X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไปฝากครรภ์คนเดียว ได้ไหม? ไม่มีคนไปด้วย ไปคนเดียวเขาจะยอมรึเปล่า?

บทความ 5 นาที
ไปฝากครรภ์คนเดียว ได้ไหม? ไม่มีคนไปด้วย ไปคนเดียวเขาจะยอมรึเปล่า?

เราเชื่อว่าคุณแม่แต่ละคนมีเรื่องราวในชีวิตต่างกัน ชีวิตทุกคนมีความแตกต่าง ทำให้ความพร้อม สภาพชีวิตแตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้นก็รวมถึงเรื่องการตั้งครรภ์ และ มีบุตร ไม่ว่าจะด้วยปัญหาอะไรที่คุณจำเป็นจะต้อง ไปฝากครรภ์คนเดียว คุณอาจจะเลิกกับแฟนแล้ว หรืออาจจะแค่วันนั้นแฟนไม่ว่างพาไป เหตุผลและความจำเป็น ของแต่ละคนก็มีต่างกัน วันนี้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวที่คุณแม่สงสัย ว่าถ้าจำเป็นจะต้อง ไปฝากครรภ์คนเดียว ทางโรงพยาบาลจะว่าอย่างไรบ้าง เขาจะอนุญาตให้เราทำใช่หรือไม่ ไปดูกันค่ะ

 

ไปฝากครรภ์คนเดียว ได้ไหม

คำตอบสั้น ๆ ก็คือ ได้ ทีนี้เรามาดูกันต่อเลยดีกว่าว่า การไปฝากครรภ์นั้นเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง จะได้เตรียมพร้อม และคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้าง ซึ่งมันไม่ได้มีอะไรที่น่ากลัวเลย หายใจเข้าลึก ๆ นะคุณแม่

 

 

คุณควรไปฝากครรภ์เมื่อไหร่

คุณควรจะไปฝากครรภ์ ตั้งแต่ที่คุณรู้ว่าตัวเอง รู้แล้วแน่ ๆ ว่าท้อง การไปฝากครรภ์ครั้งแรกนั้นสำคัญมาก และจะใช้เวลานานที่สุดกว่าครั้งอื่น ๆ เพราะจะมีการทดสอบเรื่องสุขภาพต่าง ๆ รวมไปถึงการสอบถามข้อมูลส่วนตัว เพื่อประโยชน์กับลูกในอนาคต คุณจะต้องตอบคำถามมากมาย ไม่ต้องกลัว เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ ทางโรงพยาบาลต้องการทราบ เพราะจะได้ ให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง ว่าคุณแม่ควรจะทำอะไรต่อไป ต้องทานอาหารแบบไหน ออกกำลังกายยังไง พักผ่อนเท่าไหนถึงจะดี ถ้าคุณแม่มีความสงสัยอะไร ก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้เลย ไม่ต้องกลัว เพราะทางแพทย์เองก็อยากให้คุณแม่ปลอดภัยอยู่แล้ว

 

จะเตรียมตัวไปฝากครรภ์อย่างไรดี

เมื่อคุณท้อง แล้วคุณรู้แล้วว่าจะต้องไปฝากครรภ์ คุณอาจจะเตรียมตัวไปก่อนเล็กน้อย เพื่อให้การฝากครรภ์ ดำเนินไปอย่างราบรื่น เราได้ลิสต์มาบอกว่าอะไรที่คุณควรจะเตรียมไปบ้าง ตอนไปฝากครรภ์

  • ทำลิสต์เกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ : แพทย์ต้องการจะรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพของคุณไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อาการแพ้ แพ้ยา โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัด โรคที่คนในครอบครัวมักจะเป็น ถ้าเราทราบก็จะทำให้การตอบคำถามง่ายขึ้น
  • เอายาที่กินเป็นประจำไปด้วย : ถ้าคุณนำยาไปด้วยทางโรงพยาบาลก็จะทราบได้ว่า มีวิตามิน หรือยาชนิดไหนที่คุณรับประทานเป็นประจำบ้าง จะได้แนะนำขั้นตอนต่อไปได้อย่างถูกต้อง
  • จดคำถามที่คุณอยากรู้ : ไม่ว่าจะเป็นแม่มือใหม่ หรือท้องที่สอง เราเชื่อว่าคุณคงจะมีคำถามมากมายติดอยู่ในหัว ก่อนไปฝากครรภ์ คุณอาจจะจดคำถาม หรือเรื่องที่คุณสงสัยเหล่านั้นไว้ในมือถือ หรือกระดาษ ก่อนจะไปที่โรงพยาบาล คุณจะได้ไม่ลืมว่าอยากถามอะไรบ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

 

ไปฝากครรภ์คนเดียว

 

ฝากครรภ์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน เผื่อไว้สำหรับทำประวัติที่โรงพยาบาล
  • ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว
  • ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย

 

ฝากครรภ์ครั้งแรกหมอตรวจอะไรบ้าง

เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอจะซักประวัติคุณแม่ เช่น

  • ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ มาสม่ำเสมอหรือไม่
  • ก่อนตั้งครรภ์คุมกำเนิดด้วยวิธีใดหรือไม่
  • เคยมีโรคหรืออาการผิดปกติอะไรบ้าง
  • เคยมีการแพ้ยาหรือไม่ หากคุณแม่กำลังใช้ยาบางตัวอยู่ ก็ควรบอกคุณหมอด้วย
  • ประวัติความเจ็บป่วยของคนในครอบครัวที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเลือด การมีลูกแฝด เป็นต้น

 

หลังจากซักประวัติคุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง หากคุณแม่สูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตรมักจะมีเชิงกรานเล็ก ขนาดของลูกในครรภ์กับช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วน ทำให้คลอดเองลำบาก มีโอกาสผ่าคลอดสูง
    การวัดส่วนสูงเทียบกับน้ำหนัก เพื่อให้ทราบว่าน้ำหนักตัวอยู่ในค่ามาตรฐานหรือไม่ และต้องชั่งน้ำหนักทุกครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงว่าน้ำหนักเพิ่มมากน้อยเกินไปหรือไม่ ผิดปกติหรือไม่
  • ตรวจปัสสาวะ หากคุณแม่มีน้ำตาลในปัสสาวะมาก อาจแสดงถึงโรคเบาหวาน ต้องทำการเจาะเลือดเพื่อหาเบาหวานต่อไป
  • วัดความดันโลหิต หากความดันโลหิตสูงผิดปกติ อาจเป็นจุดเริ่มแรกของครรภ์เป็นพิษ แต่หากความดันโลหิตต่ำมักไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
  • ตรวจฟัน หากคุณแม่มีฟันผุต้องรีบอุด เพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจจะส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ อักเสบตามไปด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร? ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

 

ไปฝากครรภ์คนเดียว

 

  • ตรวจต่อมไทรอยด์ โดยทั่วไป หญิงตั้งครรภ์ปกติจะมีต่อมไทรอยด์โตเล็กน้อย หากโตมาก ต่อมไทรอยด์อาจเป็นพิษได้
  • ฟังเสียงหัวใจและปอด หากพบสิ่งผิดปกติ คุณหมออาจให้การรักษาหรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางต่อไป
  • ตรวจครรภ์ เพื่อดูว่าขนาด หรือระดับมดลูกสัมพันธ์กับอายุครรภ์หรือไม่ มีก้อนเนื้อผิดปกติในท้องหรือไม่
    หากไม่มีความผิดปกติ คุณหมอก็จะให้ยาบำรุง ได้แก่ วิตามินบีรวม และธาตุเหล็กมาบำรุงคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์
  • ตรวจขา เพื่อดูเส้นเลือดขอด ซึ่งทำให้เลือดไหลกลับไปหัวใจไม่สะดวก หากเป็นมากเส้นเลือดอาจอุดตัน ทำให้ขาบวม หรืออาจเป็นอันตรายหากก้อนเลือดที่อุดตันหลุดเข้าไปในกระแสเลือด
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ เจาะเลือดเพื่อหาว่าเลือดจางหรือไม่ ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี ภูมิต้านทานหัดเยอรมัน

การตรวจนี้โรงพยาบาลบางแห่งอาจตรวจให้ในครั้งแรก แล้วนัดไปตรวจท้อง รวมถึงดูผลตรวจเลือดและปัสสาวะอีกครั้งใน 1-2 สัปดาห์ บางแห่งก็ตรวจท้องก่อน แล้วจึงเจาะเลือดและตรวจปัสสาวะ โดยจะนัดฟังผลใน 1-2 สัปดาห์ เช่นกัน

 

สมุดฝากครรภ์

หลังจากที่คุณหมอทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายของคุณแม่อย่างละเอียดแล้ว ผลการตรวจก็จะถูกบันทึกลงในสมุดฝากครรภ์ หรือใบฝากครรภ์ ซึ่งคุณแม่ควรนำบัตรนี้ติดตัวไปด้วยเสมอ เมื่อต้องเดินทางไปไหนมาไหน แล้วเกิดภาวะฉุกเฉิน คุณหมอจะได้ดูแลรักษาได้ถูกต้อง ตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในสมุดฝากครรภ์

 

หากคุณแม่อยากไปฝากครรภ์คนเดียว ก็สามารถไปได้เลยนะคะ เพราะทางโรงพยาบาลจะคอยดูแล และให้คำแนะนำให้แก่คุณว่าต้องทำอะไรต่อไป ต้องทานอาหารแบบไหน และพักผ่อนอย่างไร อีกทั้งแพทย์จะคอยให้คำปรึกษาแก่คุณแม่อีกด้วย ถ้าคุณแม่มีอะไรไม่สบายใจ หรือมีเรื่องที่อยากถามคุณหมอ ก็สามารถถามได้เลยนะคะ เพื่อให้แพทย์ได้ให้คำแนะนำที่ดีที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไม่ฝากครรภ์อันตราย! ลูกเสี่ยงติดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด

คนท้องเริ่มฝากครรภ์ได้เมื่อไหร่ ฝากครรภ์ช้าสุดกี่เดือน จำเป็นต้องฝากครรภ์ไหม?

ท้องนี้ฝากครรภ์ ทำคลอดที่ไหนดีนะ? รวม 10 สูติ-นรีแพทย์ฝีมือดี ที่คนไข้ต่างก็ยกนิ้วให้

ที่มา : 1

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Jitawat Jansuwan

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ไปฝากครรภ์คนเดียว ได้ไหม? ไม่มีคนไปด้วย ไปคนเดียวเขาจะยอมรึเปล่า?
แชร์ :
  • ฝากครรภ์พิเศษ ต่างจาก ฝากครรภ์ธรรมดาอย่างไร ฝากครรภ์ต้องตรวจอะไรบ้าง

    ฝากครรภ์พิเศษ ต่างจาก ฝากครรภ์ธรรมดาอย่างไร ฝากครรภ์ต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

    ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ฝากครรภ์พิเศษ ต่างจาก ฝากครรภ์ธรรมดาอย่างไร ฝากครรภ์ต้องตรวจอะไรบ้าง

    ฝากครรภ์พิเศษ ต่างจาก ฝากครรภ์ธรรมดาอย่างไร ฝากครรภ์ต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

    ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ