โรงบาลเด็กลูกพูดช้า แก้ปัญหาด้านการพูด รวมคลินิกเด็กพูดช้าในกรุงเทพ

โรงบาลเด็กลูกพูดช้า สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการแก้ปัญหาด้านการพูด และตรวจเช็กพัฒนาการด้านอื่น ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะในกรุงเทพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรงบาลเด็กลูกพูดช้า มักตั้งอยู่เป็นแผนกหรือคลินิกในโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาการพูดของเด็กกับนักแก้ปัญหาด้านการพูดหรือนักฝึกพูดโดยเฉพาะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปเช็คพัฒนาการพูด หรือพัฒนาการอื่น ๆ ของขอแนวทางแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้คล่อง

ลูกเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่ สังเกตจากอะไร

โดยทั่วไปแล้วเด็กที่อายุ 1 ปีขึ้นไป จะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 1 คำได้ พอโตขึ้นอายุเข้า 2 ขวบ จะพูด 2 คำที่มีความหมายได้ มีความเข้าใจ และสามารถสื่อสารได้ หากลูกของคุณเป็นเด็กพูดช้าจะไม่สามารถพูดคำที่มีความหมาย 1 คำเมื่ออายุ 18 เดือน หรือพูดคำ 2 คำต่อกันไม่ได้เมื่ออายุ 2 ปี หรือไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ไม่พูดเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ ได้เมื่ออายุ 3 ปี นั่นเอง ซึ่งมีความจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของลูกพูดช้า

ปัญหาลูกพูดช้าสามารถแก้ไขได้ ยิ่งพ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะปัญหาด้านการพูดสามารถพบได้ตั้งแต่ขวบปีแรก เนื่องจากการพูดเป็นส่วนหนึ่งของลำดับชั้นพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเด็กจะสามารถพูดคุย สื่อสาร และใช้ภาษาได้ดีเหมือนผู้ใหญ่เมื่อลูกน้อยมีอายุ 7 ปี ขึ้นไป และหลังจากนั้น สมองด้านการพัฒนาทักษะการพูดก็จะหยุดลงด้วย ดังนั้นคุณแม่จึงต้องสังเกตอาการของลูก และเมื่อรู้แล้วจึงควรเข้ารับการรักษาให้เร็วก่อนช่วงอายุดังกล่าว

 

5 โรงพยาบาลสำหรับเด็กพูดช้า ในกรุงเทพ

  1. คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ - มีคลินิกพัฒนาการเด็ก ช่วยประเมินความผิดปกติทางภาษาและการพูด โปรแกรมการตรวจเช็กพัฒนาการเด็ก
  2. ศูนย์เด็กพิเศษ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท - มีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมสำหรับผู้ปกครอง ผู้ดูแล เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการเด็กแต่ละรายโดยเฉพาะ
  3. คลินิกพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี - มีโปรแกรมที่ช่วยบำบัดเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าแบบรอบด้าน
  4. คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลมหิดล - คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็กบำบัดและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้สมวัย พัฒนาการล่าช้า
  5. ศูนย์พัฒนาทักษะการเรียนรู้ โรงพยาบาลมนารมย์ - โปรแกรมการบำบัดด้านพัฒนาการับรู้และการเคลื่อนไหว และโปรแกรมการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคล

 

1. คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

คลินิกพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ จะช่วยประเมินความผิดปกติทางภาษาและการพูด เพื่อทำการคัดกรองและตรวจหาสาเหตุของการพูดช้าในเด็ก รวมถึงทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดต่าง ๆ เพื่อที่ผู้เชี่ยวชาญจะได้ทำการแยกประเภทความผิดปกติ ก่อนที่จะไปแก้ไขและฟื้นฟู ผ่านการให้คำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

สำหรับเด็กที่ปัญหาพัฒนาการทางภาษาล่าช้า พูดไม่ชัด พูดไม่คล่อง เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการประเมินในด้านความเข้าใจภาษา การแสดงออกทางภาษา อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง เช่น ริมฝีปาก ลิ้น จากนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย และได้รับการกระตุ้นโดยผ่าน กิจกรรมและสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา

นอกจากนี้ คลินิกยังมีโปรแกรมการตรวจเช็กพัฒนาการเด็ก เพื่อคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้นในแต่ละวัย ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน เช่น เครื่องมือ ASQ และ เครื่องมือ Denver II เป็นต้น จากทีมบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่

  • จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
  • กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม
  • นักกิจกรรมบำบัด
  • นักแก้ไขการพูดหรือครูการศึกษาพิเศษที่ช่วยด้านการปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กที่เกิดปัญหาให้กลับมาเป็นปกติและเติบโตสมวัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ศูนย์เด็กพิเศษ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

โรงพยาบาลมีศูนย์เด็กพิเศษ (Special Needs Child Center) ที่ดำเนินการโดยดาวน์ซินโดรม ปัญหาด้านอารมณ์และการเรียนรู้ เป็นต้น

ทั้งยังมีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมสำหรับผู้ปกครอง ผู้ดูแล เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการเด็กแต่ละรายโดยเฉพาะ มีการฝึกพัฒนาการและบำบัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น การฝึกพูด (Speech Therapy) การกระตุ้นพัฒนาการ และการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบการศึกษาพิเศษ โดยเจ้าหน้าที่พยาบาล นักจิตวิทยา, นักจิตวิทยาคลินิก, นักศิลปะบำบัด, ครูดนตรี และครูการศึกษาพิเศษ ที่มีประสบการณ์ชำนาญเฉพาะทาง เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกดีขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. คลินิกพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

คลินิกของที่นี่จะช่วยดูแลเด็กที่มีพฤติกรรมผิดปกติ หรืออาการที่เกี่ยวข้องทางจิตวิทยา เช่น ออทิสติก (ASD) โรคสมาธิสั้น (ADHD) ความบกพร่องทางการเรียนรู้ การพูดช้า และความบกพร่องทางสติปัญญา (ID) นอกจากนี้ ยังช่วยให้ความรู้ในการดูแลลูกน้อยให้แก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

สำหรับกิจกรรมบำบัดในคลินิกความบกพร่องทางร่างกายนั้น ทางคลินิกจะให้การรักษาแก่เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะการใช้มือ การกลืน การวางแผน และการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งยังมีโปรแกรมที่ช่วยบำบัดเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าแบบรอบด้าน พัฒนาการทางภาษาล่าช้า โรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องของทักษะการเขียน พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก พฤติกรรมรังแกผู้อื่น โรคสมองพิการ รวมถึงมีการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กเพื่อส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟู เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและมีความต้องการพิเศษด้วย

 

4. คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลมหิดล

คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ให้บริการด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีปัญหาอ่อนแรงกล้ามเนื้อ เด็กสมาธิสั้น เด็กสมองพิการ เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เพื่อบำบัดและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้สมวัยในเด็กที่มีปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เด็กสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เพื่อให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตและทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองตามขีดความสามารถของเด็กจะทำได้ ผ่านการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยห้องบูรณาการระบบประสาทและสมอง (Snoezelen Room)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ศูนย์พัฒนาทักษะการเรียนรู้ โรงพยาบาลมนารมย์

การจัดโปรแกรมการศึกษาพิเศษโดยนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด นักบำบัดทางการพูดและภาษา ครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรแกรม คือ โปรแกรมการบำบัด และโปรแกรมการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคล

โดยโปรแกรมการบำบัด จะช่วยในด้านพัฒนาการับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory Integration) เช่น พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น มีการส่งเสริมทักษะทางภาษา(เฉพาะบุคคล) เพื่อแก้ไขความบกพร่องทางการรับสารและสื่อสารของเด็ก โดยเน้นถึงกระบวนการปฏิบัติตามคำสั่ง ความเข้าใจ และจากสิ่งที่ได้รับฟังหรืออ่าน การเขียน การสะกดคำ ทักษะการถามและอธิบายเหตุผล และการฝึกทักษะทางสังคม เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ส่วนโปรแกรมการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคล เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิชาการพื้นฐานด้านการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาที่เป็นวิชาหลักโดยครูการศึกษาพิเศษ จะเน้นการปรับวิธีการเรียน (Learning style) และหลักสูตรให้สอดคล้องกับศักยภาพของเด็ก โดยยึดมาตรฐานสากลของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกน้อยพูดช้า…เพราะหน้าจอ วิจัยเผยหน้าจอเป็นต้นเหตุให้ลูกพูดช้า

ฝึกลูกพูด ด้วย 10 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อยากให้ลูกพูดเก่งทำอย่างไร

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง? เช็กเลย! แบบนี้โตตามเกณฑ์ชัวร์

ที่มา ekachaihospital

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

khunsiri