7 โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ! ดูแลยังไง? ให้ครรภ์ปลอดภัยในฤดูร้อน

lead image

อากาศร้อน แดดจ้า ไม่ค่อยถูกกับคนท้องเท่าไรค่ะ เพราะร่างกายคุณแม่ร้อนมากกว่าปกติอยู่แล้ว มาดูกันว่ามีโรคอะไรที่แม่ท้องต้องระวังในหน้าร้อนนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงหน้าร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ง่ายกว่าปกติค่ะ เนื่องจากร่างกายของแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคที่มากับหน้าร้อนมากขึ้น มาดูกันว่า 7 โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ! มีอะไรบ้าง แล้วจะดูแลครรภ์ยังไง? ให้แข็งแรงและปลอดภัยในฤดูร้อนนี้

 

หน้าร้อน “คนท้อง” ยิ่งร้อน!

โดยปกติแล้วร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะร้อนกว่าคนทั่วไปนะคะ เนื่องจากภาวะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ อาทิ ต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้น ร่างกายต้องเผาผลาญพลังงานมากขึ้น นอกจากนี้ ภายในร่างกายของคนท้องจะมีปริมาณเลือดที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเกิดความร้อนมากกว่าปกตินั่นเอง ซึ่งอาการโดยทั่วไปที่คุณแม่จะสังเกตตัวเองได้คือ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก หงุดหงิด อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ยิ่งในช่วงฤดูร้อนอาการจะยิ่งมากขึ้น และอาจเป็นปัจจัยให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่รวมถึงอาจมีผลกระทบถึงลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วยค่ะ


7 โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง !

เนื่องจากร่างกายของคนท้องนั้นร้อนกว่าปกติอยู่แล้ว ในฤดูร้อนจึงยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่แม่ท้องจะเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะ 7 โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ! ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. โรคลมแดด (Heat Stroke)

หรือที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า “ฮีทสโตรก” เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ได้แก่ ตัวร้อนจัด ไม่มีเหงื่อออก สับสน มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันต่ำ และอาจหมดสติได้ ซึ่งสำหรับคนท้องจะยิ่งมีความเสี่ยงมากเนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการไหลเวียนเลือด ทำให้ควบคุมอุณหภูมิได้ยากขึ้น ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการรักษาอาการฮีทสโตรกอย่างทันท่วงที อาการจะหนักขึ้นถึงขั้นเพ้อ ชัก ไตล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก และเกิดลิ่มเลือดอุดตันจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันและดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคลมแดด

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด หรือกลางแดดจ้า
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยก่อนอากจากบ้านควรดื่มน้ำประมาณ 1-2 แก้ว และควรพกน้ำติดตัวเพื่อจิบบ่อยๆ ระหว่างวัน
  • สวมเสื้อผ้าที่บางเบา สบาย ระบายอากาศได้ดี
  • หากมีอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณของโรคลมแดด ควรรีบเข้าที่ร่ม นอนราบ และยกเท้าสูง คลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามศีรษะ ซอกคอ รักแร้ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์

  1. ภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)

เป็นหนึ่งใน โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ซึ่งมักมาพร้อมโรคลมแดด เกิดจากการสูญเสียน้ำในร่างกายมากเกินไป เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ร่างกายจะขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ ทำให้เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น อาการที่สังเกตได้ เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กระหายน้ำมาก ปากแห้ง
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม
  • การระบายลมหายใจเกิน หรือหายใจติดขัด
  • กล้ามเนื้อหดตัวหรือเป็นตะคริว
  • ของเหลวที่ออกจากร่างกายลดลง เช่น เหงื่อ และปัสสาวะ
  • มีปัสสาวะสีเข้ม
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นโดยไม่มีสัญญาณของการเจ็บป่วยอื่นๆ

สำหรับคนท้อง ร่างกายต้องการน้ำมากขึ้นเพื่อสร้างน้ำคร่ำและรองรับการไหลเวียนเลือดที่เพิ่มขึ้น ภาวะร่างกายขาดน้ำนี้อาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้น นอกจากจะหลีกเลี่ยงการออกแดดจ้าหรืออยู่ในที่ที่อากาศร้อน คุณแม่ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8-12 แก้วต่อวัน และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทั้งชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ รวมทั้งควรออกกำลังกายแบบพอเหมาะและพักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ

ทั้งนี้ หากมีอาการกล้ามเนื้อช่องท้องหดรัดตัว หรือเป็นตะคริวมากกว่า 5-6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง มีเลือดออกทางช่องคลอด มีอาการบวมตามใบหน้าและมือ หรืออาการอื่นๆ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีนะคะ

 

  1. ไข้หวัด

ในช่วงที่อากาศร้อนมากๆ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงในการป่วยเป็นไข้หวัดได้ โดยอาจมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ซึ่งแม้จะไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่หากคุณแม่ไอแรงๆ ความดันในท้องจะเพิ่มขึ้น จนไปกดเบียดมดลูกให้บีบตัว รู้สึกเหมือนท้องตึงขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งหากมีอาการไข้สูงเกินกว่า 38 องศา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากระดับไข้ที่สูงเกินกว่า 40 องศาอาจทำให้เกิดความพิการในทารกได้ค่ะ โดยวิธีป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้หน้าร้อนนี้มีอาการไข้หวัด คุณแม่ท้องควรปฏิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนมากๆ หรือที่แออัด การระบายอากาศไม่ดี รวมถึงสถานที่มีอากาศร้อน หรือมีคนเป็นหวัดซึ่งเชื้อจะกระจายอยู่ในอากาศ หากเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ เปิดเครื่องปรับอากาศพอประมาณ
  • กินผักและผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามินซี
  • หากมีอาการไอ สามารถกินยาแก้ไอที่มีส่วนผสมเป็นยาละลายเสมหะได้ แต่ก่อนที่จะกินยาอะไรก็ตาม แม่ท้องควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้งนะคะ
  • ถ้ามีไข้ ควรเช็ดตัวและดื่มน้ำสะอาดมากๆ สามารถกินยาแก้ไข้พาราเซตามอลได้ แต่ไม่ควรกินยาในกลุ่มยาแก้แพ้และยาแก้อักเสบประเภทแอสไพริน และไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ

 

  1. อาหารเป็นพิษ หรือ อหิวาตกโรค (Cholera)

เป็นอีกหนึ่ง โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ ที่อาจปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม ยิ่งในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น โดยคุณแม่ที่มีภาวะอาหารป็นพิษจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำมาก ปวดท้อง เซื่องซึม ตาโหล ริมฝีปากแห้ง กระหายน้ำมาก ผิวเหี่ยวและแห้ง ปัสสาวะน้อยมาก ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ ทำให้เกิดอาการช็อกได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำในช่วงหน้าร้อนนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอาการอาหารเป็นพิษ หรืออหิวาตกโรค คือ

  • กินอาหารที่ปรุงสุก และมั่นใจว่าสะอาด หลีกเลี่ยงอาหารดิบและอาหารที่เก็บไว้นาน
  • ล้างมือบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังกินอาหาร รวมถึงในการขับถ่ายด้วย
  • กินผักผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ และควรปอกเปลือกผลไม้ด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการกินทั้งเปลือก
  • ระมัดระวังในการกิน ดื่ม ผลิตภัณฑ์จากนม
  • เมื่อมีอาการถ่ายเหลวควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. โรคผิวหนัง

ในช่วงตั้งครรภ์นั้นคุณแม่จะมีความเสี่ยงการเกิดโรคผิวหนังอยู่แล้วเป็นปกติค่ะ โดยเฉพาะโรคผิวหนัง 3 ประเภทหลักๆ คือ โรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน โรคผิวหนังที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ และโรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ พบได้บ่อยทั้งผื่นลมพิษขณะตั้งครรภ์ ผื่นตั้งครรภ์ ผื่นภูมิแพ้ขณะตั้งครรภ์

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจว่าในช่วงฤดูร้อนแบบนี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผิวหนังของคุณแม่ย่อมเพิ่มมากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ผิวหนังไวต่อการระคายเคืองมากขึ้น อาจเกิดผดร้อน กลากเกลื้อน ผื่นแดง คัน มีการระคายเคืองจากเหงื่อและความร้อน ดังนั้น คุณแม่จึงควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี อาบน้ำบ่อยๆ หรือใช้แป้งเด็กเพื่อลดความอับชื้นให้ร่างกายได้ค่ะ

  1. โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของมดลูกที่ขยายขนาดมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่ท้องต้องฉี่บ่อย หากอั้นไว้หรือดื่มน้ำน้อยจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หากคุณแม่มีอาการปัสสาวะ แสบขัด ปวดท้องน้อย แต่ไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้ออาจลุกลามเกิดเป็นกรวยไตอักเสบ มีไข้สูง ปวดเอว นําไปสู่การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ ในช่วงหน้าร้อนนี้คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่อั้นฉี่ และรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศให้ดีด้วยค่ะ

 

  1. โรคเครียดจากอากาศร้อนจัด

อากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทยใครก็รู้ว่าบางวันเสี่ยงมีอุณหภูมิสูงมากถึง 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้คนท้องที่มักมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายอยู่แล้ว ยิ่งหงุดหงิดและเครียดได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ตัวเล็ก และดิ้นมากขึ้น ทั้งนี้ มีการวิจัยของ National Institute of Health พบว่า อากาศร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น 6% เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์ และความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 21% ในสัปดาห์ที่ 36-38 ซึ่งเชื่อว่าภาวะเครียดจากอากาศที่ร้อนจัดอาจขัดขวางการพัฒนาของรก หรือเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูก นำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้

ในช่วงหน้าร้อนนี้เพื่อหลีกหนี โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง อย่างโรคเครียด คุณแม่จึงควรอยู่ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก สวมใส่เสื้อผ้าให้พอเหมาะขนาดท้อง และเลือกผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย รวมถึงอย่าลืมทำตัวเองให้สดชื่น ด้วยการอาบน้ำคลายร้อน หรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง หรือฟังเพลงที่ชอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรมีร่มหรือหมวก และทาครีมกันแดด พักผ่อนให้เพียงพอ และงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากเกินไป สังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย และรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการน่าสงสัย

 

เพื่อป้องกันอันตรายจาก โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ทั้ง 7 โรคเหล่านี้ คุณแม่ควรใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเอง หลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด พกร่มหรือหมวก และทาครีมกันแดด ดื่มน้ำให้เพียงพอ สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ และต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตัวเอง เพราะเมื่อมีอาการน่าสงสัยจะได้ปรึกษาแพทย์อย่างทันท่วงที เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นะคะ

 

ที่มา : www.patrangsit.com , hellokhunmor.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องไอกินอะไรถึงหาย คนท้องไอบ่อย อันตรายมั้ย แก้ไขยังไงดี?

โฟลิก ห้ามกินพร้อมอะไร ? วิตามินบำรุงครรภ์ที่แม่ท้องต้อง “กินเป็น”

ปวดฟันคุดตอนท้อง ผ่าได้ไหม? คนท้องทำฟันช่วงไหนปลอดภัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี