TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ชี้ชัด นมวัว ทำลายสุขภาพเด็กจริงหรือไม่?

28 Feb, 2024
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ชี้ชัด นมวัว ทำลายสุขภาพเด็กจริงหรือไม่?

ตั้งแต่เด็กจนโต หลายคนเติบโตมาพร้อมกับ “นมวัว” เครื่องดื่มแสนคุ้นเคยที่ถูกยกย่องว่าเป็นแหล่งแคลเซียมและโปรตีนชั้นดี แต่ในช่วงหลัง มีกระแสข่าวลือว่านมวัวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็ก ทำให้ผู้ปกครองหลายคนกังวลและสับสน

ล่าสุด ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงเรื่อง การบริโภคนมวัวนั้นส่งผลกับสุขภาพของเด็กจริงหรือไม่ บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ ไปไขข้อสงสัย และค้นหาคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับนมวัวและเด็กกันค่ะ

นมวัว อันตรายต่อเด็กจริงหรือไม่?

ปัจจุบัน ประเด็นเรื่อง “นมวัว ทำลายสุขภาพ” กำลังถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในสังคมไทย สร้างความกังวลให้กับผู้ปกครองว่าควรให้ลูกน้อยของตนดื่มนมวัวดีหรือไม่ ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกันออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “ผลของการบริโภคนมวัวต่อสุขภาพเด็ก” เพื่อคลายความกังวลโดยอ้างอิงจากข้อมูลเชิงประจักษ์ และ หลักฐานทางการแพทย์ที่ได้รวบรวมมา ซึ่งมี 6 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ 

 

นมวัว

 

1) เคซีนในนมวัวกับการย่อยของร่างกาย

เคซีนเป็นโปรตีนหลักในนมที่ทำให้มีลักษณะสีขาวขุ่น ที่สามารถพบได้ในน้ำนมวัว จับกับแคลเซียมและฟอสเฟต ทำให้น้ำนมมีลักษณะสีขาวขุ่น ในเด็กปกติที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ก็จะไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องจากการบริโภคนมวัว

 

นมวัว

 

2) สารตกค้างใน นมวัว

ประเด็นเรื่องสารตกค้างในนมวัว เป็นสิ่งที่หลายคนกังวล ซึ่งก็ได้มีการตรวจสอบคุณภาพของนมโรงเรียนทั้งทางด้านโภชนาการและจุลินทรีย์ ตามรายเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 และได้พบว่า ร้อยละ 97 มีคุณภาพผ่านมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 350 (พ.ศ. 2556) นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนทั้งชนิดพาสเจอร์ไรส์และยูเอชที ไม่พบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและยาต้านจุลชีพตกค้างในทุกตัวอย่างที่ได้ตรวจ

 

3) นมวัว กับโรคกระดูกพรุน

เป็นที่รู้กันดีว่า นมวัวเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนคุณภาพ แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง จากการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานเด็กที่บริโภคนมจะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายประมาณร้อยละ 3 เทียบกับกลุ่มเด็กที่ไม่ได้บริโภคนมสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังไปช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นการเติบโต เช่น insulin-ike growth factor 1 (IGF-1) และลดการสลายกระดูก รวมถึงการบริโภคนมที่เสริมวิตามินดีจะสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีได้เฉลี่ย 5 นาโนกรัม/มล. ซึ่งเทียบได้ประมาณหนึ่งในสี่ของระดับปกติในร่างกาย หากเด็กได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอตามวัยตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงช่วงวัยรุ่น จะสามารถช่วยทำให้มวลกระดูกสูงสุดดีขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และยังช่วยป้องกันภาวะกระดูกบางเมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและสูงอายุอีกด้วย

 

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ชี้ชัด นมวัว ทำลายสุขภาพเด็กจริงหรือไม่?

 

4) นมวัวกับโรคมะเร็ง

นมวัวเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนมวัวกับโรคมะเร็ง นมวัวประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดที่อาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งการเกิดมะเร็ง เช่น แลคโตเฟอริน วิตามินดี กรดไขมันสายสั้น กรดไขมันอิ่มตัว และ IGF-1 อย่างไรก็ตาม ในเชิงการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน พบว่ามีหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอที่สนับสนุนว่าการบริโภคนมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ไม่มีหลักฐานว่าการบริโภคนมวัวจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น

 

5) นมวัวทำให้เกิดโรคออทิซึม

ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่ที่ยืนยันว่านมวัวมีส่วนทำให้เกิดโรคออทิซึม ในทางกลับกัน การงดบริโภคนมวัวในเด็กที่เป็นโรคออทิซึมทำให้เกิดผลเสีย เพราะนมวัวเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโน-ทริปโตแฟน ซึ่งจะเปลี่ยนป็นซีโรโทนินในร่างกายและออกฤทธิ์ในการควบคุมอารมณ์ ปรับพฤติกรรม และช่วยในการนอนหลับ ดังนั้นการงดบริโภคนมวัวอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตามเด็กแต่ละคนมีความต้องการและอาการของโรคออทิสซึมที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

 

6) นมวัวกับโรคภูมิแพ้

จากผลวิจัยทางการแพทย์ได้ออกมาชี้แจงว่าทารกและเด็กเล็กที่บริโภคนมวัว มีเพียงร้อยละ 1.7 จะเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองกับโปรตีนในนมวัวและมีอาการแสดงออกได้หลายระบบ อาทิ ผิวหนัง ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร นอกเหนือจากนี้ข้อกังวลเรื่องการได้รับนมวัวแล้วทำให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้น องค์กรวิชาชีพทั่วโลกมีคำแนะนำว่า การจำกัดการบริโภคนมวัวในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ช่วยในการป้องกันโรคแพ้โปรตีนนมวัวในทารก รวมถึงการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานล่าสุดไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการที่เด็กได้รับนมวัวกับการเกิดโรคหอบหืด การหายใจลำบากมีเสียงหวีด โรคภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคแพ้โปรตีนนมวัว

จากข้อมูลข้างต้น ทางการแพทย์ยังคงแนะนำให้ดื่มนมวัวได้ โดยควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้เด็กก่อนวัยเรียน ควรดื่มนมวัว วันละ 3 แก้ว โดยที่ปริมาตรต่อแก้วคือ 200 ซีซี ส่วนเด็กวัยเรียนขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์ และ คุณแม่ที่ให้นมบุตร ควรดื่มนมวัววันละ 2-3 แก้ว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา ทาง หมอวิน จากเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ ก็ได้ออกมาสนับสนุนข้อชี้แจงดังกล่าวเช่นกันค่ะ

ที่มา : sanook.com

5 นมทางเลือกสำหรับคนไม่ทาน นมวัว

หากลูกน้อยของคุณมีอาการย่อยยากจากการดื่มนมวัว คุณพ่อคุณแม่สามารถมองหานมทางเลือกที่มีปริมาณของแคลเซียม หรือ โปรตีนเทียบเท่า มาทดแทนได้ มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1) นมถั่วเหลือง

นมถั่วเหลืองถือว่า เป็น นมทางเลือก ที่ดีต่อสุขภาพ และมีความใกล้เคียงกับนมวัวมากที่สุด โดยที่นมถั่วเหลืองที่ไม่เติมน้ำตาล มีโปรตีนสูงถึง 7 กรัม เทียบเท่ากับนมวัวไขมันเต็มรสจืด 1  แก้ว แต่ให้พลังงานที่น้อยกว่า และยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินดีและแคลเซียม 

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่? นมถั่วเหลืองมีดี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต่อยอดพัฒนาการที่ไม่สะดุด

 

2) นมอัลมอนด์

อีกหนึ่งทางเลือก คือ นมอัลมอนด์ ที่คั้นมาจากเมล็ดอัลมอนด์ปั่นรวมกับน้ำ หากเป็นนมอัลมอนด์ชนิดที่ไม่ผสมน้ำตาลจะให้พลังงานและคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าเมื่อเทียบกับนมวัว โดยนมอัลมอนด์ 1 แก้วให้พลังงานประมาณ 30–60 แคลอรี่ และมีคาร์โบไฮเดรตเพียง 1 กรัม เพราะนมอัลมอนด์ให้ปริมาณโปรตีนที่ต่ำ คนที่ดื่มนมอัลมอนด์จึงควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนควบคู่ไปด้วย เพื่อที่จะได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ 

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

3) น้ำนมข้าว

น้ำนมข้าวเป็นนมจากพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยม ทำมาจากการนำเมล็ดข้าวที่ขัดสีแล้วมาคั้นเป็นน้ำ ทำให้ได้เครื่องดื่มที่มีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม น้ำนมข้าวเป็นนมทางเลือกที่ก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่านมจากพืชชนิดอื่น ต่างจากนมที่ทำจากถั่วชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามน้ำนมข้าวก็มีข้อเสียคือให้โปรตีนที่ต่ำและมีคาร์โบไฮเดรตสูง จึงไม่ค่อยเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานสักเท่าไหร่ เพราะคาร์โบไฮเดรตจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้

 

4) นมข้าวโอ๊ต

ปัจจุบันนี้ นมข้าวโอ๊ตกลายมาเป็นนมทางเลือกที่นิยมสำหรับคนที่ไม่ดื่มนมวัว จุดเด่นของตัวข้าวโอ๊ตคือเบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ซึ่งเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำที่อาจเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ เช่น แมงกานีส ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี นอกจากนี้นมข้าวโอ๊ตให้พลังงานสูงและให้โปรตีนต่ำกว่านมวัวและนมจากพืชชนิดอื่น ๆ อีกด้วย

 

5) นมพิสตาชิโอ

นอกจาก นมโอ๊ต แล้ว นมพิสตาชิโอก็นับว่าเป็นอีกทางเลือกที่นิยม นมพิสตาชิโอนั้นให้พลังงานที่ต่ำ มีใยอาหารสูง อุดมโปรตีน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นไขมันดีที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของหัวใจและเป็นแหล่งของวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และสารต้านอนุมูลอิสระ อย่าง ลูทีน และซีแซนทีน ที่ช่วยในการบำรุงสายตา 

 

นมวัว

 

โดยสรุปแล้ว นมวัว ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดี อย่างไรก็ตาม นมวัวอาจไม่เหมาะกับทุกคน บางคนอาจมีภาวะย่อยอาหารที่บกพร่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสีย ดังนั้นควรดื่มนมวัวในปริมาณที่เหมาะสม และหากผู้ที่มีภาวะย่อยยากควรหาผลิตภัณฑ์นมทางเลือกที่เป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมมาทดแทน

ที่มา : pobpad.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คาเฟอีน เช็คอาการติดกาแฟ ดื่มกาแฟทุกวัน เรียกว่าเสพติดหรือยัง ?

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด จริงหรือไม่อย่างไร?

แพ้ถั่ว มีอาการอย่างไร? รู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่ว จัดการทำยังไง

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

samita

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ชี้ชัด นมวัว ทำลายสุขภาพเด็กจริงหรือไม่?
แชร์ :
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

powered by
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว