ฝุ่น PM 2.5!! กลับมาอีกแล้ว ป้องกันลูกน้อย จากฝุ่น PM 2.5 ด้วย 8 วิธีง่าย ๆ ดังนี้
กลับมาอีกแล้ว! แต่ไม่ใช่ช่วงเซลสนั่น หั่นราคา กระตุกต่อมช้อป ของเหล่า บรรดา แม่ ๆ ทั้งหลายนะ แต่มันคือ ฝุ่น PM 2.5 ที่มาถึง แบบไม่ทันรู้ตัว ความจริงก็คือ เราคงต้องยอมรับกันไปแล้ว สำหรับมลภาวะชนิดนี้ ที่เกิดขึ้นเกือบทุกปี แต่จะทำอย่างไรดีล่ะ ลูกน้อยก็ยังเล็ก เดี๋ยวก็ต้องไปโร งเรียน ออกไปเที่ยวเล่น แต่ละสถานที่ ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในเมือง แล้วพวกเขา จะรอดพ้นจากฝุ่นร้ายนี้ได้อย่างไรกัน
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำวิธีป้องกันให้เด็ก ๆ รอดจากฝุ่น PM 2.5 ดังนี้
- หมั่นเช็กค่าฝุ่นละออง เป็นประจำ เดี๋ยวนี้มีแอปพลิเคชั่น สำหรับตรวจสอบค่าฝุ่น ในบริเวณต่าง ๆ เช่น AirVisual โหลดมาเก็บไว้ในมือถือให้เรียบร้อย ทุกเช้า ก่อนพาลูกออกไปโรงเรียน หรือไปเที่ยวข้างนอก ก็เปิดดู เพื่อจะได้รู้ว่า สถานที่ที่จะไปมีความหนาแน่นของฝุ่นมาก น้อยแค่ไหน โดยหากมีปริมาณ PM 2.5 ระดับสีเขียว (26 – 37 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร) ให้หลีกเลี่ยง การทำกิจกรรมนอกบ้าน และถ้ามีปริมาณระดับสีแดง (91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ให้งดออกนอกบ้าน ดีที่สุด
- สวมหน้ากาก สำหรับกรองฝุ่นละออง กลายเป็นเทรนด์ปัจจุบัน ที่หากใครไม่ทำตาม มีหวังถูกดิสเครดิตทันที ฉะนั้นแล้ว หาวิธีให้ลูกน้อยใส่ไว้เสมอ อย่างน้อย คุณพ่อ คุณแม่ ก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เขาจะได้ไม่รู้สึกแปลกประหลาด หรือ อาจจะหาหน้ากากลายการ์ตูน สีสันที่เด็ก ๆ ชอบ มาให้เขาไว้ใส่ แบบไม่ซ้ำกันก็ได้
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 6-8 แก้ว น้ำสะอาด จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรก ภายในร่างกาย ให้ออกไปได้ เป็นสุขศึกษาเบื้องต้น ที่ยังคงใช้ได้ดี ไม่มีเปลี่ยน
- ใช้เครื่องกรองฝุ่น โดยเฉพาะตอนกลางคืน เพราะเป็นช่วงเวลา ที่ค่าฝุ่นละอองจะหนาแน่นมาก เนื่องจาก สภาพอากาศที่เย็นลง และ เด็กจะหายใจลึกขึ้น ขณะหลับ ก็ยิ่งเสี่ยง ต่อการสูดดมละอองฝุ่นด้วย
- หมั่นกำจัดฝุ่นละอองภายในรถ รถยนต์ ถือเป็นที่เก็บฝุ่นไว้มากที่สุด เพราะใช้เป็นพาหนะโดยสารกัน ในแต่ละวันไปแล้ว ดังนั้น ควรหมั่นให้ศูนย์รถยนต์ตรวจสอบ เช็กฟิลเตอร์ เครื่องปรับอากาศภายในรถ ที่รองรับการป้องกันฝุ่น หรือใช้เครื่องฟอกอากาศร่วมด้วย
- ปลูกต้นไม้รอบบ้าน ต้นไม้ จะช่วยดูดกลืนสารพิษ ช่วยฟอก และ เพิ่มความชุ่มชื่น ในบรรยากาศ นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์สำหรับครอบครัวที่อบอุ่น และอินเทรนด์มาก ๆ
- ดูแลเด็กที่มีโรคประจำตัว อย่างใกล้ชิด หากพบว่า ลูก ๆ มีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย มีเสมหะ หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก แน่นหน้าอกให้รีบไปพบแพทย์ทันที หากสัมผัส หรือคลุกคลีกับฝุ่นเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ โรคที่เป็นอยู่กำเริบขึ้น และส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังอื่น ๆ ตามมาด้วย
- งดกิจกรรมที่สร้างฝุ่นควัน ลืมเรื่องการเผาหญ้า ก่อไฟ หรือปิ้งบาร์บีคิวกินนอกบ้านสไตล์คันทรีไปก่อนดีกว่า หรือแม้กระทั่งการจุดธูป ปรุงอาหารในบ้าน ก็ควรมีพัดลมดูดอากาศติดบ้านก็ไว้จะดี
หากเด็กเล็กสัมผัสสิ่งที่เป็นพิษทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ ย่อมจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าวัยอื่น เพราะประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันที่ไม่เหมือนผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ปกป้องเจ้าตัวน้อยเป็นพิเศษ เพื่อให้เขามีสุขภาพที่ดี ไร้โรคภัยระยะยาวในอนาคต
ป้องกันลูกน้อยจากมลพิษ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา: (childrenhospital) , (sanook)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
มลพิษในอากาศ เพิ่มความเสี่ยงคุณแม่ตั้งครรภ์ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
เชียงใหม่ค่าฝุ่นพุ่งสูง เอาอีกแล้ว ฝุ่นก็กลัว ไวรัสก็กลัว ทำไงดี?
คนท้องกับเทียนหอม แม่ท้องต้องระวัง เทียนหอมมีผลต่อร่างกายแม่และลูก!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!