะหลับบนอกขณะดูดนมเสมอ หากลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด เขาอาจไม่สามารถดูดนมจากอกแม่ได้ แต่คุณแม่ยังคงให้นมแม่ด้วยการปั๊มออกมาให้เขาดื่มได้
ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ คาถาเรียกน้ำนม
แม่ทุกคนสามารถผลิตนมมากพอในสองสามวันแรกหลังคลอด ทารกต้องการนมแม่เพียงเล็กน้อยในแต่ละครั้ง เนื่องจากในวันแรกขนาดกระเพาะอาหารของเขาเล็กเท่าผลองุ่น และจุได้ 5-7 มิลลิลิตรเท่านั้น โดยร่างกายของคุณแม่จึงไม่ได้ผลิตน้ำนมแม่ออกมามากมาย ที่น้ำนมออกมาน้อยเป็นเพราะร่างกายผลิตน้ำนมแม่ตามความต้องการของทารกนั่นเอง การให้ลูกดูดนมบ่อยๆ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้น โดยร่างกายจะรับรู้ว่าเมื่อลูกดูดบ่อย แสดงว่ามีความต้องการมากขึ้น จึงผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในวันต่อๆ มา
ทำไมเด็กแรก เกิดต้องการนมแม่เร็วที่สุด
คุณแม่จะทราบว่าลูกน้อยได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่ โดยดูที่ปัสสาวะสีอ่อน1-2 ครั้งในสองวันแรกคลอด
ในวันที่ 3-4 ลูกน้อยของคุณแม่ต้องการนมประมาณ 22-27 มิลลิลิตร เพราะขนาดกระเพาะของลูกน้อยตอนนี้ใหญ่ขึ้นเท่าลูกมะนาวแล้ว
ในวันที่ 10 กระเพาะของลูกน้อยจุได้ 60-80 มิลลิลิตรในการดูดนมแต่ละครั้ง ร่างกายของคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นตามขนาดของกระเพาะที่ใหญ่เท่าไข่ไก่แล้ว
การให้อาหารอื่นแก่ลูกน้อย ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อลูกน้อยของคุณได้ดังนี้
– เด็กขาดเอนไซม์ในการย่อยอาหารเหล่านั้น
– เด็กมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคภูมิแพ้
– อาจเกิดการติดเชื้อร้ายแรง
– กระเพาะอาหารของทารกไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับน้ำนมแม่
– เด็กน้อยสนใจการดูดนมแม่น้อยลง
– เมื่อลูกไม่ดูดกระตุ้น น้ำนมแม่ก็จะออกมาน้อย
ตลอด 9 เดือนที่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ เขาได้รับสารอาหารจากร่างกายของคุณแม่ หลังคลอดก็เช่นกัน ร่างกายยังคงผลิตอาหารที่พิเศษที่สุดสำหรับลูกน้อยในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องน้ำนมน้อยในช่วงวันแรกๆ นะคะ หากคุณแม่ให้ลูกแรกคลอดดูดนมไว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธีน้ำนมจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเองค่ะ
ที่มา www.pregnancyvideo.net/early-initiation-breastfeeding
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก ก่อนคิดว่านมแม่ไม่พอ
อันตรายถึงชีวิต!! ถ้าลูกสำลักนมแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!