X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

บทความ 3 นาที
9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

เชื่อว่าไม่มีคุณแม่คนไหนอยากป่วยในช่วงตั้งท้องแน่ ๆ ดังนั้นการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีแข็งแรงตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนควรทำเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบถึงลูกในครรภ์ได้ แต่คุณแม่ท้องก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้เหมือนคนทั่ว ๆ ไป ดังนั้นจึงควรหาทางป้องกันและดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นได้เป็นดีที่สุด

โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ นั้นแม่ท้องก็เหมือนคนทั่วไป ขนาดว่าดูแลตัวเองดีแล้วยังมีโอกาสป่วย โดยเฉพาะ โรคที่แพร่กระจายในกลุ่มคนใกล้ชิดได้ง่าย ๆ เช่น ไข้หวัด หัด คางทูม ฯลฯ หรือ เจ็บป่วยในบางโรคที่มีโอกาสส่งผลกระทบ ต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ เฝ้าระวัง 9 โรคนี้ไว้ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นได้ง่าย

9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

#1 ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

จากสถิติพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเป็นไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน ซึ่งหากเป็นไข้หวัดแบบปกติ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ แต่การเป็นไข้หวัดขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้หายช้ากว่าปกติเล็กน้อย เพราะขณะตั้งครรภ์ภูมิต้านทานของแม่จะลดลงเล็กน้อย หากต้องทานยาบางชนิดเพื่อลดอาการไข้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง และ ถ้าคุณแม่มีไข้สูงเกิน 38 องศา มีอาการรุนแรง หรือ เป็นไข้หวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ กรณีเหล่านี้ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

#2 โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อยมักเกิดจากกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ หากเป็นเรื้อรังก็จะไม่เกิน 3 วัน แต่ก็จะทำให้แม่ท้องทานอาหารได้ไม่มาก ดังนั้นเมื่อมีอาการควรดื่มน้ำให้มาก การติดเชื้อแบบนี้มักไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อทารกในครรภ์ แต่ควรดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เช่น ในช่วงที่เกิดอาการ 12 ชั่วโมงแรก ไม่ควรทานอาหารใด ๆ โดยเฉพาะคนที่กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ควรงดอาหาร และ น้ำ 12-24 ชั่วโมง จึงค่อยเริ่มกินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย อาทิ โจ๊ก ข้าวต้ม ผักต้มเปื่อย จนอาการดีขึ้นแล้วค่อยกินอาหารตามปกติ แต่หากพบว่ามีอาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ

Advertisement

9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

#3 โรคหัดเยอรมัน

โดยปกติแล้วคุณหมอมักจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันก่อนที่จะตั้งครรภ์และเว้นช่วงไม่ให้ตั้งครรภ์หลังจากฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เดือน แต่หากคุณแม่ไม่ได้วางแผนและไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันก็ต้องตรวจดูว่ามีภูมิต้านทานอยู่หรือไม่ หรือบางคนอาจมีภูมิต้านทานอยู่แล้ว

โรคหัดเยอรมันจะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์เมื่อมีการติดเชื้อ อาการใน 2-3 สัปดาห์แรกจะมีเพียงเล็กน้อย จนแทบไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว และ ต่อมน้ำเหลืองโต ผลกระทบที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับจะมาก หรือ น้อยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และไม่สามารถป้องกันได้การติดเชื้อได้ ถ้ามีการติดเชื้อในเดือนแรก โอกาสที่ลูกคลอดออกมาแล้วจะพิการมีสูงมากถึงร้อยละ 35 ในขณะที่การติดเชื้อในเดือนที่ 3 ที่จะพิการและความรุนแรงลดน้อยลง คือร้อยละ 10-15 ดังนั้นการวางแผนรับการฉีดวัคซีนป้องกัน หัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์จะดีที่สุด

#4 โรคท็อกโซพลาสโมซิส

โรคท็อกโซพลาสโมซิส เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า ท็อกโซพลาสมา เกิดขึ้นจากการกินเนื้อดิบที่มีเชื้อนี้อยู่ หรือ สัมผัสกับอุจจาระแมวที่ติดเชื้อนี้ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อนี้เข้าอาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือต้องคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดความผิดปกติของสมองได้

#5 การติดเชื้อสเตรปกลุ่มบี

คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีการติดเชื้อสเตรปกลุ่มบีถือว่าเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์มาก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยปกติการติดเชื้อนี้จะอยู่ในช่องคลอดที่ไม่ปรากฏอาการให้เห็น แพทย์จะนำมูกจากช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ หากพบเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่มากพอตั้งแต่ก่อนคลอด จึงทำให้ไม่มีการติดเชื้อต่อทารกในครรภ์ ซึ่งการติดเชื้อชนิดนี้จะเป็นสิ่งที่พบได้น้อย เนื่องจากทางการแพทย์จะระวังโรคนี้มาก

#6 โรคหัด

การฉีดวัคซีนป้องกันหัดถือเป็นเรื่องต้องห้าม สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะการฉีดวัคซีนเหมือนกับการให้ร่างกายได้รับเชื้อโดยตรงเพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเชื้อที่ถูกฉีดเข้าไปอาจมีผลกระทบ ต่อทารกในครรภ์ได้ แต่หากแม่ท้องมีการติดเชื้อช่วงใกล้คลอด อาจทำให้ทารกเกิดภาวะติดเชื้อไวรัสในเลือด ซึ่งแพทย์จะให้แกมม่าโกลบูลินแก่ทารกทันที ที่เกิดเพื่อลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ

9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

#7 การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ในร้อยละ 10 ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการติดเชื้อ 1 ครั้งและคนที่ติดเชื้อแล้ว 1 ใน 3 คนจะติดเชื้อซ้ำอีกได้ อาการที่พบบ่อย คือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบซึ่งมักจะไม่แสดงอาการ แต่พบได้เมื่อมีการตรวจปัสสาวะในตอนฝากครรภ์ ถ้าพบการติดเชื้อจะต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะนำไปสู่การติดเชื้อที่กรวยไต หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้กรวยไตอักเสบซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตัวแม่ท้องและลูกในครรภ์ และ หากเป็นกรวยไตอักเสบในช่วงหลังอายุครรภ์เดือนที่ 7 เป็นต้นไป จะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

#8 โรคตับอักเสบชนิดบี

โรคนี้สามารถถ่ายทอดจากแม่มาสู่ลูกในครรภ์ได้ หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคตับอักเสบบี ควรดูแลและรักษาตัวเองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะฟื้นคืนสู่สภาพปกติเอง

#9 โรคอีสุกอีใส

เนื่องจากอาการของโรคนี้หากเกิดขึ้นผู้ใหญ่จะรุนแรงกว่าเด็ก หากมาเป็นในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์จะต้องได้รับแกมม่าโกลบูลินภายใน 96 ชั่วโมงหลังการสัมผัสโรค และให้ระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

ข้อมูลจาก : www.babytrick.com

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

https://hd.co.th/family/newborn-babies

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว