ลูกดื้อมาก ตอนอายุ 3-6 ปี ชอบเล่นซุกซน บอกอะไรก็ไม่ฟังเป็นเพราะอะไร? จริง ๆ แล้วเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะชอบเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างก้าวหน้า รู้จักการใช้ชีวิตในสังคมที่มีมากกว่าพ่อและแม่ แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกเราซนตามวัย หรือเป็นเด็กดื้อด้านกันแน่พ่อแม่สามารถดูได้จากพัฒนาการและการเจริญเติบโตตามวัย
เรียนรู้ความดื้อของเด็กตามช่วงวัย
เด็กในช่วงวัยตามที่กล่าวไป จะมีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ โดยมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีล่ะ 2-2.5 กก. และมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นปีละ 6-8 ซม. เด็กจึงมีดูผอมและสูง กล้ามเนื้อต่าง ๆ ดูใหญ่ขึ้น มีการควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดี จึงทำให้เด็ก ๆ ชอบที่จะห้อยโหนและปีนป่ายมาก ๆ ถ้าลูกบ้านไหนชอบที่จะปีนต้นไม้ ปีนกำแพง ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเขามีพัฒนาการตามวัยนั่นเอง นอกจากนี้ เด็กก็จะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ได้แก่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ความสัมพันธ์และพัฒนาการของเด็ก เด็กวัย 0-5 ปี สำคัญอย่างไร
วิดีโอจาก : หมอทีม Dr. Team
วัย 3 ขวบ
หนูน้อยวัยนี้จะสามารถที่ยืนขาเดียวได้ถึงแม้จะเป็นเวลาชั่วครู่ก็ตาม และยังชอบวิ่งซนแล้วหมุนตัวโดยที่ไม่ให้ตัวเองล้ม บางทีก็ชอบที่จะเล่นบันไดโดยการเดินขึ้นแบบสลับเท้า และยังสามารถขี่จักรยานสามล้อได้แล้ว แล้วยังชอบที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น เล่นบทบาทสมมติที่ซับซ้อนขึ้น จึงไม่แปลกถ้าลูกน้อยจะเริ่มติดเพื่อน สามารถต่อของเป็นแนวตั้งได้ 8 ชิ้น หรือมากกว่า ทั้งยังเลียนแบบการวาดรูปวงกลมด้วย
สำหรับทักษะการพูดเด็กจะเริ่มที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ และเริ่มที่จะเข้าใจมีสิ่งที่พ่อแม่กำลังบอกถึงแม้จะไม่เข้าใจทั้งหมดก็ตาม สามารถบอกได้ว่าเมื่อไหร่ที่อยากจะขับถ่าย บอกชื่อตัวเอง เพศ หรืออายุได้บ้าง ทั้งยังเข้าใจการกระทำบางอย่าง เช่น หมากำลังวิ่ง เด็กกำลังกิน เข้าใจคำเกี่ยวกับร้อน เย็น เหนื่อย บน ใน และสีอย่างน้อย 1-2 สี
วัย 4 ขวบ
คราวนี้ สามารถกระโดดขาเดียวได้แล้ว แล้วยังเดินลงบันไดสลับเท้าได้ด้วย ทั้งยังชอบปีนป่ายเห็นอะไรก็อยากจะปีนไปซะหมด พ่อแม่อย่าได้เผลอเชียวเดี๋ยวลูกน้อยจะประสบอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้น้องยังสามารถต่อแท่งไม้ 3 ชิ้นเป็นสะพานได้ สามารถวาดรูปวงกลมตามแบบโดยใช้สองเส้นตัดกัน และเริ่มที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นการใส่กางเกง หรือการใส่เสื้อ และเริ่มเล่นกับอื่นโดยมีกฎกติกาเล็ก ๆ ได้
เด็กวัยนี้จะเริ่มเล่าเรื่องเป็นประโยคยาว ๆ บอกสีได้ทั้งหมด นับจำนวนได้อย่างถูกจ้อง เรียงลำดับการนับได้ โดยที่มีจำนวนไม่เกิน 10 ชิ้น ทั้งยังมีนิสัยชอบถาม เช่น อย่างไร ทำไม พ่อแม่ได้เหนื่อยกับเจ้าหนูแน่ ๆ เข้าใจที่บอกว่าจำนวนหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งได้ และรู้จักคำว่าด้านหน้า ด้านล่าง ด้านใต้ เป็นต้น
่
วัย 5 ขวบ
วัยนี้ความซนเพิ่มขึ้นไปอีก พ่อแม่คงปวดหัวเพิ่มแน่ ๆ เพราะลูกจะชอบกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ย ๆ ได้ และชอบกระโดดสลับเท้า หรือชอบที่จะเดินทับเส้นหรือเดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงโดยที่พยายามไม่ให้ตัวเองล้ม แถมยังสามารถเริ่มที่จะใช้กรรไกรตัดกระดาษได้ พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอันตราย
นอกจากนี้ เด็ก ๆ จะเข้าใจคำพูดทั้งหมด รู้จักความหมายของคำ แล้วจะเริ่มถามคำถามที่เกี่ยวกับคำถามว่า อย่างไร ทำไม ได้ บอกพยัญชนะบางตัวได้ ทั้งยังเริ่มที่จะร้องเพลงสั้น ๆ ถ้าพ่อแม่เห็นลูกน้อยกำลังฮัมเพลงแต่ไม่ค่อยรู้เรื่องถือว่าเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งยังเข้าใจคำถามเกี่ยวกับคำว่าเมื่อไร เข้าใจซ้าย-ขวา เล็ก-ใหญ่ ยาว-สั้น
วัย 6 ขวบ
หนูน้อยวัยนี้จะเริ่มเล่นอะไรที่เกี่ยวกับการทรงตัวมากขึ้น เช่น การเดินบนส้นเท้า ส่วนกิจกรรมกีฬาที่สามารถเล่นได้คือ การรับโยนลูกบอลไปมา รวมถึงการกระโดดได้ประมาณ 120 ซม. ชอบที่จะแต่งตัวเองหรือเตรียมอาหารเองง่าย ๆ โดยไม่มีคนช่วย คุณแม่คนไหนที่เห็นว่าลูกอยากจะช่วยทำอาหารหรืออยากจะแต่งตัวเองก็อย่าไปห้ามนะ ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองบ้าง
ไม่เพียงแค่นั้นยังรู้จักลำดับเหตุการณ์ได้ เช่น เรื่องไหนเกิดขึ้นตั้งแต่อดีต เรื่องไหนที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เข้าใจพยัญชนะแต่ละตัว และสัญลักษณ์ตัวเลขต่าง ๆ สามารถบอกความแตกต่างของสิ่งของ 2 สิ่งได้ ดังนั้น พ่อแม่ลองหาคำถามฝึกการใช้เหตุผลและความคิดของลูกน้อยได้นะ ทั้งยังสามารถบอกจำนวนนับรวมทั้งหมดได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
พ่อแม่คนไหนที่มีลูกน้อยอยู่ในช่วงวัยนี้ ถ้าลูกจะซนชอบปีนป่าย ลูกดื้อมาก พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ชอบถาม อยากทำนู้นทำนี่ เป็นเรื่องปกติของวัยที่อยากรู้อยากเห็น เพียงแต่คุณแม่ต้องปรับตัวเองและวิธีการเลี้ยงลูกให้ตรงกับพัฒนาการให้มากที่สุด และที่สำคัญต้องคอยตักเตือนลูก ๆ ให้ดี เพราะการเล่นอย่างประมาทอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงได้นะ แต่ถ้าคิดว่าลูกเราดื้อเกินไปอยากจะสอนลูกต้องทำอย่างไรเรามีวิธีมาฝากกัน
วิธีจัดการเมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟัง
มีสิ่งสองสิ่งที่คุณต้องจำใส่ใจเอาไว้ในการจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง สิ่งเหล่านั้นคือ “ทันที” และ “อย่างชัดแจ้ง” โดยพ่อแม่ต้องสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. จัดการทันที
เมื่อลูกดื้อพ่อแม่อย่าขู่ เช่น “รอพ่อกลับมาบ้านก่อนเถอะ” หรือ “รอให้ออกจากร้านก่อนเถอะ” เนื่องจากว่าเมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟังขึ้นมา ก็ต้องได้รับการอบรมหรือโดนทำโทษ คุณต้องให้ลูกได้เรียนรู้โดยทันทีว่า ผลของการกระทำที่ไม่ดีเป็นอย่างไร เราจะไม่โต้เถียงกัน เรื่องการตีก้นลูกในตอนนี้ แต่ไม่ว่าการลงมือทำนั้นจะเป็นการแยกให้ลูกไปนั่งคนเดียวกับเก้าอี้ เพื่อให้ลูกหยุดทำอะไรบางสิ่ง หรือออกจากสถานที่ใดที่หนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การห้ามไม่ให้เล่นของเล่น กินของว่าง หรืออะไรก็ตาม คุณต้องลงมือทำทันที มิฉะนั้นความสำคัญของการพยายามสร้างวินัยให้กับลูก จะลดทอนลงไปตามกาลเวลา (แม้แต่กับเด็กที่โตขึ้นแล้ว)
2. ทำอย่างชัดแจ้ง
การลงโทษเด็กดื้อ ต้องทำกันอย่างชัดแจ้ง และการลงโทษนั้นต้องเหมาะสม กับความผิดที่ลูกกระทำลงไป เช่น หากลูกน้อยวัยสี่ขวบไม่ยอมกินข้าว พ่อแม่อาจจะทำโทษลูกโดยการทิ้งหรือเอาให้แมวกินแทน หรือให้ลูกงดอาหาร ขนมที่ตัวเองชอบไปซะ หากลูกวัยหกขวบไม่ยอมเก็บของเล่นที่เล่นแล้ว คุณก็ยึดของเล่นลูกไปเลยจะได้ไม่มีอะไรต้องเก็บ แต่ถ้าลูกที่ยังเล็กไปดื้อในพื้นที่สาธารณะ เช่น พยายามวิ่งพล่านไปมา หรือแสดงอาการหยาบคาย พ่อแม่ต้องรีบนำลูกออกจากสถานที่เหล่านั้น หรืออุ้มลูกไว้ หรือจับใส่รถเข็นเด็กไปเลย
3. เด็กดื้อต้องใช้สิ่งทดแทน (Alternative response)
เวลาห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ควรสอนเด็กไปด้วยว่าสิ่งไหนที่ทำแทนได้ เช่น เด็กเล่นของแหลมอยู่จะเอาจากมือเด็กก็ให้เอาของอื่น ที่น่าสนใจกว่ามาให้เด็กแทน ไม่ควรหยิบของแหลมจากมือเด็กเฉย ๆ ซึ่งเด็กจะร้องอาละวาดต่อ
5. เด็กดื้ออาจต้องการรางวัล (Positive reinforcement)
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว เพื่อให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นอีกไม่หายไป ผู้ใหญ่ควรให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมนั้นอาจเป็นการกล่าวชมด้วยวาจา แสดงกิริยาชื่นชมพอใจในพฤติกรรมนั้น เช่น โอบกอด ลูบหัว ปัญหาคือผู้ใหญ่มักจะละเลยไม่กล่าวคำชมเชยเด็ก เพราะเห็นเป็นพฤติกรรมธรรมดา ๆ เช่นเด็กยอมแปรงฟันเอง แต่งตัวเอง แต่จะดุว่าหรือติเตียนเด็กเมื่อเด็กไม่ยอมช่วยตัวเอง การให้รางวัลเด็กอาจให้ได้อีกแบบคือ ให้เมื่อเด็กหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
6. เด็กดื้ออาจต้องใช้การเลิกให้ความสนใจ (Ignoring)
เป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน ที่ต้องการได้รับความสนใจจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
เราอาจใช้วิธีเลิกให้ความสนใจ ขณะที่เด็กกำลังกระทำพฤติกรรมนั้น และให้ความสนใจหรือให้รางวัลกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่เราต้องการแทน
7.การลงโทษเด็กดื้อ (Punishment)
โดยทั่วไปจะพยายามไม่ใช้การลงโทษ นอกจากวิธีอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผลสิ่งสำคัญที่สุดคือเวลาใช้การทำโทษนี้ผู้ใช้ต้องไม่ใช้ด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด ไม่ชอบเด็ก เพราะจะทำให้เด็กยิ่งต่อต้าน เวลาใช้ควรแสดงให้เด็กเห็นว่า เราต้องการเพียงหยุดพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น และพร้อมที่จะหยุดการลงโทษเมื่อเด็กคิดว่าสามารถควบคุมตัวเองให้ไม่ประพฤติไม่เหมาะสมอีก การลงโทษมีตั้งแต่เบา ๆ จนไปถึงระดับที่รุนแรงขึ้น
วิธีการเหล่านี้ หากพ่อแม่ ได้ใช้กับลูกอย่างสมเหตุสมผลก็จะทำให้ลูกน้อยดื้อลดน้อยลง เพราะพวกเขาสามารถรับรู้ได้ว่าพ่อแม่ดุจริง ไม่ได้แกล้งขู่ให้ตัวเองหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นเหมือนเมื่อก่อน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แค่ปล่อยให้ลูกเล่นสกปรกจริงหรอ!
อยากให้ลูกฉลาด ความจำดี เรียนรู้เร็ว ออกกำลังกายสิแบบนี้สิ!
นิสัยของลูกคนโต คนกลาง คนเล็ก และลูกคนเดียว พี่น้อง นิสัย เหมือนหรือต่างกัน
ที่มา : thaipediatrics
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!