X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประสบการณ์ตรง คลอดฉุกเฉิน เพราะครรภ์เป็นพิษ !

บทความ 5 นาที
ประสบการณ์ตรง คลอดฉุกเฉิน เพราะครรภ์เป็นพิษ !

แม่ขอแชร์ประสบการณ์ตรง คลอดฉุกเฉิน เพราะครรภ์เป็นพิษ ถ้าถามคุณแม่หลาย ๆ คน เชื่อว่าทุกคนก็จะตอบเหมือนกันว่า ช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์ ได้มีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้องนั้น นับเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่สุดอีกช่วงหนึ่ง แม้ว่าในขณะที่ตั้งครรภ์นั้น เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะมีอาการอะไรแทรกซ้อนขึ้นมาบ้าง

 

แม่ขอแชร์ คลอดฉุกเฉิน เหตุครรภ์เป็นพิษ

สาเหตุครรภ์เป็นพิษ ย้อนไปเมื่อตัวเองอายุได้ 32 ปี โดยประมาณ วันนั้นกำลังจะบริจาคเลือดกับที่บริษัทเก่า แต่พยาบาลพบว่าเรามีความดันที่ 180/110 พยาบาลจึงแนะให้นั่งพัก 15 นาที แล้ววัดซ้ำ แต่ผลก็ยังเป็นเช่นเดิม สรุปว่าบริจาคเลือดไม่ได้ มิหนำซ้ำคุณหมอออกใบส่งตัวให้เราไปโรงพยาบาลในวันรุ่งขึ้น วันต่อมาก็ไปโรงพยาบาลพร้อมกับให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดสรุปว่าเราเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” ซึ่งถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม จากนั้นก็กินยาและพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง  เริ่มตั้งครรภ์ เราแต่งงานและมีลูกเมื่ออายุ 35 ปี ในขณะที่ก็ยังกินยาลดความดันโลหิตสูงอยู่

 

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ก็ไปฝากครรภ์ทันทีพร้อมแจ้งคุณหมอสูตินรีแพทย์ว่า เรามีโรคประจำตัวแต่ก็ยังกินยาควบคุมได้อยู่ ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี จนกระทั่งเมื่ออายุครรภ์เข้าวันแรกของเดือนที่ 7 ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่คุณหมอสูตินรีแพทย์นัดตรวจครรภ์พอดี พอถึงคิว เราก็ขึ้นเตียงวัดความดัน ขณะนั้นเองเราสังเกตสีหน้าของคุณหมอนิ่งผิดปกติ ก็เริ่มคิดในใจแล้วว่าน่าจะมีอะไรที่ผิดปกติ หมอวัดความดันครั้งแรก แล้วหมอก็พูดซ้ำว่า “หมอขอวัดอีกครั้งนะครับ” เราก็ตอบว่า “ค่ะ” ในขณะที่วัด หน้าคุณหมอก็ยังคงนิ่งมาก และแล้วคุณหมอก็พูดว่า “วันนี้มีไปธุระที่ไหนไหมครับ?” และเราก็ตอบว่า “ไม่ค่ะ” ซึ่งความดันที่วัดได้คือ 180/110 คุณหมอได้บอกอีกว่า ไม่อย่างนั้นไปนอนแอดมิทดูอาการที่โรงพยาบาลก่อนนะครับ เดี๋ยวหมอทำใบส่งตัวไปให้” เราก็บอกว่า “ได้ค่ะ” หลังจากนั้น จากที่เราต้องกลับบ้าน เราหันหัวรถไปทางโรงพยาบาลทันทีพร้อมใบส่วนตัวให้ไปที่แผนกห้องคลอดฉุกเฉิน แต่ว่าส่วนตัวก็ไม่มีอาการอะไรนะคะ ยังเดินขึ้นไปที่ห้องคลอดฉุกเฉินได้อยู่

 

คลอดฉุกเฉิน

 

เมื่อต้องแอดมิทที่แผนกห้องคลอดฉุกเฉิน

แอดมิทครั้งแรก หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าเข้าแอดมิทที่ห้องคลอดฉุกเฉิน การเข้าเยี่ยมคือได้วันละ 1 ชั่วโมง คือ ประมาณ 18:00-19:00 น. พอเข้าไปถึงปุ๊บพยาบาลวิชาชีพ 2 คน พยาบาลฝึกหัด 3 คนมาช่วยกันปิดม่าน ฉีดยากันชักให้แม่ ยากระตุ้นปอดเด็ก เช็ดตัว เปิดเส้นให้น้ำเกลือ ใส่สายสวน และต้องมอนิเตอร์ความดันทุกชั่วโมง คือทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากภายในไม่เกิน 15 นาที พอสามีเดินเข้ามาหาสภาพจากที่ดูไม่ป่วยก็ดูป่วยทันที  คืนนั้นเวลาผ่านไปประมาณ 1 ทุ่ม คุณหมอให้กลับบ้านได้แต่ไปดูอาการที่บ้านต่อ วัดความดันตลอด พอมาถึงบ้านก็นอนพักต่อ แต่เวลาผ่านไปประมาณเกือบเที่ยงคืน ต้องกลับเข้าแอดมิทอีกรอบเพราะความดันยังสูงอยู่ 190/110

 

แอดมิทครั้งที่สอง กลับมาที่ห้องฉุกเฉิน ภาพทุกอย่างมันเหมือนเดจาวู ทุกอย่างกลับไปทำเหมือนครั้งแรกที่เพิ่งแอดมิท แต่คราวนี้ไม่เหมือนคราวแรกตรงที่อยู่ยาว พยาบาลกำชับว่า ถ้ามีอาการดังนี้ให้เรียกพยาบาลทันที “แน่นหน้าอก จุกที่ลิ้นปี่ ตาพร่ามัว มองเห็นแสงเป็นเส้น ๆ และปวดหัว” เพราะอาการเหล่านี้คือ อาการนำชัก ที่อาจทำให้เสียชีวิตทั้งแม่ทั้งลูก

 

เข้าวันที่ 4 ของการแอดมิท คุณหมอให้ถอดสายสวนได้ เวลาจะไปห้องน้ำให้เดินไปเข้าห้องน้ำได้ ซึ่งพอเราเดินเข้าห้องน้ำปุ๊บกลับมาที่เตียงความดันก็ขึ้น ต้องโดนให้ยาลดความดันผ่านสายน้ำเกลือ เป็นแบบนี้อยู่หลายครั้ง ร่างกายก็บวมมาก มองหาเส้นเลือดไม่เจอ จนเข้าวันที่ 7 ของการแอดมิท หมอมาดูอาการ สรุปว่าต้องผ่าคลอดก่อนกำหนด เพราะ 2-3 วันหลังมานี่ อาหารที่แม่กินเข้าไปมันไม่ถึงลูกแล้ว แต่คุณหมอพูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลเหมือนเคยว่า  “คุณแม่ต้องทำใจนะครับ เพราะอายุครรภ์คือ 7 เดือน 4 วัน” แต่เกิดครรภ์เป็นพิษ ต้องผ่าคลอดฉุกเฉิน ทันทีที่คุณหมอตัดสินใจที่จะผ่าคลอดก่อนกำหนด ทีมพยาบาล และทีมวิสัญญีก็เตรียมพร้อมความพร้อมให้คุณหมอเตรียมห้อง

 

ในขณะที่คุณหมอเตรียมห้อง ก็โทรบอกสามีและอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมต้องผ่าตัด สามีก็เดินทางมาที่โรงพยาบาลทันที ความกังวลของเราก็เกิดขึ้นอีกแล้ว  “ถ้าผ่าคลอดแล้ว ลูกมีอายุ 7 เดือน 4 วัน จะร้องเหมือนเด็กที่คลอดปกติทั่วไปมั้ยนะ?” แต่การผ่าคลอดเป็นไปด้วยดี ไม่กี่นาทีก็ได้ยินเสียง…“อุแว๊ อุแว๊” เราดีใจที่สุด  ICU เด็กทารกแรกเกิด น้องมิน คลอดออกมาด้วยน้ำหนัก 1,240 กรัม ทันทีที่คลอดออกมาต้องพาน้องมินเข้าห้อง ICU เด็กเลย เพื่อทำการดูแลรักษากันต่อไป หลังจากผ่าคลอดแล้ววันที่ 2 เราก็ลงไปหาลูกที่ห้อง ICU เด็ก น้ำหนักก่อนเข้าตู้อบอยู่ที่ 1,240 กรัม แต่พอหลังจากเข้าตู้อบแล้วน้ำหนักลดลงเหลือ 1,100 กรัม มีสาย feed อาหารส่งยาวไปถึงกระเพาะอาหาร

 

คำถามคือ “แล้วเมื่อไหร่ลูกถึงจะออกจากห้อง ICU เด็ก แล้วไปอยู่ที่ห้องทารกแรกเกิดปกติได้?” 1,800 กรัม คือ เป้าหมายค่ะ  หลังจากผ่าคลอดได้ 2-3 วัน แผลผ่าคลอดที่ยังเจ็บอยู่ ความดันยังคงสูงอยู่ เรียกว่าสูงเกินเครื่องวัดจะวัดได้ทั้งแบบดิจิทัลและแบบ Manual แต่ด้วยความที่เราคิดถึงลูก บอกสามีว่าอยากไปหาลูก สามีก็พานั่งรถเข็นไปหาที่ห้อง ICU เมื่อเข้าไปถึงห้อง พยาบาลที่ห้องบอกให้เราและสามีล้างมือให้สะอาดก่อน จำได้ว่าการล้างมือครั้งนี้เป็นการล้างมือที่สะอาดที่สุดในชีวิตเท่าที่เคยล้างมา คือล้างไปถึงข้อศอก เพราะกลัวลูกจะติดเชื้อ ล้างกันเสร็จสรรพก็ค่อย ๆ เดินเข้าไปหาลูก เมื่อเจอตู้ที่ลูกอยู่ความรู้สึก ณ ตอนนั้นคือ ดีใจปนใจหายเล็กน้อย เพราะตัวลูกเล็กมาก เราได้แต่ยืนมองดูลูกผ่านตู้ใส จนพยาบาลเดินมาบอกว่า  “คุณแม่สามารถเปิดตู้ เอามือไปจับลูก พูดกับลูกได้เลยนะคะ เพราะลูกจะได้รับรู้ว่าคุณแม่มาหาแล้ว”  ได้ฟังอย่างนั้น เราก็ไม่รีรอ เปิดตู้ในส่วนที่เป็นช่องสำหรับเอามือสอดเข้าไปได้ จำได้ว่าเป็นการจับมือลูกอย่างแผ่วเบามากที่สุดในชีวิต และพูดกับลูกว่า  “หม่าม้ามาหาหนูแล้วนะคะลูก หนูต้องแข็งแรงนะคะ หม่าม้าจะมาหาหนูทุกวันนะ เราจะกลับไปอยู่บ้านด้วยกัน” 

 

คลอดฉุกเฉิน

 

เวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือนในห้อง ICU

เราไปหาลูกทุกวัน ดูแลลูกทุกวัน พูดคุยกับลูกทุกวัน และแล้ววันนั้นก็มาถึง น้องมินน้ำหนักถึงเกณฑ์ ได้ย้ายไปอยู่ห้องเด็กแรกเกิดปกติ  น้ำนมแม่ ทำให้ลูกรอดชีวิต ต้องบอกว่าน้ำหนักของน้องมินยังขึ้น ๆ ลง ๆ บางวันมีคอนเทนต์บางส่วนที่ต้องดูดออกจากกระเพาะ แล้วค่อยรอจนกว่าจะกินนมมื้อถัดไป “อะไรคือ สิ่งที่ทำให้น้องมินรอดชีวิต?” หลังจากออกจากห้องคลอด สิ่งที่เราต้องทำคือ ปั๊มนม ปั๊ม ๆ ๆ และก็ปั๊ม จำได้ว่าครั้งแรกที่ได้น้ำนมเป็นน้ำนมหัวเหลือง (มีประโยชน์มากที่สุด) ปริมาณ 2 cc. ให้สามีวิ่งลงไปให้ที่ห้อง ICU เด็ก พยาบาลบอกว่าได้เท่าไหร่ก็เอามาได้เลยหลังจากนั้น “วินัย” คือ ตัวสำคัญ คุณแม่ที่มีลูกน้อย การปั๊มนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เป็นอะไรที่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ น้องมินกินแต่นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่วันแรกที่ออกจากท้องของโน้ตไปจนวันที่สามารถออกจากโรงพยาบาลได้

 

ก่อนออกจากโรงพยาบาล พยาบาลย้ำว่า “ถ้ากลับบ้านแล้ว ลูกมีน้ำหนักลดต่ำกว่า 1,800 กรัม ต้องกลับมาโรงพยาบาลนะคะ” ประโยคนี้ยังก้องอยู่ในหัว และนั่นคือสิ่งที่ โน้ตสัญญากับตัวเองและลูกว่า “แม่จะดูแลหนูให้ดีที่สุด จะไม่ให้หนูต้องกลับมาโรงพยาบาลเพราะน้ำหนักลดเด็ดขาด” นับจากวันนั้นจนวันนี้ น้องมินมีอายุได้ 7 ขวบ น้องมินไม่เคยกลับไปโรงพยาบาลเพราะน้ำหนักตัวลดอีกเลย น้ำนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลกสำหรับทารกแล้วจริง ๆ

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

อาการครรภ์เป็นพิษ เป็นอย่างไร สาเหตุของครรภ์เป็นพิษคือ?

ประสบการณ์แม่ความดันสูงไม่รู้ตัว สู่การผ่าคลอดก่อนกำหนด

ครรภ์เป็นพิษอันตรายต่อคนท้องอย่างไร อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นแบบไหน

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Guest Post

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ประสบการณ์ตรง คลอดฉุกเฉิน เพราะครรภ์เป็นพิษ !
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ