X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตอบทุกปัญหายอดฮิต ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก !

บทความ 5 นาที
ตอบทุกปัญหายอดฮิต ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก !

จะไปฝากครรภ์ได้ตอนไหนบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไม่ฝากครรภ์จะคลอดได้หรือไม่ ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก กังวลใจในเรื่องไหน ให้เราช่วยหาคำตอบให้เอง

 

9 คำตอบของ ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์กำลังจะออกเดินไปฝากครรภ์ อาจมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการฝากครรภ์ที่คาใจอยู่ ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะวันนี้เราได้รวม 9 คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ฝากครรภ์ครั้งแรกอาจสงสัยมาก ระหว่างเดินทาง หรือก่อนตัดสินใจไปฝากครรภ์สามารถอ่านบทความนี้ได้ก่อนเลย

 

1. ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์เท่าไหร่ ?

สิ่งที่คุณแม่ต้องคำนึงถึง คือ ยิ่งฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพื่อรับการดูแลจากแพทย์ โดยปกติแล้วคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แล้วมาฝาก เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด, โรคโลหิตจาง, การตกเลือดก่อนคลอด ไปจนถึงความเสี่ยงในการแท้งบุตร เป็นต้น หากเลยเวลาไปแล้ว มีอายุครรภ์นานกว่า 12 สัปดาห์ไปแล้วแต่ยังไม่ได้ฝากครรภ์ ไม่ได้หมายความว่าจะฝากครรภ์ไม่ได้ ควรรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด และแจ้งกับแพทย์ด้วยว่าตนเองฝากครรภ์ช้า เพื่อให้แพทย์จัดการเรื่องการตรวจครรภ์ต่าง ๆ ต่อไป ห้ามคุณแม่ไม่ไปฝากครรภ์เด็ดขาด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝากครรภ์ที่ไหนดี 2566 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ?

 

วิดีโอจาก : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

 

2. สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนไปฝากครรภ์

เตรียมเอกสารที่สำคัญติดตัวไปด้วยเสมอ เช่น บัตรประจำตัวประชาชนทั้งของคุณพ่อ และคุณแม่ รวมไปถึงเตรียมข้อมูลทั่วไปที่สำคัญต่อการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น ประวัติในการเจ็บป่วย, ประวัติการแพ้ยา, มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ โดยเฉพาะอาการ หรือความผิดปกติของการตั้งครรภ์ครั้งก่อน (กรณีเคยตั้งครรภ์มาก่อน) รวมไปถึงโรคประจำตัวด้วย เป็นต้น หากเตรียมข้อมูลเหล่านี้ไปครบถ้วน จะทำให้ง่ายต่อแพทย์ในการสอบถามข้อมูล ทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

3. ไปฝากครรภ์ตอนบ่ายได้ไหม ?

เมื่อต้องเดินทางไปฝากครรภ์ครั้งแรก ไม่สำคัญว่าจะเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่าย คุณแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาที่จะเข้าโรงพยาบาลไปฝากครรภ์ สิ่งเดียวที่คุณแม่ควรคำนึง คือ ไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดเมื่อรู้ตัวว่าตนเองตั้งครรภ์ เนื่องจากยิ่งฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่จะยิ่งดีต่อการดูแลครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจความสมบูรณ์ของครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยต่อครรภ์มากขึ้น หากพบความผิดปกติใด ๆ จะได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดนั่นเอง

 

4. ไปฝากครรภ์กินข้าวได้ไหม ?

โดยปกติแล้วก่อนไปฝากครรภ์สามารถทานข้าวได้ตามปกติ เว้นเสียแต่มีข้อกำหนดบางอย่างของทางโรงพยาบาล คุณแม่จึงควรสอบถามกับทางโรงพยาบาลก่อนด้วย การเข้าไปฝากครรภ์โดยส่วนมาก จะไม่ได้มีข้อกำหนด หรือข้อบังคับมากมาย เพราะเมื่อไปถึงขั้นตอนก็จะคล้าย ๆ กันในแต่ละที เช่น การซักประวัติที่จำเป็น, รับการตรวจเลือด หรือตรวจปัสสาวะ เป็นต้น

 

ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก

 

5. ต้องไปพบแพทย์บ่อยหรือไม่ ?

หลังจากฝากครรภ์ไปแล้ว คุณแม่ยังต้องมาตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดเสมอ และควรที่จะมาให้ครบทุกครั้ง โดยปกติแล้วจะได้รับการตรวจตลอด 3 ไตรมาสไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง โดยแบ่งความถี่ตามปกติทั่วไป ดังนี้

 

  • ช่วง 7 เดือนแรก แพทย์อาจนัดให้มาตรวจประจำเดือนละ 1 ครั้ง
  • เมื่อเข้าเดือนที่ 8 แพทย์อาจนัดมาตรวนถี่ขึ้น ทุก ๆ 2 – 3 สัปดาห์
  • เมื่อเข้าเดือนสุดท้าย คือ เดือนที่ 9 อาจต้องรับการตรวจสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

6. ควรเลือกฝากครรภ์ที่ไหนดี ?

ปัญหาที่หลายบ้านอาจต้องเจอ คือ ไม่รู้ว่าตนเองควรเลือกพากันไปฝากครรภ์ที่ไหนดี จะไปคลินิก หรือโรงพยาบาล เมื่อไปเขตไหน ย่านไหนดี เรื่องสถานพยาบาลที่ควรเลือกนั้น ควรให้ความสำคัญกับระยะทาง ประกอบกับคุณภาพความมั่นใจ คือ ควรเป็นสถานพยาบาลที่ใกล้กับที่พักอาศัยมากที่สุด ง่ายต่อการเดินทาง ใช้เวลาในการเดินทางไม่นาน ประกอบกับดูข้อมูลว่าสถานพยาบาลนั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหนด้วย หากตรวจสอบแล้วว่าใกล้บ้าน และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้ คุณแม่อย่ารอเวลา รีบออกไปฝากครรภ์ได้เลย

คุณแม่บางคนอาจเลือกไปฝากครรภ์กับคลินิก ซึ่งทำให้เป็นกังวลว่าจะต้องไปคลอดที่คลินิกหรือไม่ โดยปกติแล้วแพทย์ที่รับฝากครรภ์ในคลินิกนั้น ๆ จะให้คุณแม่เลือกได้เองเสมอว่าต้องการคลอดที่โรงพยาบาลไหน ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ต้องเป็นกังวลไป

 

7. ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง ?

ในการตรวจร่างกาย และตรวจโรคต่าง ๆ นั้น โดยมากจะเน้นไปที่การตรวจแบบพื้นฐาน ประกอบกับตรวจโรคติดเชื้อที่อาจมีผลกระทบกับการตั้งครรภ์ ไปจนถึงการตรวจเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ โดยมากจะมีการตรวจภาพรวม ดังนี้

 

  • ตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์
  • ตรวจหาภาวะเลือดจาง และหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน
  • ทำการตรวจเลือด, ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส
  • ตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ HIV
  • ตรวจปัสสาวะ, อัลตราซาวนด์ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์

 

อย่างไรก็ตามขั้นตอน รายการ และรูปแบบการตรวจ ต้องขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่คุณแม่เลือกที่จะไปฝากครรภ์ด้วยว่ามีอะไรบ้าง ทำอย่างไรบ้าง เพื่อข้อมูลที่ชัดเจน และถูกต้อง คุณแม่ควรสอบถามโดยตรงไปทางสถานพยาบาลที่ต้องการฝากครรภ์ด้วยเช่นกัน

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก 2

 

8. ต้องให้สามีไปด้วยไหม ?

เมื่อต้องเดินทางไปฝากครรภ์จะให้สามีไปด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ทางเราแนะนำว่าควรให้สามีไปด้วยมากกว่าที่จะไม่ไป เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ควรมีคนคอยดูแล และช่วยจัดการเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงหากตรวจพบโรคบางโรค แพทย์อาจจำเป็นต้องขอตรวจคุณพ่อด้วยนั่นเอง

 

9. ไม่ได้ฝากครรภ์สามารถเข้าไปคลอดได้ตามปกติไหม ?

คุณแม่ยังสามารถคลอดที่โรงพยาบาลได้ตามปกติ ไม่ใช่แค่ต้องฝากครรภ์เท่านั้นถึงจะมีสิทธิคลอดที่โรงพยาบาล แต่เราไม่แนะนำหากไม่ฝากครรภ์ เพราะหากคุณแม่ไม่ทำการฝากครรภ์ จะทำให้ไม่สามารถคาดการณ์เวลาในการคลอดได้ ส่งผลให้มีความเสี่ยงว่าเมื่อมีอาการคลอด คุณแม่อาจไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เตรียมพร้อม กลับกันการเข้ารับการฝากครรภ์แพทย์จะสามารถคาดเวลาที่คุณแม่จะคลอดได้ ทำให้สามารถรับมือ และเตรียมตัวได้อย่างมีคุณภาพ

 

คำตอบที่เราตอบให้นั้น เป็นคำตอบเบื้องต้นของคำถามทั่วไปเท่านั้น บางอย่างอาจแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลนั้น ๆ ดังนั้นหากยังสงสัยเพิ่มเติม หรือกังวลในเรื่องใดเป็นพิเศษ ต้องการได้คำตอบ คุณแม่เข้าสอบถามกับสถานพยาบาลนั้น ๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำได้เลย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ฝากครรภ์พิเศษ ต่างจาก ฝากครรภ์ธรรมดาอย่างไร ฝากครรภ์ต้องตรวจอะไรบ้าง

เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร ? ฝากครรภ์ที่ไหนดี ?

ไปฝากครรภ์คนเดียว ได้ไหม? ไม่มีคนไปด้วย ไปคนเดียวเขาจะยอมรึเปล่า ?

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ตอบทุกปัญหายอดฮิต ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก !
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ