X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง

บทความ 5 นาที
ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง

ความรุนแรงในครอบครัว ปัจจุบันก็ยังพบเห็นได้อยู่บ่อย ๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะเลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างไกลความรุนแรง เลี้ยงแบบไม่ใช้ความรุนแรงเลี้ยงอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ มาดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ 

 

ความรุนแรงในครอบครัว คือ 

การทำร้ายร่างกาย จิตใจ บังคับข่มเหงที่เกิดจากคนในครอบครัว และมาจากหลาย ๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การติดการพนัน สุรา ยาเสพติด หรือความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น สร้างความเจ็บปวดต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่โดนกระทำ 

บาดแผลทางร่างกายที่เกิดจากความรุนแรงสามารถรักษาให้หายดีขึ้นได้ แต่บาดแผลที่อยู่ในจิตใจใช้เวลานานหลายเดือน หลายปีกว่าบาดแผลนั้นจะหายไป หลายคนที่ผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวอาจเกิดภาวะป่วยทางจิตรุนแรง หรือที่เรียกกันว่า โรค PTSD เป็นภาวพจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการถูกทำร้ายร่างกาย ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่เจอเหตุการณ์ด้วยตัวเอง และทางอ้อม 

 

หยุด ! ความรุนแรงในครอบครัว 

1. หยุด!!!ทำร้ายจิตใจ

ความรุนแรงไม่ได้หมายถึงการตีเพียงเดียวนะคะ  ยังมีความรุนแรงที่เรียกว่า  ทำร้ายจิตใจ อีกด้วย  เช่น  เลี้ยงลูกลำเอียง รักพี่หรือรักน้องมากกว่า  การใช้คำพูดกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  เช่น  ลูกเก็บมาเลี้ยง  หรือเกิดมาทำไม เกิดมาแล้วทำให้พ่อแม่ลำบาก  คำพูดเช่นนี้จะสะสมในจิตใจจนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ  คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก  นานวันเข้าลูกจะแสดงออกด้วยการกระทำที่รุนแรง  แรกเริ่มอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่เมื่อนานวันเข้าจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงมากขึ้น ๆ ต่อไป

 

2. ปล่อยปละละเลย

เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ค่อยนึกถึงกันสักเท่าไร การไม่มีเวลาให้ลูกหรือแม้จะอยู่ด้วยกันแต่ไม่ค่อยเอาใจใส่ลูกเท่าใดนัก  อาจจะเหนื่อยจากงานหรือเรื่องส่วนตัวทำให้พ่อแม่หมกมุ่นสนใจแต่ตัวเอง จนลืมไปว่าลูกก็ต้องการความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ การปล่อยให้ลูกอยู่กับโลกโซเชียล เล่นเกมคอมพิวเตอร์  ดูซีดี ดูการ์ตูนซึ่งอาจจะแฝงความรุนแรง โดยที่เด็กยังไม่รู้จักกลั่นกรองว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี  อาจจะจดจำมาและรับสิ่งนั้นไปใช้โดยขาดการไตร่ตรอง

 

3. การเลี้ยงดูที่ดี คือ วัคซีน ป้องกันความรุนแรง

ความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัคซีน” แน่นอนว่าย่อมหมายถึงการป้องกัน  เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูลูกพ่อแม่ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงสิ่งแวดล้อมทัศนคติของพ่อแม่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของลูก เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยความรักและความเข้าใจเมื่อโตขึ้นเด็กจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมและมีอารมณ์ที่มั่นคง

การเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมของลูกเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีส่วนในการกำหนดโครงสร้างและการทำงานของสมอง หากเด็กถูกเลี้ยงดูด้วยความรุนแรง สมองจะเรียนรู้การกระทำที่รุนแรงการถูกปล่อยปละละเลยจากพ่อแม่  ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเงียบเหงา ขาดความรัก  จึงทำให้มองโลกในแง่ลบได้

 

ทางออกของปัญหาการใช้ความรุนแรง  ควรเริ่มจากอะไร ?

1. เตรียมตัวเองให้พร้อม 

ความรุนแรงในครอบครัว

คำว่าเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนจะสร้างครอบครัว ไม่ใช่หมายถึง เรื่องเงินทองเท่านั้น แต่ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะถ้ามีลูกในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้วางแผนในการมีลูกคนต่อไป อาจสร้างความปัญหาให้กับคุณพ่อคุณแม่เองและลูกอีกด้วย

 

2. อย่าให้ลูกรู้สึกว่า “ ขาดความรัก ”

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูกของตนเองอยู่แล้ว แต่ความรักนั้นหากไม่แสดงออกลูกก็คงไม่รู้  ที่สำคัญความรักไม่ใช่การให้สิ่งของหรือเงินทอง หรือที่เรียกว่า  ใช้เงินเลี้ยงลูก ลูกอยากได้อะไรตามใจ สิ่งนั้นไม่ถูกต้องแน่ ๆ ที่สำคัญเมื่อลูกขึ้นจะทำให้เขาปรับตัวเข้ากับสังคมยาก ขาดความอดทน และรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยหากไม่ได้รับการตอบสนองตามที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้จะหวนกลับมาทำร้ายลูกในอนาคตต่อไป  รักลูกแสดงออกด้วยการพูดคุยให้คำปรึกษา ให้เวลาแก่ลูก  ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เมื่อมีเวลาว่าง ให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยจะดีที่สุดค่ะที่สำคัญความรักของพ่อแม่ต้องมีความยืดหยุ่นบนหลักเหตุและผลไม่ควรปล่อยให้ทำตามใจตนเองไปทุกอย่าง

 

3. เหตุผล VS อารมณ์

คงไม่มีเด็กคนไหนชอบให้พ่อแม่ใส่อารมณ์ดุด่าว่ากล่าวตนเองอย่างแน่นอน ยิ่งเมื่อลูกเข้าสู่วัยที่อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง อาจจะมีอาการดื้อซนให้เห็นอยู่บ่อย ๆ  บางครั้งเด็กยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น ตี หยิก ดึง เมื่อเขารู้สึกไม่พอใจ ทำให้คุณพ่อคุณแม่อาจเกิดอารมณ์โมโหไม่พอใจในการกระทำของลูก อย่านะคะ!!! อย่าตีลูก

แต่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกด้วยเหตุผล  เพื่อให้ลูกรู้ว่าตนเองควรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่เองนั่นแหละคะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้เสียก่อน แทนที่จะตีก็ให้พาลูกออกไปจากสิ่งนั้น เช่น หากลูกอยากได้ของเล่นแล้วลงไปนอนดิ้นกับพื้น แทนที่จะตีก็สงบอารมณ์ลงก่อน แล้วค่อยอธิบายกับลูก เมื่อลูกได้เห็นท่าทีที่อ่อนโยนของพ่อแม่ต่อเขาลูกจะเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่พ่อแม่มีต่อเขา และเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ถือเป็นปลูกฝังสิ่งดี ๆ นั้นให้กับลูกต่อไป โดยลูกได้เรียนรู้ผ่านการกระทำของพ่อแม่นั่นเอง

 

4. พ่อแม่ คือต้นแบบที่สำคัญ

ความรุนแรงในครอบครัว

ลูกในวัยที่พร้อมจะเรียนรู้จากการเลียนแบบจากคนใกล้ตัว แน่นอนว่า ก็คือคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว การปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีต่อกันที่มีต่อลูกรวมถึงสมาชิกในครอบครัว  ทุกอย่างเปรียบได้กับฉากละคร ลูกจะซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านั้นติดตัวเขา หากพ่อแม่มีจิตใจที่เอื้ออาทรรักสัตว์ลูกก็จะจดจำและทำตาม หากพ่อแม่ชอบอ่านหนังสือ ลูกก็จะทำตามได้ไม่ยากตรงกันข้ามหากพ่อแม่ชอบมีปากมีเสียงลงไม้ลงมือลูกก็จะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ทำเช่นกัน

 

5. เลี้ยงลูกด้วยความรักและอาทร

ความรุนแรงในครอบครัว

ปัจจุบันนี้การแข่งขันมีสูงในสังคมของเราแม้แต่เด็กเล็ก ๆ ในวัยอนุบาลยังต้องสอบแข่งขันแย่งที่เรียนกันเลย แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสวนกระแสด้วยการสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น   แม้วันนี้ลูกอาจจะไม่เข้าใจ  แต่อย่างน้อยการเริ่มต้นสั่งสอนตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งเหล่านี้จะสั่งสมอยู่ในจิตใจของลูกได้ไม่ยากเลยค่ะ เพราะพื้นฐานที่ดีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ลูกดีงามไปพร้อมกับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจนั่นเอง

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

 

จะเห็นว่าความรุนแรงแม้จะเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา หรือผ่านสื่อมาให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เราสามารถสร้างเกราะป้องกันความรุนแรงนั้นได้ด้วยความรักและความเข้าใจกันภายในครอบครัว เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อลูกของเราและเพื่อสังคมที่สงบสุขต่อไปค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ

พ่อแม่ที่ตีลูก ดุด่าลูก ใส่อารมณ์กับลูก ระวังลูกโตไปเป็นเด็กเสียคน ไร้วินัย

หยุดดุด่าลูก ขู่ลูกว่าไม่รัก คำพูดต้องห้ามของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก

 

ที่มา : 1 2 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง
แชร์ :
  • 5 เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด

    5 เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด

  • คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักไว้ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เป็นฆาตกร

    คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักไว้ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เป็นฆาตกร

  • 5 เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด

    5 เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด

  • คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักไว้ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เป็นฆาตกร

    คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักไว้ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เป็นฆาตกร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ