X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โภชนาการช่วงแรกของชีวิต เริ่มได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

บทความ 5 นาที
โภชนาการช่วงแรกของชีวิต เริ่มได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่วางแผนจะมีลูก หลายคนคงนึกถึงอนาคตของลูก อยากให้เขาโตขึ้นมาเป็นเด็กดี ประสบความสำเร็จ นั่นคือเรื่องในอนาคตที่ต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งเลยที่คุณแม่สามารถส่งต่อให้ลูกได้ตั้งแต่วันนี้ คือสุขภาพที่ดีผ่านทางโภชนาการ เพราะสิ่งที่คุณแม่กินเข้าไปทุกคำ จะแปรเปลี่ยนเป็นชีวิตน้อยๆ หนึ่งชีวิต

คุณแม่หลายคนมักให้ความสำคัญกับ “โภชนาการ” ก็ต่อเมื่อตั้งครรภ์ไปแล้ว หรือเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ แต่รู้ไหมคะว่าการเสริมโภชนาการที่ดี หรือที่เรียกว่า “โภชนาการช่วงแรกของชีวิต” นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนถึงเจ้าตัวเล็กอายุประมาณ 5 ขวบ เพราะช่วงการเตรียมตัวเพื่อมีลูกน้อยนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญไม่แพ้ช่วงอื่นๆ เลยทีเดียวค่ะ แต่จะสำคัญอย่างไรนั้น เรามีมาบอกกันค่ะ

เตรียมโภชนาการอย่างไร ตั้งครรภ์ง่ายได้คุณภาพ

1. กรดโฟลิก

สารอาหารที่สำคัญช่วงก่อนตั้งครรภ์นั้น  อันดับแรกคงหนีไม่พ้นกรดวิตามินบี 9 ชื่อหนึ่ง “กรดโฟลิก” หรือที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า “โฟเลต” ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม เป็นวิตามินที่ต้องกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้างกรดนิวคลีอิก และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ โดยเฉพาะของลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้ร่างกายต้องใช้กรดโฟลิกในกระบวนการใช้น้ำตาลและกรดอะมิโนนอกจากโฟลิกชนิดเม็ดที่คุณหมอจะจ่ายให้คุณแม่ที่ฝากครรภ์แล้ว คุณแม่ยังสามารถรับประทานโฟลิกที่มีอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท แคนตาลูป ฟักทอง ถั่ว ฯลฯ

สำหรับสตรีตั้งครรภ์แนะนำให้รับประทานกรดโฟลิก ที่ 200-400 ไมโครกรัมต่อวัน เพราะในขณะตั้งครรภ์ลำไส้สามารถดูดซึมกรดโฟลิกจากอาหารได้ลดลงและมีการสูญเสียกรดโฟลิกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ กรดโฟลิกนี้จำเป็นต้องรับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือนจนถึงช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 เพื่อลดความผิดปกติของระบบประสาทในทารก โดยเฉพาะโรคหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects) เนื่องจากทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการของสมองและระบบประสาทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปฏิสนธิ โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการปฏิสนธิ (วันที่ 21-28) ยังช่วยป้องกันหรือลดความพิการของอวัยวะระบบอื่น ๆ เช่น ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วย

อาหารที่มีกรดโฟลิกสูงมีอยู่ในอะไรบ้างดูต่อได้ที่นี่ค่ะ

 

2.ธาตุเหล็ก

เพราะช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่คุณแม่เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางมากที่สุด เนื่องจากการตั้งครรภ์มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เพื่อส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ร่วมกับประสิทธิภาพในการย่อย และดูดซึมสารอาหารต่างๆ ในหญิงตั้งครรภ์ลดลง โดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความต้องการธาตุเหล็กในปริมาณ 6-7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งในอาหารปกติที่รับประทานทุกวันมีปริมาณเพียง 1-2 มิลลิกรัมเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอ แพทย์จึงให้มักให้ธาตุเหล็กเสริมในคุณแม่ตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก คุณหมอาจจะยังไม่จ่ายธาตุเหล็กให้ เพื่อป้องกันอาการระคายกระเพาะอาหารจากการแพ้ท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะหมดในช่วงไตรมาสที่ 2 ช่วงนี้คุณหมอถึงจะจ่ายธาตุเหล็กให้ค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากรับประทานธาตุเหล็กแล้วอุจจาระเป็นสีคล้ำหรือดำไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะเป็นเรื่องปกติ

อาหารที่ธาตุเหล็กสูงมีอะไรบ้างดูต่อได้ที่นี่ค่ะ

 

shutterstock_501281002

3.แคลเซียม

แคลเซียมเป็นกำลังหลักในการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ คุณแม่ที่ตั้งท้องอยู่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น หากคุณแม่ไม่ได้กินแคลเซียมบำรุงเลย ร่างกายก็จะยังมีแคลเซียมเพียงพอต่อการสร้างกระดูกของลูกในท้อง เพราะ 90% ของร่างกายคนเราจะมีแคลเซียมสะสมในกระดูกอยู่แล้ว ลูกในท้องสามารถดึงแคลเซียมจากแม่ไปใช้ได้ทันที โดยจะดึงไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวคุณแม่ กรณีนี้ถ้าคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว เช่น กระดูกผุง่าย เป็นต้น

อาหารที่อุดมแคลเซียมดูต่อได้ที่นี่ค่ะ

4.วิตามินบี

นอกจากวิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิกแล้ว ยังมีวิตามินบีรวมอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย ทั้งวิตามิน บี 1 บี 2 บี 6 และ บี 12 แต่สำหรับ วิตามินบีที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ที่ได้รับการแนะนำนั้น ควรเป็นวิตามินที่ได้จากอาหารธรรมชาติ ซึ่งวิตามินบีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานได้แก่

4.1 วิตามิน B1 หรือไทอะมีน (Thiamine) ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลางของทารก และในกรณีที่ได้รับวิตามินนี้น้อยไป จะมีผลเสียต่อหัวใจและปอดของทารกได้ วิตามิน B1 ตามธรรมชาติได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี และไข่ ซึ่งมีวิตามิน B1 สูง

4.2 วิตามิน B2 หรือไรโบฟลาวิน (Riboflavin) มีส่วนอย่างมากกับการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ให้เจริญเติบโต ถ้าได้รับน้อยเกินไป จะส่งผลทำให้สมองของทารกพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือมีขนาดเล็กกว่าปกติ วิตามิน B2 ตามธรรมชาติได้แก่ ไข่แดง ตับ เนื้อสัตว์ และ โยเกิร์ต

4.3 วิตามิน B6 หรือ ไพริด็อกซิน (Pyridoxine) มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับระบบการทำงานของสมองและการทำงานของระบบประสาท อันนี้เป็นประโยชน์กับทั้งคุณแม่และลูกน้อยวิตามิน B6 ตามธรรมชาติได้แก่ ตับ หอยนางรม และ ไข่

4.4 วิตามิน B12 หรือโคบาลามิน (Cyanocobalamin) ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง ทำให้ทารกเติบโตตามปกติ ไม่เกิดอาการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองของทารก วิตามิน B12 ตามธรรมชาติได้แก่ ปลาและหอย เนื้อ (โดยเฉพาะตับ) ไก่ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์นม

 

นี่คือหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะต้องรับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เรื่อยมาจนถึงช่วงตั้งครรภ์ในปริมาณที่สูงกว่าคนปกติ เนื่องจากต้องใช้บางส่วนในการสร้างชีวิตใหม่ของลูกน้อย ไม่เพียงแค่อวัยวะต่างๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงสุขภาพโดยรวมอีกด้วย การกินวิตามินเหล่านี้หากคุณแม่มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดีก็สามารถรับประทานได้ตั้งแต่ช่วงเตรียมการตั้งครรภ์ได้เลย แต่หากมีโรคประจำตัวอยู่ด้วยก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อสร้าง “โภชนาการช่วงแรกของชีวิต” ให้กับลูกน้อย อย่าลืมว่าช่วงก่อนตั้งครรภ์นั้นสำคัญไม่แพ้ช่วงอื่นๆ นะคะ

 

ที่มา

https://www.mumbabe.com/วิตามิน-b-สารอาหารสำคัญของ-เด็กในครรภ์/

https://medthai.com/วิตามินสำหรับคนท้อง

https://baby.kapook.com/

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • โภชนาการช่วงแรกของชีวิต เริ่มได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว