TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดฟันคุดตอนท้อง ผ่าได้ไหม? คนท้องทำฟันช่วงไหนปลอดภัย

บทความ 5 นาที
ปวดฟันคุดตอนท้อง ผ่าได้ไหม? คนท้องทำฟันช่วงไหนปลอดภัย

ถ้าคุณแม่เป็นแม่ท้องคนหนึ่งที่กำลังมีปัญหาสุขภาพฟัน โดยเฉพาะอาการปวดฟันคุด อย่าเพิ่งผ่านเลยไปค่ะ แวะมาดูวิธีแก้ไขแบบปลอดภัยกันหน่อย

เรื่องเกี่ยวกับ “ฟัน” เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ต้องได้สัมผัสค่ะ โดยเฉพาะอาการปวดฟัน ฟันผุ ปวดฟันคุดตอนท้อง ซึ่งเมื่อบรรดาอาการปวดถาโถม ความกังวลใจเกี่ยวกับการใช้ยาบรรเทาปวดรวมถึงสงสัยเรื่องความเสี่ยงในการผ่าฟันคุดขณะตั้งครรภ์ก็ตามมา วันนี้เราจะมาไขข้อกวนใจนี้ให้คุณแม่กันว่าหากปวดฟันคุดในระหว่างตั้งครรภ์ ควรจัดการยังไง? คนท้องทำฟันได้ตามปกติมั้ย ทำฟันแบบไหนปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์มากที่สุด

ปวดฟันคุดตอนท้อง

 

▲▼สารบัญ

  • ทำไม? ปวดฟันคุดตอนท้อง
  • อาการที่พบบ่อยเมื่อ ปวดฟันคุดตอนท้อง
  • ปวดฟันคุดตอนท้อง จัดการยังไงให้ปลอดภัย?
  • ปรึกษาทันตแพทย์
  • บรรเทาอาการปวดเบื้องต้น
  • ดูแลสุขภาพช่องปาก
  • คนท้องทำฟันได้ไหม? ปวดฟันคุดตอนท้อง ควรผ่าหรือเปล่า?
  • ระยะตั้งครรภ์ กับการทำฟันของคุณแม่

ทำไม? ปวดฟันคุดตอนท้อง

ก่อนจะไปดูวิธีจัดการปวดฟันคุดตอนท้อง มารู้จัก “ฟันคุด” กันดีกว่าว่าคืออะไร

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติค่ะ อาจเพราะมีการอุดกั้นของกระดูกหรือเหงือก ซึ่งโดยปกติเราจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อฟันคุดพยายามขึ้น ผ่านเหงือกหรือกระดูกที่บังอยู่ ทำให้บางคนรู้สึกเจ็บและบวมในบริเวณนั้น และสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการปวดฟันคุดอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่อาจทำให้เหงือกบวมและไวต่อการระคายเคือง

โดยคุณแม่อาจเป็น “โรคเหงือก” ได้ตั้งแต่ ระดับเหงือกอักเสบธรรมดา ไปจนถึงเหงือกอักเสบร่วมกับเอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟันอักเสบ เนื่องจากในช่วงอายุครรภ์ 2 เดือนขึ้นไป หลอดเลือดจะไปเลี้ยงบริเวณเหงือกมากกว่าปกติ เหงือกจึงอักเสบได้ง่าย

รวมทั้งคุณแม่อาจจะพบโรคในช่องปากอื่นๆ ระหว่างตั้งครรภ์ด้วย อาทิ

  • ฟันกร่อน เนื่องจากกรดที่ออกมากับอาเจียนระหว่างแพ้ท้อง
  • ฟันผุ จากพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนไป ที่อาจลุกลามทะลุโพรงประสาทฟัน จนถึงอวัยวะรองรับรากฟัน ซึ่งสาเหตุที่แม่ท้องฟันผุง่าย เพราะคนท้องมักหิวบ่อย จึงกินบ่อย กินจุบจิบ กินอาหารรสเปรี้ยวจัดเพื่อลดอาการแพ้ท้อง ทำให้ฟันสัมผัสกับอาหารบ่อยขึ้น เศษอาหารติดตามซอกฟัน มีกรดเพิ่มขึ้น จึงเกิดการกัดกร่อนของฟัน
  • การเปลี่ยนแปลงของกระดูกเบ้าฟัน ที่เกิดจากฮอร์โมนและปริมาณหินปูน ทำให้เกิดโรคปริทันต์และฟันโยกมากกว่าปกติ
  • โรคเหงือกอักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนและคราบจุลินทรีย์ชนิดเนื้องอก ในไตรมาสที่ 2 และ 3 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ จะทำให้เหงือกบวมแดง อักเสบ และเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน แม่ท้องบางคนจึงไม่ค่อยกล้าแปรงฟัน แปรงไม่ทั่ว ไม่สะอาดเพียงพอ เกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์ติดตามคอฟัน สะสมนานเข้ากลายเป็นหินปูน ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะคลอดก่อนกำหนด เพราะมีเชื้อโรคเข้ากระแสเลือดไปกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกก่อนกำหนดได้

อาการที่พบบ่อย ในคุณแม่ที่ปวดฟันคุด

อาการที่พบบ่อยเมื่อ ปวดฟันคุดตอนท้อง

  • ปวดบริเวณกรามหรือเหงือก โดยเฉพาะบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย
  • เหงือกบวมแดง อักเสบ หรือมีหนอง
  • มีกลิ่นปาก
  • ปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร
  • อาจมีไข้หรือต่อมน้ำเหลืองโตในบางราย

 

ดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกัน ปวดฟันคุดตอนท้อง

ปวดฟันคุดตอนท้อง จัดการยังไงให้ปลอดภัย?

  1. ปรึกษาทันตแพทย์

สิ่งสำคัญอันดับแรกสุดเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดฟันคุด คือ การปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมค่ะ โดยทันตแพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการและเลือกวิธีการรักษาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์

  1. บรรเทาอาการปวดเบื้องต้น

อาจทำได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อลดอาการอักเสบ หรือประคบเย็นบริเวณแก้มเพื่อลดอาการบวม แต่ต้องระวังไม่ให้สัมผัสโดยตรงกับผิวหนังในระยะเวลานานเกินไป รวมถึงการกินยาแก้ปวดที่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินหรือยากลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโปรเฟน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

  1. ดูแลสุขภาพช่องปาก

การทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี ดูแลช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อหรือการอักเสบที่อาจเกิดจากฟันคุดค่ะ ดังนั้น แนะนำว่าคุณแม่ควรแปรงฟันอย่างอ่อนโยน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงของแปรงสีฟัน รวมถึงควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงด้วยค่ะ

 

คนท้องทำฟัน ได้ไหม

คนท้องทำฟันได้ไหม? ปวดฟันคุดตอนท้อง ควรผ่าหรือเปล่า?

คนท้องสามารถทำฟันได้นะคะ เพียงแต่ต้องระมัดระวังในบางขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงต้องพิจารณาเกี่ยวกับ “ระยะการตั้งครรภ์” ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับการทำฟันด้วย เพราะบางช่วงเวลาการทำฟันของแม่ท้องอาจเสี่ยงต่ออันตรายต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ โดยอายุครรภ์ที่เหมาะสำหรับจัดการปัญหาเรื่องฟันคุด และสุขภาพฟันอื่นๆ ของคุณแม่คือช่วงไตรมาส 2 หรืออายุครรภ์ 4-6 เดือนค่ะ

 

ระยะตั้งครรภ์ กับการทำฟันของคุณแม่

ตั้งครรภ์ 1-3 เดือน
  • ยังไม่ควรทำฟัน เพราะคุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง อาเจียน การทำฟันอาจกระตุ้นให้อาเจียนมากขึ้น ซึ่งน้ำย่อยจากกระเพาะมีฤทธิ์เป็นกรดและจะทำลายผิวเคลือบฟัน
  • ช่วงนี้ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาอวัยวะสำคัญ การฉีดยาชา หรือการใช้รังสีเอกซเรย์อาจมีผลต่อพัฒนาการของทารกได้
อายุครรภ์ 4-6 เดือน
  • ทารกในครรภ์มีการพัฒนาอวัยวะครบถ้วนแล้ว คุณแม่จึงสามารถทำฟันได้
  • หัตถการอย่างถอนฟัน ผ่าฟันคุด หรือการทำศัลยกรรมในช่องปากสามารถทำได้ โดยทันตแพทย์จะพิจารณาถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของการถอนฟัน ผ่าฟันคุดในช่วงตั้งครรภ์
  • สามารถอุดฟันได้หากจำเป็น แต่ควรแจ้งทันตแพทย์ว่ากำลังตั้งครรภ์ เพื่อเลือกวัสดุอุดฟันที่ปลอดภัย
ไตรมาสสุดท้าย 7-9 เดือน
  • เป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการทำฟัน เพราะขนาดครรภ์ไม่เอื้อต่อการนั่งหรือนอนบนเก้าอี้ทำฟัน

แม่ท้องกินบ่อย ทำให้ต้องดูแลฟันเป้นพิเศษ

การปวดฟันคุดในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และจัดการได้ แต่คุณแม่ควรเลือกวิธีการรักษาที่ปลอดภัยโดยการปรึกษาทันตแพทย์ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาและวิธีการรักษาที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ควรทำฟันในช่วงที่เหมาะสมและใช้วิธีการที่ปลอดภัยตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่และทารกในครรภ์ปลอดภัยที่สุดและควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบถึงยาหรืออาหารเสริมที่กำลังกินด้วย หากมีอาการผิดปกติหลังการทำฟัน เช่น มีไข้สูง ปวดบวมมาก หรือมีเลือดออกไม่หยุด ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที

 

ที่มา : www.bangpakok3.com , www.doctor.or.th , www.patrangsit.com , thailanddentalclinic.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

คนท้องเป็นตะคริว ต้องกินอะไร ? วิธีป้องกันและบรรเทาอาการ

คนท้องขึ้นเครื่องบิน กี่เดือนห้ามบิน! วิธีเตรียมพร้อมให้แม่ท้องเดินทางปลอดภัย

ตั้งครรภ์ทาเล็บได้ไหม คุณแม่มือใหม่อยากสวย ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ปวดฟันคุดตอนท้อง ผ่าได้ไหม? คนท้องทำฟันช่วงไหนปลอดภัย
แชร์ :
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

powered by
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว