X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด 11 เรื่องที่แม่เตรียมตัวเจอได้เลยจ้า

บทความ 5 นาที
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด 11 เรื่องที่แม่เตรียมตัวเจอได้เลยจ้า

เพิ่งยอมรับกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงในตอนช่วงท้องผ่านพ้นไปได้ไม่นาน แต่ยังไม่หมดแค่นี้นะคะ บทบาทของความเป็นแม่ได้เริ่มต้นขึ้นพร้อม การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด ที่คุณแม่จะต้องเจอแน่ ๆ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคุณแม่แทบทุกคน ซึ่งสภาพร่างกายของแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป อาการเหล่านี้จึงอาจเกิดขึ้นได้มากน้อย หากเกิดขึ้นอย่าเพิ่งตกใจนะคะ เตรียมรับมือไว้กันค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด 10 เรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอด

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด

1. การบีบรัดของมดลูกเพื่อกลับสู่สภาพเดิม

การขยายตัวของมดลูกตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาเพื่อรองรับทารกในครรภ์ ถึงเวลาที่จะกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังคลอดแล้ว ซึ่งการบีบรัดตัวของมดลูกอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด 2-3 วัน และอาจเจ็บเล็กน้อยต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ จนมดลูกกลับเข้าสู่เชิงกราน จากที่เคยคลำแล้วพบเจอมดลูกอยู่ราว ๆ ระดับสะดือ แต่พอหลังคลอดประมาณ 10-12 วันคลำดูอีกทีก็จะไม่เจอมดลูกจากทางหน้าท้องแล้ว ราว ๆ 5-6 สัปดาห์หลังคลอด ขนาดของมดลูกก็จะเล็กลงเท่ากับขนาดปกติ

 

2. แผลในช่องคลอดและแผลฝีเย็บ

สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกแบบธรรมชาติ ในการคลอดอาจจะถูกกรีดเพื่อช่วยสะดวกต่อการคลอดและจะทำการเย็บคืนแผลด้วยไหมละลายหรือใช้ไหมชนิดตัด ส่งผลให้แผลในช่องคลอดอาจจะบวมเล็กน้อยและทำให้รู้สึกเจ็บแผลบ้าง นั่งลำบากในช่วง 2-3 วันแรก แต่จะค่อย ๆ หายไปและหายสนิทใน 3-4 สัปดาห์หลังคลอด หลังปากมดลูกกลับคืนสภาพปกติ คุณแม่สามารถขมิบช่องคลอดบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความกระชับ ป้องกันอาการมดลูกหย่อนหลังคลอด โดยทำสม่ำเสมอบ่อย ๆ วันละประมาณ 80-100 ครั้ง หรือเพิ่มจำนวนรอบให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพยุงช่องเชิงกราน อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสเกิดปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะราดในอนาคต

 

3. เต้านมขยายและคัดตึง

ร่างกายหลังการคลอดจะสร้างกลไกกระตุ้นให้มีน้ำนมสำหรับเจ้าตัวน้อย ไม่ต้องตกใจที่ในช่วงนี้เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดและน้ำหนักมากเป็น 3 เท่าของเต้านมปกติ เมื่อเกิดอาการคัดตึงแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกดูดนมแม่ หรือปั๊มน้ำนมออกเพื่อเป็นสต๊อกนมแม่ ถ้ารู้สึกเจ็บปวดเต้านมใน 2-3 วันหลังคลอด ให้ประคบด้วยความเย็นและความร้อนสลับกันเพื่อลดความเจ็บปวด และควรเตรียมชุดชั้นในสำหรับให้นมโดยเฉพาะไว้ใส่ระหว่างวันเพื่อช่วยป้องกันการหย่อนยานและลดความเจ็บปวดจากการยืดขยายของเต้านม

 

4 ผนังหน้าท้องที่ดูหย่อน ๆ

อย่าเพิ่งใจร้อนไปสำหรับหน้าท้องที่เพิ่งคลอดลูกที่ยังไม่ราบเรียบเหมือนแต่ก่อน คุณแม่ควรได้ออกกำลังกายหลังคลอดร่วมด้วย เพื่อช่วยให้ผนังหน้าท้องที่ยืดหย่อนออกมากหดกระชับเข้าที่เป็นปกติ ซึ่งก็ต้องให้เวลาซักระยะนะคะ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด

5. ปวดท้องน้อยหลังคลอด

ในขณะที่มดลูกหดรัดตัวกลับคืนสู่สภาพปกติหลังคลอด อาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องน้อยได้ อาการปวดนี้คล้ายกับการปวดตอนมีประจำเดือนหรือปวดเหมือนตอนเจ็บเตือนในช่วงใกล้คลอด และอาจรู้สึกปวดมากตอนที่ให้ลูกดูดนม เนื่องจากฮอร์โมนออกซีโตซินที่หลั่งออกมาจะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวเพิ่มขึ้น

 

6. รู้สึกถ่ายปัสสาวะลำบาก

คุณแม่จะรู้สึกถ่ายปัสสาวะติดขัดใน 2-3 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากช่องคลอดและบริเวณทางเดินปัสสาวะยังมีอาการบวมอยู่ สามารถแก้ปัญหาอาการนี้ได้ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดซึ่งจะช่วยให้ถ่ายปัสสาวะได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดสังเกตมากกว่าปัสสาวะขัด รู้สึกปัสสาวะแสบและปัสสาวบ่อย มีไข้หนาวสั่นเป็นเวลานานร่วมด้วย และรู้สึกปวดหลังบริเวณใต้ชายโครง อาจทำให้น้ำปัสสาวะค้างขังอยู่นานหรือย้อนกลับขึ้นไปที่บริเวณไตจนทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที

 

7. ท้องผูกหลังคลอด

อาการนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ถึง 50% แม้ว่าจะคลอดทารกออกมาแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ยังไม่เข้าที่ทำให้ความดันในช่องท้องลดลง ประกอบกับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์มีผลทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว คุณแม่หลังคลอดจึงเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย รวมถึงอาการเจ็บแผลฝีเย็บที่ทำให้คุณแม่ไม่กล้าถ่ายหรือออกแรงเบ่งเพราะกลัวเจ็บแผล วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คลายอาการท้องผูกลงได้คือกินอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด แต่มีกากใยมาก ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 7-10 แก้วต่อวัน เพราะน้ำจะช่วยให้กากอาหารในลำไส้มีความอ่อนตัว สามารถเคลื่อนไปตามลำไส้ได้สะดวก ทำให้ถ่ายง่ายขึ้น อย่าไปกลัวว่าแผลจะแยก การถ่ายอุจจาระได้จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคริดสีดวงทวารด้วย

 

8. ริดสีดวงทวาร

คุณแม่หลังคลอดอาจมีอาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเส้นเลือดที่บริเวณอุ้งเชิงกรานถูกกดทับจากการตั้งครรภ์และการคลอด หากพบว่ามีก้อนเนื้อนิ่ม ๆ โป่งขึ้นมาบริเวณทวารหนัก หรือมีอาการเจ็บหรือมีเลือดออกในขณะที่ถ่ายอุจจาระ ซึ่งอาจมีอาการปวดร่วมด้วย เบื้องต้นอาจประคบด้วยถุงน้ำแข็งเพื่อลดความเจ็บปวด ดื่มน้ำ กินผักผลไม้ และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรักษาอาการ เพื่อบางคนปวดมากอาจจำเป็นต้องใช้ครีมหรือยาเหน็บตามที่แพทย์สั่ง

 

9. มีน้ำคาวปลา

น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาจากมดลูก ไหลออกมาจากช่องคลอดจนกว่าแผลจะหาย ในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีออกแดง ๆ มีปริมาณค่อนข้างมาก และค่อย ๆ ลดปริมาณลง สีจางลง เป็นสีชมพูหรือน้ำตาล และประมาณวันที่ 10 น้ำคาวปลาจะมีสีเหลืองขุ่น ๆ หรือใสและจะหมดไปในที่สุด แต่การมีน้ำคาวปลาของแม่แต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนอาจมีนานจนถึงเป็นเดือน และสำหรับแม่ที่ให้ลูกดูดนมระยะการมีน้ำคาวปลาก็จะสั้นลงได้ ในช่วงนี้คุณแม่ควรใช้ผ้าอนามัยซับเหมือนตอนที่มีประจำเดือนและเปลี่ยนบ่อย ๆ ทุก ๆ 3 ชั่วโมงเพื่อความสะอาด เพราะหากเกิดการหมักหมมหรือมีกลิ่นเหม็นก็จะส่งผลให้แผลฝีเย็บเกิดการอักเสบได้ง่าย

10. การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว

มาถึงตรงนี้แล้ว คุณแม่หลังคลอดเริ่มดีใจยกใหญ่เพราะหลังคลอดวันแรกน้ำหนักตัวคุณแม่ลดลงไปประมาณ 6 กิโลกรัม และน้ำหนักจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ เมื่อถึงวันที่คุณหมอนัดตรวจร่างกายหลังคลอดน้ำหนักคุณแม่ควรลดลงเท่ากับน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ หรือไม่เกิน 2-3 กิโลกรัม หากคุณแม่ที่น้ำหนักยังไม่ลงก็ควรเริ่มต้นที่จะออกกำลังกายและดูแลโภชนาการกินกันแล้วล่ะคะ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด

11. ผมร่วง

ภาวะผมร่วงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับแม่หลังคลอดได้ถึงร้อยละ 50 เชียวน่ะ บางคนอาจจะสังเกตเห็นว่าผมตัวเองร่วงออกมาหลังคลอด หรือ 2-3 เดือนต่อมา อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะภาวะผมร่วงนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะกลับมาสู่ปกติและมีผมใหม่ขึ้นมาแทนที่ประมาณ 6-12 เดือนหลังคลอด แต่ถ้าพบว่ามีอาการผมร่วงเยอะมากคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์นะคะ

 

ที่มา :medthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

5 ของจำเป็นหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่ต้องการคืนรูปร่าง และฟื้นฟูร่างกาย

7 กางเกงในหลังคลอด ใส่สบาย ไม่อึดอัด ชุดชั้นในที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่

5 วิตามินบำรุงหลังคลอด สุดยอดอาหารเสริมของคุณแม่มือใหม่ 

 

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด 11 เรื่องที่แม่เตรียมตัวเจอได้เลยจ้า
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว