TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กวัยแรกเกิด

บทความ 5 นาที
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กวัยแรกเกิด

วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กว่าแต่ละส่วนอยู่ตรงไหนของร่างกายกันบ้าง เนื่องจากกล้ามเนื้อของลูกน้อยจะถูกพัฒนาไปตามวัยของเด็ก ๆ และนอกจากนี้เราก็มีวิธีสังเกตพัฒนาการของกล้ามเนื้อมาฝากกันด้วยค่ะ ว่ากล้ามเนื้อของลูกน้อยมีความผิดปกติหรือไม่ มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำ คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี โดยให้ข้อมูล พัฒนาการของเด็กอายุ 0-3 ปี พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

 

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

 

ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่

กล้ามเนื้อมัดใหญ่จะพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกัน เช่น

  • ชันคอ (1-3 เดือน) ได้ก่อน
  • พลิกคว่ำ/หงาย (4-5 เดือน)
  • นั่งได้ (5-7 เดือน)
  • คลานและเกาะยืน (7-9 เดือน)
  • เกาะเดิน (10 เดือน)
  • ยืนเอง (12 เดือน)
  • เดินได้เอง (12-15 เดือน)
  • วิ่ง (18 เดือน)
  • เกาะราวขึ้นบันไดหรือเตะบอล (19-21 เดือน)
  • ก่อนเดินลงบันไดพร้อมเกาะราวหรือขว้างลูกบอล (2 ปี)

ซึ่งจะเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่จะพัฒนาจากส่วนหัวไปสู่ส่วนขา ในขณะที่เด็กปกติบางรายอาจข้ามพัฒนาการบางขั้นตอนไปได้ เช่น หลังจากที่ลูกนั่งได้ลูกอาจไม่คลาน แต่จะเริ่มคุกเข่า แล้วเกาะยืนได้เลย เป็นต้น

 

พ่อแม่ที่ช่วยเหลือลูกมากจนเกินไป เช่น ไม่ค่อยให้ลูกนอนคว่ำเมื่อตื่นนอน อุ้มตลอดเวลา หรือไม่ให้โอกาสลูกในการเคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวล่าช้าได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกมีโอกาสเคลื่อนไหว และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของตนเองตามวัย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกใช้รถหัดเดิน เพราะนอกจากไม่ได้ช่วยลูกให้เดินได้ด้วยตัวเอง แต่กลับยิ่งทำให้ มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าได้ ลูกมักเดินด้วยปลายเท้า เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

 

วิธีสังเกตว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ

  • อายุ 5 เดือน แล้วยังคอไม่แข็ง
  • หรือมีพัฒนาการไวเกินไป เช่น พลิกคว่ำ/หงายได้ก่อนอายุ 3 เดือน
  • หรือมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย เช่น รู้สึกว่าลูกตัวอ่อน
  • หรือมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น ตัวเกร็ง อุ้ม จัดท่าได้ยาก เวลาจับยืนแล้วปลายเท้าชอบจิกพื้น
  • มีการถนัดของการใช้แขนขาข้างใดข้างหนึ่งก่อนอายุ 18 เดือน

ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

กล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาได้ต้องอาศัยการมองเห็น เด็กใช้กล้ามเนื้อมือสำหรับการช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยทำงานประสานกับสายตา พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กจะเริ่มจากการเคลื่อนไหวของลูกตา เช่น

  • ลูกอายุ 1 เดือน สามารถจ้องมองวัตถุที่ห่างจากใบหน้าประมาณ 8 นิ้วได้
  • จะค่อย ๆ มองตามวัตถุผ่านแนวกึ่งกลางตัวที่อายุ 2 เดือน
  • จนมองตามในแนวราบ 180 องศา และคว้าจับกรุ๋งกริ๋งได้ที่อายุ 4 เดือน
  • ลูกจะเอื้อมมือหยิบของที่อายุ 6 เดือน
  • ถือก้อนไม้มือละก้อนที่อายุ 8 เดือน
  • ถือก้อนไม้ 2 ก้อนเคาะกันที่อายุ 10 เดือน
  • หยิบก้อนไม้ใส่ถ้วยที่อายุ 12 เดือน
  • ต่อก้อนไม้ 2 ก้อน ในแนวตั้ง และขีดเส้นยุ่ง ๆ ที่อายุ18 เดือน
  • ต่อก้อนไม้ 6 ก้อนในแนวตั้ง หรือ 4 ก้อนในแนวนอนเป็นรถไฟได้ที่อายุ 2 ปี

 

กล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาจากส่วนต้นของลำตัวแขนขาไปสู่ส่วนปลาย เช่น นำก้อนไหมพรมมาไว้ที่ระดับสายตา โดยห่างจากใบหน้าสัก 8-12 นิ้ว ที่อายุก่อน 4 เดือน ลูกจะมองตามการเคลื่อนไหวของก้อนไหมพรมในแนวราบได้ แต่ยังไม่สามารถคว้าจับไหมพรมได้ แต่ที่พออายุ 4-6 เดือนถ้าวางก้อนไหมพรมไว้บนโต๊ะ เด็กจะพยายามยืดตัว ขยับหัวไหล่ และเอื้อมมือไปยังทิศทางที่ไหมพรมวางอยู่ได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ กล้ามเนื้อมัดเล็กยังค่อย ๆ พัฒนาจากการทำงานที่หยาบไปสู่งานที่ละเอียดมากขึ้นตามลำดับ เช่น

  • อายุ 6-7 เดือน จะหยิบก้อนไม้โดยอุ้งมือทำงานร่วมกับนิ้วหัวแม่มือ
  • อายุ 7-9 เดือนจะหยิบก้อนไม้โดยใช้บริเวณของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่น ๆ ช่วยในการหยิบจับได้ เป็นต้น

การหยิบของชิ้นเล็กก็จะมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเช่นเดียวกัน ได้แก่

  • อายุ 6-7 เดือน จะพยายามเขี่ยของชิ้นเล็ก ๆ เข้ามาอยู่ในฝ่ามือ
  • อายุ 9-12 เดือน จะหยิบเม็ดยาด้วยปลายนิ้ว หัวแม่มือและปลายนิ้วชี้ได้เป็นต้น (ซึ่งพ่อแม่จำเป็นต้องป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการหยิบของที่มีขนาด เล็กเข้าปากจนอาจทำให้ลูกเกิดการสำลักได้ในช่วงวัยนี้)

ทั้งนี้ การพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กจากส่วนต้น ไปสู่ส่วนปลายได้อย่างละเอียดมากขึ้น จะทำให้ลูกสามารถสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้นิ้วมือได้อย่างแม่นยำ จนกระทั่งสามารถทดแทนการนำนิ้วมือเข้าปากได้ นอกจากนี้ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กยังมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ไม่ใช้ทักษะด้านภาษาของลูกด้วย

 

วิธีสังเกตว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้าผิดปกติ

ลูกอายุ 3 เดือน แล้วยังกำมือตลอดเวลาอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท หรือลูกอายุ 6 เดือน แล้วยังไม่คว้าของหรือเอื้อมหยิบของ อาจบ่งถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อมัดเล็ก สายตา และ/หรือมีสติปัญญาบกพร่อง ดังนั้น พ่อแม่ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป การพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถ้าคุณแม่กลัวว่าลูกจะพัฒนาการช้า ให้ปรึกษากุมารแพทย์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF

วิธีเล่นกับลูกวัยทารก เสริมความฉลาด กระตุ้นพัฒนาการ ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้เงิน!

พัฒนาการสมองทารก พ่อแม่กระตุ้นดี ลูกได้ความฉลาดติดตัว

เมื่อไหร่ที่ทารกจะเริ่มพูด ลูกจะพูดได้ตอนกี่ขวบ กันนะ?

ที่มา : thaipediatrics

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กวัยแรกเกิด
แชร์ :
  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

    ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

powered by
  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

    ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว