X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความ 5 นาที
ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

น้ำคร่ำ มีความสำคัญในการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่ช่วยป้องกันทารกและสายสะดือไม่ให้ถูกกด ช่วยเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาระบบในร่างกายอีกด้วย แต่ถ้าเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยหรือ ภาวะน้ำคร่ำมาก ลูกในครรภ์จะเป็นอย่างไร บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักภาวะน้ำคร่ำมาก และสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ค่ะ มาดูกันว่าภาวะนี้อันตรายหรือไม่

 

ภาวะน้ำคร่ำมาก คืออะไร

ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คือ ภาวะที่ปริมาณน้ำในถุงน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นจนผิดปกติ ทำให้ถุงน้ำคร่ำขยายตัวจนส่งผลให้คุณแม่มีอาการแน่นท้อง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และอาการอื่น ๆ หากคุณแม่มีน้ำคร่ำมากในระดับที่ไม่รุนแรง ก็อาจมีสัญญาณที่ไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับคุณแม่บางคน หากมีอาการภาวะน้ำคร่ำมาก ก็อาจทำให้เกิดผลร้ายจนถึงขั้นแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ตาม น้ำคร่ำมากมักเป็นภาวะที่พบได้น้อย มีอัตราการเกิด 1-2% และมักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตัวเอง เพื่อให้พร้อมรับมือกับภาวะนี้

 

น้ำคร่ำมาก เกิดจากอะไร

ภาวะน้ำคร่ำเยอะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากการพัฒนาของทารกในครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดจากตัวคุณแม่เอง แต่บางคนก็อาจไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัด โดยสาเหตุที่มักทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมาก มีดังนี้

  • สายรกผิดปกติ
  • ทารกลำไส้อุดตัน
  • โรคจากพันธุกรรม
  • การตั้งครรภ์ฝาแฝด
  • โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด
  • ภาวะของเหลวเกินในทารก
  • ภาวะโลหิตจางของลูกในครรภ์
  • โรคประจำตัวของคุณแม่ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ภาวะบกพร่องที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

 

ภาวะน้ำคร่ำมาก

 

อาการของน้ำคร่ำมาก

เมื่อเกิดภาวะน้ำคร่ำมาก จะส่งผลให้ถุงน้ำคร่ำขยายใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดแรงดันบริเวณอวัยวะใกล้ ๆ ช่องคลอด ซึ่งหากเกิดภาวะน้ำคร่ำเยอะที่ไม่รุนแรง ก็อาจไม่แสดงอาการใด ๆ อย่างชัดเจน แต่ถ้าหากเกิดความรุนแรงนั้น อาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ท้องผูก
  • มดลูกบีบตัว
  • อาหารไม่ย่อย
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ทารกไม่กลับหัว
  • แสบร้อนกลางอก
  • ช่องคลอดขยายตัว
  • หายใจติดขัด หายใจไม่ออก
  • เท้าบวม ขาบวม สะโพกบวม ท้องบวม และแน่นท้อง

หากคุณแม่มีอาการข้างต้นนี้ หรือมีการขยายของหน้าท้องอย่างรวดเร็ว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป เพราะอาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ

 

วิธีสังเกตภาวะน้ำคร่ำมาก

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า หากคุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มเล็กน้อย ก็อาจไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ แต่ถ้าหากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก อาจสังเกตว่าตัวเองครรภ์โตเร็วผิดปกติ และมีอาการอึดอัดแน่นท้อง โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีปริมาณน้ำคร่ำมาก อาจส่งผลให้หายใจติดขัดหรือหายใจลำบาก เนื่องจากกะบังลมถูกดันขึ้นมาถึงปอด จนทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

 

ภาวะน้ำคร่ำมาก

 

การวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำมาก

ขั้นตอนแรกแพทย์จะสอบถามอาการของผู้ป่วย และตรวจร่างกายเพื่อหาอาการของโรค เช่น อาการบวมในร่างกาย จากนั้นแพทย์จะตรวจครรภ์เพื่อตรวจสอบลักษณะของทารกและถุงน้ำคร่ำ หากปรากฏว่าคุณแม่มีความเสี่ยงของภาวะน้ำคร่ำมาก แพทย์จะตรวจอัลตราซาวนด์เฉพาะจุด เพื่อตรวจดูปริมาณน้ำคร่ำและขนาดถุงน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยบอกสาเหตุของภาวะนี้และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น แพทย์ยังตรวจเลือดของคุณแม่เพื่อหาโรคติดเชื้อ และทำการเจาะถุงน้ำคร่ำเพิ่มเติม หากพบว่าคุณแม่มีแนวโน้มน้ำคร่ำมาก แพทย์จะใช้วิธีตรวจอัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อยในครรภ์ เพื่อตรวจดูการเคลื่อนไหวและการหายใจ รวมถึงปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์อีกด้วย

 

การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก

ปกติแล้ว ภาวะน้ำคร่ำเยอะมักไม่รุนแรงและมักหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่มาตรวจขนาดถุงน้ำคร่ำเสมอเพื่อตรวจดูความผิดปกติ หากคุณแม่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมากได้ด้วย แพทย์จะให้คุณแม่ใช้ยารักษาที่ช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ หรือหากคุณแม่เป็นโรคประจำตัวอื่น ๆ แพทย์ก็จะใช้วิธีนี้ในการรักษาเช่นกัน

ส่วนคุณแม่ที่มีอาการปวดท้อง หายใจติดขัด และมีสัญญาณคลอดก่อนกำหนด ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีรักษาโดยวิธีดังนี้

  • การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะน้ำคร่ำส่วนเกินออก จะช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำให้อยู่ในระดับปกติได้ อีกทั้งยังช่วยลดอัตราเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะให้คุณแม่เข้ารับการตรวจหลังการรักษาเพื่อติดตามอาการต่อไป
  • การใช้ยาอินโดเมตทาซิน (Indomethacin) การใช้ยาชนิดนี้ จะช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำของปัสสาวะของทารกในครรภ์ ซึ่งในการรักษาด้วยยานี้ ลูกในครรภ์ต้องได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าและตรวจสุขภาพครรภ์ด้วย
  • คลอดก่อนกำหนด วิธีนี้จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพราะคุณแม่ที่มีน้ำคร่ำมาก อาจตั้งครรภ์นานถึง 40 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

 

ภาวะน้ำคร่ำมาก

 

วิธีป้องกันน้ำคร่ำมาก

สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้วางแผนในการรักษาก่อนการตั้งครรภ์ วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากได้ โดยแพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเอง การรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตของคุณแม่ นอกจากนี้ หากคุณแม่อยู่ในช่วงพักรักษาจากภาวะน้ำคร่ำมาก ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรหลีกเลี่ยงภาวะเครียด เพราะหากคุณแม่มีความกังวลก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพครรภ์อีกเช่นกัน ดังนั้น อย่าลืมไปตรวจครรภ์บ่อย ๆ นะคะ

 

หากเกิดภาวะน้ำคร่ำมากในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น หากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก และมีอาการบวมตามร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ หากพบว่ามีภาวะนี้ แพทย์จะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?

อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์
แชร์ :
  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
    บทความจากพันธมิตร

    ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
    บทความจากพันธมิตร

    ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว