นมจากพืช หรือนมที่มีส่วนผสมมาจากวัสดุทางธรรมชาติ นิยมทานกันเป็นอย่างมากในหมู่ผู้ที่ทานมังสวิรัติ แล้วสำหรับเด็กหละ นมจากพืชมีสารอาหารมากเพียงพอที่จะได้เด็กทานแทนนมแม่ หรือนมจากสัตว์หรือเปล่า มาดูกัน
นมจากพืช คืออะไร?
นมที่ทำจากพืช เป็นนมที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส ซึ่งแลคโตสนั้นจะพบมากในน้ำนมที่ได้มาจากสัตว์ และบางคนอาจเกิดการแพ้แลคโตสนี้ได้ โดยมีสาเหตุมาจากลำไส้ไม่สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยแลคโตสได้ จึงทำให้เกิดก๊าซในช่องท้องจำนวนมาก ส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ผายลมบ่อยครั้ง หลังจากที่ทานนมเข้าไปแล้วประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ดังนั้นจึงเป็นเหตุทำให้คนที่เกิดการแพ้แลคโตสนั้นหันมาทานนมจากพืชที่ปราศจากแลคโตสแทน นอกจากนี้นมที่ได้มาจากพืชนั้นยังนิยมทานมาในหมู่ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติอีกด้วย
ควรให้เด็กกินนมจากพืชหรือไม่?
เหตุผลของการให้เด็กดื่มนมจากพืชนั้นแต่ละครอบครัวก็มีเหตุผลแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่มักมาจากการที่เด็กแพ้นมวัว หรือแลคโตส และอีกหนึ่งเหตุผลที่ปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือการที่ครอบครัวเป็นครอบครัวที่ทานมังสวิรัตินั่นเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่านมจากพืชดูมีประโยชน์เทียบเท่านมวัว แต่คุณไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบทานได้ เพราะเด็กในวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปีควรได้รับสารอาหารจากการทานนมแม่ และหากคุณต้องการให้ลูกน้อยของคุณรับประทานนมที่ทำมาจากพืชแล้วหละก็ ควรที่จะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนในการทานของเด็ก ๆ ก่อน เพราะหากพวกเขาต้องการเริ่มต้นที่จะเป็นมังสวิรัติ พวกเขาควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในวัยเจริญเติบโตนี้ โดยการที่เด็กทานนมจากพืชจะได้รับแคลเซียมจากนมอยู่ที่ประมาณ 300-400 มิลลิกรัม ซึ่งอยู่ปริมาณที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป โดยปริมาณที่เด็กควรได้รับต่อวัน มีดังต่อไปนี้
-
- ทารก อายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องการแคลเซียม 525 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี ต้องการแคลเซียม 350 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กที่มีอายุ 4-6 ปี ต้องการแคลเซียม 450 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 7-10 ปี ต้องการแคลเซียม 550 มิลลิกรัมต่อวัน
ซึ่งจะเห็นว่าเด็กมีแต่ละช่วงอายุมีความต้องการแคลเซียมต่อวันในจำนวนที่แตกต่างกันออกไป และคุณสามารถให้พวกเขาทานอาหารประเภทอื่น เพื่อเสริมแคลเซียมให้พวกเขาได้เพิ่มเติม เช่น โยเกิร์ตธรรมชาติ และพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ : นมแม่มีประโยชน์แค่ 6 เดือนแรก จริงหรือ?
นมจากพืชที่นิยมทานในไทยมีอะไรบ้าง?
ช่วงหลังในประเทศไทยของเราเริ่มหันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพกันมากขึ้น โดยเห็นได้จากการมีผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืชออกขายตามร้านสะดวกซื้อ หรือแม้แต่เทรนการลดน้ำหนักที่ทำให้คนหันมาสนใจทานผลิตภัณฑ์จากพืชกันมากยิ่งขึ้น โดยในประเทศไทยมีการทานนมจากพืชหลัก ๆ อยู่เพียงไม่กี่ชนิด และแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ไปดูกันดีกว่ามีอะไรบ้าง
1. นมถั่วเหลือง
นมที่มีในประเทศไทยมานานแสนนาน เรียกได้ว่าหากไม่ทานนมวัวแล้ว นมถั่วเหลืองถือเป็นสิ่งที่ทดแทนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนมถั่วเหลืองนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ประกอบอยู่ มีดังต่อไปนี้
-
- สารยับยั้งเอนไซม์ทริปซิน (Trypsin inhibitor) เป็นสารที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทริปซินที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในร่างกายของเรา หาโปรตีนถูกย่อยสลายนั้นอาจทำให้สารอาหารที่เราได้รับนั้นมีประสิทธิภาพลดลง และทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้
- เลคติน (Lectin) จัดอยู่ในกลุ่มของโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยในการจับ และรวมตัวกับน้ำตาลในกระแสเลือดของเราได้ ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี และภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
- กรดไฟติก (Phytic Acid) ส่วนมากจะพบในพืชตระกูลถั่ว โดยจะช่วยในเรื่องของการดึงสารโลหะหนัก และแร่ธาตุออกจากเซลล์ และควบคุมการสร้างเม็ดสี
- โอลิโกแซคคาไรด์ที่ย่อยไม่ได้ (Indigestible Oligosaccharides)
2. นมอัลมอนด์
เป็นอีกหนึ่งในนมจากพืชที่กำลังแรงมาแรงในยุคของคนรักษาสุขภาพ โดยนมอัลมอนด์นั้นมีแคลอรีน้อย แต่มีสารอาหารเป็นจำนวนมาก โดยนมอัลมอนด์ไม่มีน้ำตาล แต่มีรสหวานในตัวเอง และคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีแคลอรีน้อยกว่านมที่มาจากสัตว์ถึง 50-80 เปอร์เซ็นต์ แต่มีความเข้มข้นเทียบเท่ากับนมจากสัตว์เลยทีเดียว รวมถึงยังมีแคลเซียมที่มีส่วนช่วยในเรื่องของสุขภาพของกระดูก โครงสร้างกระดูก ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และความแข็งแรงของกระดูกเด็ก ๆ ที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตอีกด้วย ทั้งนี้นมอัลมอนด์ยังเป็นแหล่งของวิตามินอี ที่ดีต่อร่างกายของเด็ก ๆ และอุดมไปด้วยแมกนีแซม ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และให้พลังงานแก่ร่างกายได้
3. นมมะพร้าว หรือกะทิ
มีการศึกษาวิจัยหนึ่งพบว่ากะทินั้นเป็นแหล่งไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ที่เรียกว่า Medium-Chain Triglycerides (MCTs) และมีงานวิจัยหลายชิ้นได้สนับสนุนเกี่ยวกับไขมันในกะทิไว้ว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ โดยการลดความอยากอาหาร และเพิ่มพลังงาน ซึ่งการบริโภคกะทินั้นจะลดไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันที่ไม่ดี (Low Density Lipoprotein : LDL) และในขณะเดียวกันจะช่วยเพิ่มไขมันที่มีความหนาแน่นสูง ไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL) ที่มีผลต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้กะทิยังมีประโยชน์ต่อร่างกายของเด็ก ๆ ในส่วนอื่น ๆ เช่น
-
- ลดความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล
- สร้างกล้ามเนื้อ และช่วยลดไขมันไม่ดี
- อุดมไปด้วยอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) และสามารถป้องกันอาการเหนื่อยล้าได้
- มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร
- บรรเทาอาการท้องผูก
4. นมข้าวโอ๊ต
ส่วนใหญ่แล้วคนไม่นิยมทานนมข้าวโอ๊ตกันเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่มักจะทานข้าวโอ๊ตกับนมโดยตรงไปเลย แต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนมข้าวโอ๊ตยังมีออกมาขายอยู่เลย ๆ แต่จะไม่ได้รับความนิยมเท่านมถั่วเหลือง หรือนมอัลมอนด์ โดยข้าวโอ๊ตถือเป็นโฮลเกรน 100 เปอร์เซ็นต์ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ โปรตีน วิตามินบี และแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็ก แคลเซียม และแมกนีเซียม ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ข้าวโอ๊ตยังมีเส้นใยอาหารต่าง ๆ เช่น เบต้ากลูแคน (Beta Glucan) พรีไบโอติก (Prebiotic) ที่ช่วยเรื่องการลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และระบบขับถ่ายที่ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น ลดอาการท้องผูก
สำหรับเด็ก ๆ ที่แพ้นมวัว หรือแลคโตสแล้วนั้น ผู้ปกครองบางบ้านอาจจะเลือกนมจากสัตว์อื่น ๆ มาเป็นตัวช่วยเสริมในเรื่องของแคลเซียมที่จำเป็นต่อร่างกายในวัยเจริญเติบโต แต่อย่าลืมว่าความจริงแล้วแคลเซียมนั้นไม่ได้มีแค่ในสัตว์เพียงอย่างเดียว เพราะนมจากพืชก็มีแคลเซียมที่สามารถทดแทน และทัดเทียมกับนมวัวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือดทานนมชนิดไหน คุณควรให้เด็ก ๆ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาการทางร่างกายของเขาในวัยที่กำลังเจริญเติบโตนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เด็กกินมังสวิรัติ ดีต่อสุขภาพหรือไม่? ปลอดภัยหรือเปล่า?
ลูก แพ้นมวัว ดูแลอย่างไร ไม่ขาดสารอาหารสำคัญ
ที่มา : myveganchild, healthyfrenchwife, sharp, ncbi
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!