โปรดระวัง ข้อเสียของสมาร์ทโฟน มีคุณหรือโทษมากกว่ากัน ?
ข้อเสียของสมาร์ทโฟน มีโทษต่อเด็ก มากกว่าประโยชน์หรือไม่ ?
แน่นอนว่า สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอุปกรณ์มือถือในปัจจุบันนี้สำหรับยุคดิจิทัล ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของทุกคน รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ และ ลูก ๆ ด้วย ดังนั้น จึงไม่ใช่ภาพที่แปลกตาแต่อย่างใดที่เราจะเห็นเด็ก ๆ อายุเพียง 1 หรือ 2 ขวบถือสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตในมือ ที่น่าประหลาดใจก็คือ เด็ก ๆ สไลด์ไอคอนต่าง ๆ และ เล่นเกมบนอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างง่ายดายด้วย แต่อุปกรณ์เหล่านี้ดีสำหรับเด็กจริงรึเปล่า หรือ เรากำลังขัดขวางพัฒนาการของลูกโดยให้ลูกสัมผัสอุปกรณ์หรูพวกนี้กันนะ
ความคุ้นเคยขัดขวางพัฒนาการ
ในรายงานข่าวของ Channel News Asia ของสิงคโปร์กล่าวว่า การที่เด็กในวัยกำลังพัฒนา (1 ถึง 5 ขวบ) ใช้งานสมาร์ทโฟน และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้บ่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่อทักษะการเคลื่อนไหว พัฒนาการทางสติปัญญา และ ทางสังคม
ดร. สเตวาน เออร์บาค ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาบอกว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างไอแพดนั้น ไม่สามารถทดแทนการเล่นแบบดั้งเดิมได้ เช่น การวาดเขียนด้วยสีเทียน การเล่นนอกบ้าน การเล่นเกมปริศนา และ การอ่านหนังสือ และ อาจมีผลสะท้อนกลับที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเด็กอีกด้วย
การที่เด็กเล่นมือถือมากๆ นั้น ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อตัวเด็กด้วย
แม่จ๋า สมาร์ทโฟนทำร้ายหนู
นอกจากสมาร์ทโฟนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็กแล้ว เรามีเด็กที่ถูกสมาร์ทโฟนทำร้ายโดยทางอ้อมด้วย เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้ปกครองวุ่นกับการส่งข้อความ เช็คอีเมล หรือ แชทบนอุปกรณ์เหล่านี้จนละเลยการดูแลลูกว่า ลูกกำลังทำอะไรอยู่
นักวิจัยถึงขั้นชี้ว่า อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งรบกวนอันเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุพลัดตกตามสนามเด็กเล่น และ ในบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แพทย์ที่แผนกฉุกเฉินตามโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักรเชื่อว่า อุบัติเหตุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นนั่นเอง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกเสริมว่า เด็กมีแนวโน้มที่จะกล้าเสี่ยง และ ประพฤติตนไม่ดีมากขึ้นเมื่อรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ง่วนอยู่กับอะไรสักอย่าง และ อาจจะไม่ได้จ้องมองลูก ๆ อยู่
ลองเปลี่ยนจากการเล่นมือถือ มาอ่านหนังสือกับลูกๆ ของคุณ
ข้อมูล
เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสมาร์ทโฟน และ อัตราการเกิดอุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น ข้อมูลจาก NHS (National Health Service ของอังกฤษ) แสดงให้เห็นว่า ในปี 2554 มีเด็ก 9,564 คนที่เข้าโรงพยาบาลเพราะตกจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจาก 7,232 คนในระหว่างปี 2549-2550
บางครั้ง ตัวผู้ใหญ่เองก็ติดมือถือจนละเลยลูกของตัวเอง
นักวิจัยเน้นย้ำถึงความเป็นจริงที่ว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นตรงกับการที่สมาร์ทโฟนไม่ว่าจะเป็น ซัมซุง ไอโฟน หรือ ยี่ห้ออื่น ๆ นั้นหาได้ง่ายมากขึ้น และ มีราคาในระดับที่ซื้อได้มากขึ้นในท้องตลาด
คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
ความเป็นจริงคือ เราอยู่ในโลกที่มีสิ่งรบกวนมากมาย แต่สิ่งนี้ไม่ควรเป็นข้ออ้างในการละเลยการดูแลลูก ๆ ได้ คุณจูน โอ ซัลลิแวน ประธานบริหารมูลนิธิ London Early Years ซึ่งเป็นผู้ประกอบการสถานรับเลี้ยงเด็กในกรุงลอนดอน กล่าวว่า พวกเราทุกคนล้วนถูกโทรศัพท์รบกวนความสนใจ เนื่องจากเราอยู่กันเป็นสังคม เราจำเป็นต้องเริ่มมีข้อกำหนดว่า เมื่อไหร่ถึงเหมาะ หรือ ไม่เหมาะที่จะใช้โทรศัพท์มือถือ
คิดให้ดี
ในฐานะคุณพ่อคุณแม่ คุณควรคิดให้ดีก่อนที่จะให้ลูกมีสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตเครื่องแรกเพียงเพื่อต้องการให้ลูกหยุดร้อง คุณควรคิดให้ดีเรื่องการง่วนกับการส่งข้อความบนอุปกรณ์เหล่านี้ เพราะสายตาของคุณควรจับจ้องอยู่กับลูกที่เล่นอยู่ในสนามเด็กเล่นมากกว่า
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”
source หรือ บทความอ้างอิง : pewresearch.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เหตุผลที่คุณไม่ควรใช้สมาร์ทโฟนก่อนนอน
เด็กติดสมาร์ทโฟน เสี่ยงนิ้วพิการ
ให้มือถือลูกเมื่อไหร่ดี?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!