X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคสมาธิสั้นคืออะไร? มาทำความรู้จักกับโรค ADHD โรคที่ซับซ้อนกว่าที่คุณคิด

บทความ 5 นาที
โรคสมาธิสั้นคืออะไร? มาทำความรู้จักกับโรค ADHD โรคที่ซับซ้อนกว่าที่คุณคิด

มาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นกันเถอะ ว่าเป็นอันตรายต่อลูกของเราอย่างไร และสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

โรคสมาธิสั้นคืออะไร โรคสมาธิสั้นเป็นอีกหนึ่งโรคที่เริ่มมีคนพูดถึงกันมากในเด็กยุคใหม่ อาจจะเป็นเพราะนวัตกรรมการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้นที่ทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจในโรคต่างๆที่ไม่เคยมีมาก่อนมากขึ้น วันนี้เราจะพาผู้ปกครองมารู้จักว่า โรคสมาธิสั้นคืออะไร มันซับซ้อน อย่างไร เกิดในเด็กวัยอายุเท่าไหร่ และมีวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง

 

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล  , https://www.youtube.com

 

ผู้ที่ป่วยโรคสมาธิสั้น อาจมีอาการได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยจะแสดงออกอย่างชัดเจนในช่วงอายุ 6-12 ปี เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียน และมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น อยู่ในวัยที่กำลังสื่อสาร และต้องการเข้าสังคม

ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคสมาธิสั้น เด็กบางคนอาจมีอาการคล้าย และเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น แต่อาจเป็นเพียงพฤติกรรมตามช่วงวัยของเด็กเท่านั้น ที่อาจซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ดื้อ รั้น ไม่เชื่อฟัง หากอาการไม่ได้ร้ายแรง และไม่ตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ก็แสดงว่าไม่ได้เป็นโรค และอาการจะค่อย ๆ หายเองเมื่อน้อง ๆ โตขึ้น แต่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น อาการจะยังคงอยู่อย่างนั้น แม้ว่าจะเติบโตขึ้นก็ตาม ซึ่งในบางครั้งก็อาจเป็นอุปสรรคในชีวิตประจำวัน หากไม่ได้รับการรักษา หรือ การดูแลที่เหมาะสม

 

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้นคืออะไร?

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เป็นโรคทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสมองและพฤติกรรมของสมองต่างไปจากเด็กทั่วไป โรคนี้จะทำให้ผู้เป็นโรค นั่งได้ไม่นาน ไม่มีสมาธิ และควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ซึ่งโรคนี้อาจจะทำให้ลูกมีปัญหาทางบ้าน ที่โรงเรียน หรือความสัมพันธ์ของลูกกับสังคมได้

 

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้นมีกี่ประเภท?

โดยรวมแล้วโรคสมาธิสั้นนั้นจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆด้วยกันสามประเภท

  • ประเภทขาดสมาธิเป็นหลัก (Predominantly Inattentive type)

สำหรับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นประเภทนี้จะทำให้เขาโฟกัสหรือจดจ่ออะไรได้อยาก แต่สามารถนั่งเฉยๆได้ ลูกอาจจะทำผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ทันคิดให้ดีก่อน ไม่ฟังใครพูด ไม่สามารถจัดการความรับผิดชอบได้ หรือ มีอาการชอบลืมนู้นลืมนี่

  • ประเภทอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive-Impulsive Type)

สำหรับประเทศนี้เด็กจะสามารถโฟกัส และ จดจ่อกับอะไรได้ แต่ปัญหาของเขาอยู่ที่การไม่สามารถควบคุมการขยับเขยื้อนของร่างกายและพฤติกรรมบางอย่างได้ พูดไม่คิด พูดไม่รู้เวลา ไม่คิดถึงผลกระทบของการกระทำที่ทำไป และถึงแม้จะนั่งนานๆได้ เขาหรือเธออาจจะรู้สึกไม่สบายอกสบายใจ หรือ อยู่ไม่สุข

  • ประเภทมีอาการทั้งสองแบบร่วมกัน (Combined Type)

ตามชื่อหัวข้อของประเภทนี้ก็คือ เด็กมีอาการทั้งสองแบบ

 

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น

โดยทั่วไปแล้วเด็กที่มีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นหรือ ADHD นั้น จะต้องมีอาการตามที่กล่าวมาบ้าง และจะต้องมีอาการประเภทนี้มาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน และเกิดก่อนที่เด็กจะมีอายุ 7 ขวบ ทำให้ใช้ชีวิตยากขึ้น ลำบากขึ้นมาก เด็กยังมีอาการอื่นอีกมากซึ่งอาจเป็นหนึ่งในอาการด้วยก็คือ เบื่อ กังวล ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร ไม่มั่นใจในตัวเอง นอนยาก เข้ากับคนอื่นได้ยาก อย่างไรก็ตามอาการต่างๆก็สามารถเด็กคนอื่นทั่วไปได้เช่นกัน คุณครูบางคนอาจจะสามารถจับอาการได้ว่าเด็กมีอาการสมาธิสั้นหรือไม่ แต่ทางที่ดีที่สุดคือให้ไปพบแพทย์ถ้าลูกของคุณมีอาการคล้ายเคียงกับที่กล่าวมาข้างต้น

หมอจะตรวจการฟัง การได้ยิน และพฤติกรรมต่างๆเพื่อให้มั่นใจเด็กไม่ได้มีอาการของโรคอื่น หมออาจจะมีการพูดคุยกับเด็กและผู้ปกครองด้วยเพื่อจะได้วินิจฉัยโรคออกมาได้อย่างถูกต้อง

 

อาการของโรคสมาธิสั้น

  1. ด้านการขาดสมาธิ

  • ไม่ตั้งใจฟัง ไม่สนใจคนที่พูดด้วย
  • ทำอะไรง่าย ๆ ไม่มีระบบระเบียบ ไม่มีขั้นตอน
  • ไม่ชอบจดจ่อกับอะไรนาน ๆ เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอยู่เสมอ
  • ไม่ชอบเรียนรู้เรื่องที่ต้องใช้เวลานาน ๆ เช่น การอ่านหนังสือ
  • ไม่ใส่ใจรายละเอียด มักทำอะไรแล้วเกิดความผิดพลาด
  • ขี้หลง ขี้ลืม มักลืมของใช้จำเป็นอยู่บ่อย ๆ
  • มักลืมสิ่งที่ต้องทำ ขาดความรับผิดชอบ
  • วอกแวกง่าย หากมีอะไรมากระตุ้น
  • จัดลำดับไม่ได้ เรียงลำดับความสำคัญไม่เป็น
  • บริหารจัดการได้ไม่ดี ทำอะไรไม่เสร็จตามกำหนด
  • หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความพยายาม ใช้ความปราณีต
  • มีปัญหากับการเรียน มีปัญหากับงาน

2. ด้านการตื่นตัว

  • พูดมาก พูดไม่หยุด พูดตลอดเวลา
  • นั่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ได้
  • ว่องไว เคลื่อนไหวเร็ว
  • ไม่ชอบการรอคอย
  • เปลี่ยนที่นั่ง เป็นท่านั่งบ่อย ๆ
  • ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย
  • พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ
  • พูดกวนผู้อื่น

3. อาการของผู้ใหญ่

  • ขาดการใส่ใจในรายละเอียด
  • ประมาท เลินเล่อ
  • ร้อนรน กระสับกระส่าย
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • ใจร้อน ความอดทนต่ำ
  • ใช้ชีวิตประมาท
  • ไม่สามารถจัดการกับเรื่องเครียดได้
  • ชอบพูดจาโพล่งพล่าง
  • ชอบพูดแทรกผู้อื่น
  • ทำงานผิดพลาดอยู่เสมอ ๆ
  • มีปัญหาในด้านการจัดการ ลำดับความสำคัญต่าง ๆ

 

มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง?

การรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นแบ่งออกได้เป็นสามประเภทใหญ่ย่อย ดังนี้

การรักษาทางร่างกาย

การนั่งสมาธิ ไดเอท ทานวิตามินหรือยาสมุนไพร และการทำบำบัดอย่างสม่ำเสมอทั้งทางสมองการฟัง การมอง ฮอร์โมน ซึ่งการรักษาในรูปแบบนี้นั้นต้องได้รับการดูแลและขอคำปรึกษาจากคุณหมออย่างใกล้ชิด

การรักษาทางจิต

การรักษาทางจิตส่วนมากจะเป็นการพูดคุย หรือ ขอคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เปลี่ยนพฤติกรรม หรือให้ฝึกทำกิจกรรมต่างๆให้ซ้ำๆให้เป็นเวลา

การทางสังคม

การรักษาชนิดนี้อาจทำได้ด้วยการ พัฒนาความสัมพันธ์ การสื่อสาร การเลือกสิ่งที่ชอบ หรือพัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”

หลายคนที่อ่านอาจจะกลัว หรือตกใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ แต่ถ้าผู้ปกครองปรึกษาคุณหมอ และ มีเวลาพูดคุยกับลูกเพียงพอ อาจจะทำให้อาการของลูกดีขึ้น ตัวเด็กเองอาจจะเกิดความเครียดได้เพราะเขามีความแตกต่างอย่างคนอื่น แต่สิ่งที่ผู้ปกครองทำได้ก็คือ เป็นผู้สนับสนุนเขา คอยรับฟังเขา และ ยอมรับในสิ่งดีเขาเป็น

 

 

Source : dummies, kidshealth

 

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

เพราะอะไร??? ทำไม??? ปกติไหม??? ลูกเป็นโรคจิตเหรอ??? ทำไมชอบจับจุ๊ดจู๋

จิตวิทยาภาษากาย ภาษากาย ผู้หญิง ผู้ชาย อ่านภาษากาย ทายความคิด อ่านใจ เขาหรือเธอคิดอะไรอยู่

พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ระวังลูกป่วยเป็นจิตเวช

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Jitawat Jansuwan

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคสมาธิสั้นคืออะไร? มาทำความรู้จักกับโรค ADHD โรคที่ซับซ้อนกว่าที่คุณคิด
แชร์ :
  • หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก

    หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก

  • 5 สิ่งที่พ่อแม่เผลอทำให้ลูกเสียใจ

    5 สิ่งที่พ่อแม่เผลอทำให้ลูกเสียใจ

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก

    หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก

  • 5 สิ่งที่พ่อแม่เผลอทำให้ลูกเสียใจ

    5 สิ่งที่พ่อแม่เผลอทำให้ลูกเสียใจ

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ