คนท้องกินปลาหมึกได้ไหม ? การกินอาหารทะเลที่คนท้องต้องระวัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปลาหมึก เป็นอาหารทะเลที่หลายคนต่างชื่นชอบ และยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ มากมาย แต่เรามักจะได้ยินเรื่องราวของปลาหมึก ที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง จึงส่งผลให้ใครหลาย ๆ คนต่างเป็นกังวลทุกครั้งในการกินปลาหมึก คนท้องกินปลาหมึกได้ไหม ? จึงเป็นคำถามยอดฮิต ที่เกิดขึ้น เรามาดูไปพร้อม ๆ กันค่ะ แล้วคุณจะรู้ว่า ปลาหมึกมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด

 

 

ปลาหมึก กับคุณค่าทางโภชนาการ

ปลาหมึก หรือหมึก เป็นหนึ่งในอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งปลาหมึกมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่เรามักจะที่นิยมรับประทาน ปลาหมึกกล้วย ปลาหมึกกระดอง ปลาหมึกสาย หรือปลาหมึกยักษ์ กันเป็นส่วนมาก

ปลาหมึกเหล่านี้นอกจากรสชาติ และความกรุบกรอบ ปนความหนืดเล็ก ๆ จะถูกปากใครหลาย ๆ คนแล้ว ปลาหมึกยังเป็นแหล่งโปรตีน และแหล่งไขมันดี ไขมันคอเลสเตอรอล โอเมก้า 3 วิตามินอี โปรตีน และแร่ธาตุต่าง ๆ จึงเชื่อว่าการบริโภคปลาหมึกอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น เพิ่มไขมันดี ลดความดัน สมานแผล ซึ่งอาจส่งผลดีต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด อีกด้วย

แต่เป็นเพราะปลาหมึกมีไขมันหลากหลายชนิดอยู่ในตัว จึงทำให้เราต้องตั้งข้อสงสัยว่า ปลาหมึกนั้น จะดีต่อสุขภาพจริงหรือ? หากมีการรับประทานปลาหมึกในปริมาณที่มาก จะเกิดความเสี่ยงไขมันในเลือดสูงไปด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การเลือกทานปลาหมึกนั้น ควรจะทานในปริมาณที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงปลาหมึกบางชนิด ไม่ว่าจะเป็น หมึกสายวงน้ำเงิน หรือที่เรียกว่าหมึกบลูริง เพราะเป็นชนิดปลาหมึกที่พิษร้ายแรง หากคุณรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ควรซื้อปลาหมึกจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคภูมิแพ้อาหาร แพ้อาหาร คืออะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คุณค่าทางโภชนาการของปลาหมึก

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า ปลาหมึกสด 100 กรัม ให้พลังงาน 92 กิโลแคลอรี มีน้ำ 78.6 กรัม และมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • โปรตีน 15.6 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 3.08 กรัม
  • ไขมัน 1.38 กรัม
  • โพแทสเซียม 246 มิลลิกรัม
  • คอเลสเตอรอล 233 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 221 มิลลิกรัม
  • โคลีน 65 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 44 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 32 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 4.7 มิลลิกรัม
  • ทองแดง 1.89 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ ปลาหมึกยังอุดมไปด้วยวิตามินชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินอี เหล็ก สังกะสี รวมถึงกรดไขมันหลากชนิด โดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้า 3 หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า เป็นต้น

ปลาหมึกเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย ช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง และไขมันบางชนิดที่พบในปลาหมึกก็เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม ในตัวของปลาหมึกก็ยังคงมีไขมันชนิดคอเลสเตอรอลในปริมาณที่มาก เราจึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน และเกิดโรคหัวใจได้

 

ประโยชน์ของปลาหมึกต่อสุขภาพ

ได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารทะเลอย่างปลาหมึก ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเรา เอาไว้ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก

เชื่อหรือไม่ว่า ปลาหมึก ที่เรามักเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารที่ทำให้เราอ้วนได้ง่าย แต่กลับมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 ว่า ผู้หญิงวัยสูงอายุที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนจำนวน 54 คน พบว่า การรับประทานอาหารโปรตีนสูงช่วยให้อิ่มนาน และช่วยลดความอยากอาหารได้มากกว่าการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตสูง และเมื่อกลุ่มตัวอย่างรับประทานอาหารโปรตีนสูงร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้าน ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก ก็อาจยิ่งช่วยลดไขมันในร่างกายและช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

ซึ่งปลาหมึก เป็นอาหารทะเลที่มีค่าโปรตีนที่สูงมาก และมีไขมันต่ำ หากเรานำปลาหมึกมาปรุงอาหารด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม เช่น การย่าง ต้ม อบ หรือนึ่ง "ปลาหมึก" จะกลายเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการลดน้ำหนัก หรือกำลังควบคุมน้ำหนักอย่างมาก

 

  • ช่วยบำรุงหัวใจ และหลอดเลือด

กรดไขมันโอเมก้า 3 โดยเฉพาะชนิดดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid : DHA) เป็นสารที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือดให้มีความแข็งแรง ลดภาวะอักเสบภายในร่างกาย และยังช่วยลดความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

 

  • เพิ่มไขมันดี ลดไขมันเลว

จากการวิจัยในอดีต ได้มีการทดลองให้ผู้ชายซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 18 คน บริโภคอาหารทะเลที่แตกต่างกัน 6 ชนิด คือ ปลาหมึกกล้วย ปู กุ้ง หอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยกาบ พบว่าปลาหมึกกล้วย และกุ้งมีไขมันคอเลสเตอรอลสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ในขณะที่มีไขมันโอเมก้า 3 ต่ำกว่า และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดของผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้น ปลาหมึกกล้วย หอยแมลงภู่ และหอยนางรมช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) ให้แก่ร่างกาย ซึ่งไขมันชนิดนี้จะช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลส่วนเกินออกไปด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ปลาหมึกอาจมีไขมันชนิดที่ดีที่ช่วยลดระดับไขมันไม่ดีในร่างกายได้ แต่ยังคงต้องศึกษากลไกในการลดระดับไขมันร่างกายจากการบริโภคปลาหมึกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้จริงในอนาคต ดังนั้น ขณะนี้ผู้บริโภคควรรับประทานปลาหมึกในปริมาณพอเหมาะ เพราะหากบริโภคปริมาณมากอาจเสี่ยงมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เพราะในปลาหมึกมีไขมันอิ่มตัวและไขมันชนิดอื่น ๆ อยู่ด้วยเช่นกัน
  • บรรเทาอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การทานปลาหมึก อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพราะปลาหมึกเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบภายในร่างกาย โดยเฉพาะโรคนี้ เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อข้อต่อ ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้า 3 จึงเป็นการเข้าไปช่วยป้องกัน รักษา หรือบรรเทาอาการดังกล่าวได้

 

  • เสริมการทำงานของสมองและระบบประสาท

เพราะปลาหมึก เป็นอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยวิตามินบีหลายชนิด ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 9 และวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการทำงานของสมอง และระบบประสาทได้เป็นอย่างดี เพราะหากเราได้เราวิตามินต่าง ๆ อย่างเพียงพอ ร่างกายจะเกิดการหลั่งสารสื่อประสาท และการทำงานของสารเคมีในสมอง ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้อย่างเป็นปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เราจึงกล่าวได้ว่า วิตามินบีอาจช่วยป้องกัน และรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น โรคปลายประสาทอักเสบ รวมถึงโรคทางสมอง เช่น ไมเกรน อัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือผลการวิจัยที่แน่ชัดขึ้น

 

  • ช่วยสมานแผล

เนื่องจากปลาหมึกเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง จึงมีการศึกษาประสิทธิภาพของโปรตีนคอลลาเจนที่ได้จากผิวหนังชั้นนอกของปลาหมึกกล้วยไดมอนด์ พบว่าคอลลาเจนที่ได้จากปลาหมึกชนิดนี้เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสภาพผิวหนัง และกระดูกของวัว

เช่นเดียวกับอีกหนึ่งงานวิจัยที่ค้นคว้าคุณสมบัติของเจลคอลลาเจนที่ได้จากผิวหนังชั้นนอกของปลาหมึกกระดองในห้องปฏิบัติการ พบว่าหลังจากทาสารชนิดนี้ แผลติดกันเร็วขึ้น ซึ่งอาจพัฒนาสารดังกล่าวไปเป็นยาสมานแผลได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องแพ้อาหารทะเล แพ้กุ้ง ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร?

 

 

อันตรายจากการทานปลาหมึก

  • เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจลำบาก
  • มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน หรือคล้ายจะเป็นลม
  • คอบวมหรือมีก้อนในลำคอ ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงและหายใจลำบาก
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • วิงเวียนศีรษะอย่างมาก หรือหมดสติ

 

คนท้องกินปลาหมึกได้ไหม ?

 

 

สำหรับคำถามที่คนท้องต่างพากันสงสัย เราก็ต้องบอกว่า คนท้องเราสามารถกินปลาหมึกได้ค่ะ แต่ต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขว่า ปลาหมึกที่กินนั้น จะต้องถูกปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย เพราะความเสี่ยงจากการติดเชื้ออันเนื่องมาจากการทานอาหาร ก็ส่งผลร้ายกับครรภ์ได้ไม่มากก็น้อย

ทั้งนี้ ตัวคุณแม่เอง จำเป็นจะต้องทำการทดสอบก่อนว่า ตนเองมีอาการแพ้อาหารดังกล่าวอย่างปลาหมึกหรือไม่ เพราะเมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ร่างกายของตัวคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก บางอย่างที่ไม่เคยแพ้มาก่อน กลับมีอาการแพ้ในขณะที่ตั้งครรภ์ก็เป็นได้ ดังนั้นในช่วงแรก ควรรับประทานเพียงเล็กน้อย เพื่อทำการทดสอบ และไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมได้เช่นกัน

 

แม้ปลาหมึกมีสารโภชนาการที่เป็นประโยชน์และอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในบางด้าน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดปริมาณที่แนะนำในการรับประทานปลาหมึกที่ชัดเจน ผู้บริโภคจึงควรรับประทานปลาหมึกที่สด สะอาด และปรุงสุกในปริมาณที่เหมาะสมเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มสตรีมีครรภ์ ที่ควรจะให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ และหากเกิดอาการผิดปกติจากการทานปลาหมึก หรืออาหารต่าง ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะสูตรเด็ด !! เมนูปลาหมึก ราชาแห่งอาหารทะเล ทำง่าย อร่อยไม่มีวันลืม

รวมสูตร 7 เมนูหนวดปลาหมึก อร่อยเด้งหนึบหนับจนต้องติดใจ

อาหารควรกิน-เลี่ยง "ลองโควิด" หลังหายจากโควิด แต่ยังป่วยอยู่ ต้องรับมืออย่างไร

ที่มา : pobpad, hellokhunmor

บทความโดย

Arunsri Karnmana