ทัลคัมในแป้งฝุ่น อันตราย เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่
สำหรับสาวๆ ที่ชอบทาแป้งฝุ่นในจุดซ้อนเร้นหลังอาบน้ำใหม่ๆ เพื่อความสบายตัว แต่หารู้ไม่ว่าแป้งที่ใช้ทาอยู่นั้นมีอาจส่วนผสมของ ทัลคัมในแป้งฝุ่น อันตราย ใกล้ตัวสุดๆ เพราะอาจทำให้เป็นมะเร็งรังไข่ไม่รู้ตัวเลยนะ แล้วเจ้า “ทัลคัม” คืออะไร และควรเลือกแป้งฝุ่นประเภทไหน วันนี้มีคำตอบมาให้ค่ะ
เตือน หยุดใช้แป้งฝุ่นในจุดซ่อนเร้น เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่
แป้งฝุ่นโรยตัว มีทัลคัมผสม
ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งส่วนใหญ่จะมีการใช้แร่ทัลคัม หรือ Talcum ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ มีลักษณะเป็นผงสีขาวและพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่แร่ทัลคัมจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตแป้งฝุ่น รวมไปถึงเครื่องสำอางด้วย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดแป้งฝุ่นโรยตัว เป็นเครื่องสำอางควบคุม โดยถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่อาจเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพอนามัยของผู้บริโภค แต่ไม่อยู่ในข่ายเสี่ยงต่ออันตรายรุนแรงจึงไม่ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนเครื่องสำอาง แต่ฉลากต้องมีข้อความที่กฎหมายกำหนด เช่น ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า วันเดือนปี ที่ผลิต วิธีใช้ และปริมาณสารสำคัญและสารควบคุม ซึ่งในแป้งฝุ่นโรยตัวสำหรับเด็กกฎหมายกำหนดห้ามมีส่วนผสมของ กรดบอริก โซเดียมบอเรต เมนทอล การบูรส่วนแป้งฝุ่นโรยตัวทั่วไป อนุญาตให้มีกรดบอริก หรือ โซเดียมบอเรต ได้ไม่เกิน 3 % มีเมนทอลไม่เกิน 1.0 % และมีการบูร ได้ไม่เกิน 1.5 %
เตือนภัยสาวๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ใช้แป้งฝุ่นทางน้องสาว
ทัลคัมในแป้งฝุ่น อันตราย เสี่ยงมะเร็งรังไข่!!!!
หลังจากอาบน้ำสดชื่นแล้ว สาวๆ มักจะชอบใช้แป้งโรยตัวตามข้อพับ ซอกมุมต่าง ๆ เพื่อดูดซับความชื้นทำให้รู้สึกสบายตัว แม้แต่น้องหนูก็ไม่พลาดเพราะทาแล้วรู้สึกแห้งสบาย โปรดฟังทางนี้ ทาแป้งฝุ่นให้น้องหนูเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ นะคะ
ทัลคัมในแป้งฝุ่น อันตราย
คำยืนยันจากแพทย์ถึงอันตรายของแป้งฝุ่น
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขก็ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า จริง ๆ แล้วแร่ทัลคัมหรือ Talcum จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย หากเป็นแร่ทัลคัมบริสุทธิ์ ไม่มีการปนเปื้อนของใยหินหรือวัตถุแปลกปลอมในกระบวนการผลิต ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้พอสมควร จึงมีการตรวจสอบการผลิตอยู่สม่ำเสมอ ทำให้ผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นโรยตัวที่มีขายตามท้องตลาดค่อนข้างมีความปลอดภัย โดยธรรมชาติแล้วแร่ทัลคัมที่พบจากแหล่งหินตามธรรมชาติย่อมมีการปนเปื้อนใยหินอยู่แล้ว จึงไม่สามารถบอกได้ว่าแร่ทัลคัมที่ผสมอยู่ในแป้งฝุ่นรวมถึงแป้งเด็ก จะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ แร่ทัลคัมเป็นสารอนินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ ผู้ที่ใช้แป้งฝุ่นโรยตัวยังคงมีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ ยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลของกระทรวงวิทยาศาสตร์พบว่า การสูดดมผงแป้งในอากาศจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้และมะเร็งปอดในเด็ก ส่วนผู้หญิงที่ใช้แป้งฝุ่นทาจุดซ่อนเร้นเป็นเวลานาน เพราะมีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่ใช้แป้งลดความอับชื้นที่อวัยวะเพศ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า นั่นเพราะอาจเป็นไปได้ที่แป้งจะหลงเข้าไปในร่างกายผ่านช่องคลอด มดลูก และท่อนำไข่ จนเข้าไปสู่ช่องท้อง
รศ.ดร.ไสยวิชญ์ วรวินิต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีแป้ง และนักเทคโนโลยีดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2549 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารทัลคัมว่า “เนื่องจาก ทัลค์ เป็นสารอนินทรีย์ จึงไม่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ดังนั้นการทาแป้งโดยเฉพาะตอนโรยแป้ง ผงแป้งจะลอยในอากาศ หากสูดดมเข้าไปทางลมหายใจเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมเป็นก้อนในปอด ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ในผู้หญิงหากใช้โรยบริเวณจุดซ่อนเร้นเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนั้น ผู้หญิงไม่ควรโรยแป้งบริเวณจุดซ่อนเร้น”
อ่าน อย.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีแป้งฝุ่นโรยตัว คลิก
อย.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีแป้งฝุ่นโรยตัว
อย.ประกาศเตือนเกี่ยวกับสารปนเปื้อนของแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์แป้งทาตัว ดังนี้
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้แร่ใยหินเป็นวัตถุห้ามใช้ในส่วนผสมของเครื่องสำอาง
- พ.ศ.2552 – 2553 จากการสุ่มตัวอย่างเครื่องสำอาง 40 ตัวอย่าง ไม่พบสารปนเปื้อน
- พ.ศ. 2557 – 2558 จากการสุ่มตัวอย่างเครื่องสำอาง 73 ตัวอย่าง ไม่พบสารปนเปื้อน
- นอกจากนี้ได้ออกบทลงโทษกรณีผู้ฝ่าฝืน คือ หากตรวจพบแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
เภสัชกรหญิงสุมาลี พรกิจประสาร ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ภายใต้ อย. เปิดเผยว่า สูตรแป้งฝุ่นในประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนกับ อย. กว่า 300 สูตร มีส่วนผสมของ ทัลค์ (Talc) ทั้งสิ้น จึงมีโอกาสบ้างที่จะมีการปนเปื้อนแร่ใยหินในกระบวนการผลิต ซึ่งจากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนแร่ใยหินหรือแอสเบสทอส ที่มากับแป้งฝุ่น จากข้อมูลปี 2553-2558 มีการสุ่มตรวจตัวอย่างแป้งจำนวน 73 ตัวอย่างในประเทศไทย ไม่พบสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดอันตราย
เภสัชกรหญิงสุมาลี ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แป้งให้เหมาะสม คือ
1. ในเด็กทารกห้ามทาแป้งเยอะจนเกินไป ไม่ทำให้แป้งฟุ้งกระจายเข้าจมูก เพราะอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบได้
2. ผู้หญิงไม่ควรทาแป้งในบริเวณจุดซ่อนเร้น ที่อาจเสี่ยงต่อการสะสม และเป็นส่วนกระตุ้นให้เป็นมะเร็งได้
อันตราย เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ทาแป้งฝุ่นในน้องสาว
ใช้แป้งฝุ่นอย่างปลอดภัย
1. การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นทาตัว ควรเลือกซื้อชนิดที่ภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีรอยบุบ เพราะอาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์หรือสารต่าง ๆ เข้าไปปะปนได้ ตรวจดูฉลาก ดูวัน เดือน ปี ที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า วิธีใช้ ปริมาณสารสำคัญและสารควบคุมที่ชัดเจน มีแผ่นกระดาษกาวหรือแผ่นพลาสติกหุ้มบริเวณฝาที่ใช้เทแป้งว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ ไม่ซื้อแป้งฝุ่นชนิดที่ตักแบ่ง เพราะไม่ถูกสุขลักษณะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อสตาฟิโลคอกคัส ออเรส ซึ่งทำให้เกิดฝี หนอง และสิวได้ เชื้อซาลโมเนลลา เป็นเชื้อที่มีอันตราย ทำให้เกิดอาการไข้และอาหารเป็นพิษ และเชื้อคลอสตริเดียม เชื้อนี้เป็นสาเหตุทำให้เนื้อเยื่อเกิดเน่าตาย และ ทำให้มีการติดเชื้อที่อวัยวะหลายแห่งได้ เป็นต้น
2. หลังใช้แป้งฝุ่นทาตัวทุกครั้ง ควรปิดฝาให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นละออง ที่พลัดตกลงในภาชนะบรรจุ และเก็บแป้งให้เรียบร้อย พ้นจากมือเด็ก เพื่อป้องกันเด็กนำแป้งไปเล่น หรือกินเข้าไปซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้
3. แพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้แป้งทาตัวเด็กที่มีส่วนผสมของสารทัลคัม เพราะอาจก่อให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจและมะเร็งรังไข่ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ควรเลือกใช้แป้งที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น แป้งข้าวเจ้าสตาร์ช (rice starch) แป้งข้าวโพด (corn starch) หรือแป้งสำหรับเด็กแรกเกิด เพราะเป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่เกิดการสะสมในปอดหรือเกิดอาการแพ้ และลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่ด้วย
4. ถ้าพบว่าแป้งฝุ่นทาตัวมีสีและกลิ่นเปลี่ยนไป ควรหยุดใช้ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
5. ถ้าจะใช้แป้งทาที่อื่น ๆ ในร่างกายก็เทแป้งครั้งละน้อย ๆ และพยายามอย่าให้ฟุ้งในอากาศ เพราะจะปนเปื้อนเข้าปอด
6. ทุกครั้งที่ทาแป้ง ก็ควรใช้ทีละน้อย ๆ และทาในบริเวณที่เหมาะสม จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อย่าใช้แป้งฝุ่น ทาจุดซ่อนเร้น
เรื่องน่ารู้มาดูแลน้องหนู (จิ๊มิ)ให้ถูกสุขลักษณะ
1.การดูแลสุขลักษณะบริเวณอวัยวะเพศ และก้นไม่ให้อับชื้นก็คือ การล้างด้วยสบู่อ่อนแล้วล้างน้ำให้หมดสบู่ ตามด้วยการซับให้แห้งก่อนใส่ผ้าอนามัยชิ้นใหม่ และผ้าอนามัยบ่อย ๆ จะได้ไม่เหนอะตัว และไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
2.ถ้ารู้สึกว่ามีอาการแสบคันบริเวณก้นหรืออวัยวะเพศ ให้สังเกตและดูแลเรื่องของความชื้น หรือการแพ้ผ้าอนามัย หรือการใช้สบู่ที่มีความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป หรืออาจมีการติดเชื้อก็ได้ อย่านิ่งนอนใจควรไปปรึกษาแพทย์
3.หากผิวบริเวณจุดซ่อนเร้นแห้งหรือระคายเคืองอาจใช้วาสลีนทาผิวบริเวณนั้นบาง ๆ เพื่อลดการระคายเคือง
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.thaithesims3.com
https://www.matichon.co.th/
https://www.thairath.co.th
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สวนล้างช่องคลอด : อนามัยหรืออันตราย
วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง (จิ๊มิลูกสาว)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!