X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน

บทความ 5 นาที
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน

อีกหนึ่งโรคที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจเนื่องจากมีผลกระทบต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ของเด็ก หากเด็กได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะทำให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงและคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำความรู้จักกับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีความอันตรายแค่ไหน ไปดูกันเลย!

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก คืออะไร

ภาวะนี้ คือการที่ระบบหายใจทำงานช้าลง หรือหยุดหายใจในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยมีผลทำให้ออกซิเจนในร่างกายของทารกลดลง จนทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น มีผลทำให้ทารกตื่นจากการนอนหลับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนของทารก ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในเวลาต่อมา รวมไปถึงยังส่งผลต่อด้านพฤติกรรม อารมณ์ สมาธิ และการเรียนรู้ภายหลังอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เกิดจากอะไร

จากการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดโรคนี้พบได้ประมาณ 1 – 5% ของประชากรทั้งหมด โดยมีอัตราการนอนกรน ชนิดที่ไม่หยุดหายใจอยู่ที่ประมาณ 4 – 12% โดยสามารถพบได้บ่อย ๆ ในทารกช่วงอายุ 2 – 6 ปี ทั้งนี้เนื่องจากทางเดินหายใจยังมีขนาดที่เล็ก และมักเกิดปัญหาเรื่องของการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ อีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากลูกน้อยของเรามีอาการนอนกรน ก็ยังบ่งบอกถึงสัญญาณเตือนเบื้องต้นของการเกิดภาวะนี้ได้ด้วย ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด โดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุที่พบในเด็กทารกเกี่ยวกับภาวะนี้ ได้แก่

  • ต่อมอดีนอยด์และต่อมทอนซิลโต ต่อมเหล่านี้ของเด็กทารก เกิดการอักเสบซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะจากเหตุผลใด ๆ เช่น การอักเสบจากการเป็นหวัดบ่อย ๆ
  • โรคอ้วน อาจส่งต่อมาทางพันธุกรรม หรือมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
  • ความผิดปกติจากสภาพร่างกายอื่น ๆ เช่น การที่เด็กมีโครงสร้างทางเดินหายใจที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจนั่นเองค่ะ

 

อาการที่สามารถสังเกตได้

ในอาการเริ่มแรก เด็ก ๆ มักแสดงอาการให้เห็นในขณะหลับ ซึ่งก็คือลักษณะของการนอนกรน ดังนี้

  • นอนกรนในบางช่วง ของการนอน
  • นอนกรนในช่วงแรกที่เริ่มต้นหลับได้ไม่นาน
  • นอนกรนเป็นประจำ แต่อาจจะไม่ทุกวัน

อาการอื่น ๆ ที่มักพบร่วมด้วย

  • นอนอ้าปาก
  • หายใจเสียงดังกว่าปกติ
  • อาการหายใจสะดุด หรือหยุดหายใจ
  • ไอหรือสำลักขณะหลับ
  • มีอาการกระสับกระส่าย ขยับไปมาระหว่างการนอน
  • เหงื่อออกมากขณะหลับ
  • สมาธิสั้น
  • ในเวลาที่ไม่ได้นอนหลับ จะมีอาการบกพร่องในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรม

 

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะสอบถามประวัติจากผู้ปกครองและตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่า เด็กอาจจะเป็นภาวะนี้ แพทย์อาจมีการตรวจโดยการใส่กล้องส่องตรวจเข้าไปในจมูกเพื่อดูขนาดของอะดีนอยด์ เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนของโรค ซึ่งเป็นการตรวจสอบสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป แต่ในบางกรณี ก็อาจตรวจด้วยการตรวจสอบคุณภาพในการนอนหลับ เพื่อตรวจสอบว่า การนอนหลับของเด็กเป็นอย่างไร

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก

 

วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทารก

  • การรักษาดูแลที่ต้นเหตุ

ในกรณีส่วนใหญ่ มักเกิดจากปัญหาของต่อมอดีนอยด์และทอนซิลโต โดยสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดโดยแพทย์ โดยจะมีการพิจารณาหลายด้าน เช่น ความรุนแรงของโรค ความพร้อมในการผ่าตัด และความเสี่ยงต่าง ๆ ร่วมด้วย จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ให้ผลการรักษาดีกว่าการเฝ้าติดตามด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบคุณภาพการนอนหลับ

  • การรักษาด้วยวิธีอื่น

เป็นการรักษาแบบทางเลือก เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ ในกรณีนี้มักถูกใช้งานในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือผ่าตัดแล้วยังคงมีอาการอยู่ เช่น ผู้ป่วยที่มีความอ้วนมาก น้ำหนักเยอะ

  • การเฝ้าระวังติดตามอาการ

ในกรณีที่ความรุนแรงของโรคไม่รุนแรง จะมีการเฝ้าติดตามอาการ โดยการประเมินคุณภาพในการนอนหลับในทุก ๆ 6 เดือนหรือบ่อยกว่านั้น

  • การดูแลสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญในการนอนหลับ เช่น การหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ หรือมลภาวะต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้

  • การจัดท่าเวลานอน

ท่าทางการนอนเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ถ้าหากนอนไม่ถูกหลัก ก็อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในการหายใจได้

  • การใส่อุปกรณ์ที่จมูก

การใช้อุปกรณ์เสริมนี้ จะสามารถช่วยเพิ่มความดันในทางเดินหายใจในขณะหลับได้

 

การป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับในทารก

ในเบื้องต้น หากเด็กมีอาการภูมิแพ้อยู่แล้ว ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการ และทำการรักษาโดยเร็ว และถ้าหากเด็ก ๆ เป็นหวัด ก็ควรได้รับการรักษาจนกว่าจะหายเช่นกัน ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ๆ ที่มีอาการของภูมิแพ้ เช่น การว่ายน้ำ โดยควรรอให้เด็ก ๆ มีอายุประมาณ 8 ปีขึ้นไปก่อน เพราะเด็กเริ่มมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้นนั่นเองค่ะ

 

โดยสรุปแล้ว ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เป็นภาวะที่มีความอันตราย และคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยให้ดีในทุกการนอนของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้ามี ควรรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) คืออะไร อันตรายต่อทารกเพศชายแค่ไหน

โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น

โรคต้อหินในเด็ก ทารกเป็นโรคต้อหิน ลูกเป็นโรคต้อหินได้ตั้งแต่เล็ก ถ้าแม่ไม่ระวัง

ที่มา : 1

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Woraya Srisoontorn

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพและโภชนาการ
  • /
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน
แชร์ :
  • พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

    พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

    พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว