มาดูกันว่า ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง จริงไหม?
ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง จริงไหม
ทารกเกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะสูง
คำตอบคือ จริงค่ะ ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง และมีแนวโน้มจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวสูงในอนาคต
ความสูงของพ่อแม่ก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะสามารถดูได้ว่าลูกจะเกิดมาตัวสูงหรือไม่ เพราะลูกได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่นั่นเองค่ะ และในตามหลักปัจจัยทางพันธุกรรมเราอาจประมาณความสูงของลูกได้ด้วยการนำความสูงของพ่อกับแม่ (หน่วยเป็นนิ้ว) มารวมกัน จากนนั้นให้หารด้วย 2 และบวกเพิ่ม 2.5 นิ้วสำหรับเด็กผู้ชาย และลบออก 2.5 นิ้วสำหรับเด็กผู้หญิง
และอีกหลักการหนึ่งก็คือ ลูกจะมีความสูงเมื่อโตขึ้นจะเป็น 2 เท่าของความสูงเมื่ออายุ 3 ปี
อย่างไรก็ดีสูตรคำนวณทั้งสองเป็นเพียงแนวโน้มเท่านั้น ไม่ได้การันตีว่าลูกจะสูงเท่านี้แน่ ๆ นะคะ ทางที่ดีควรให้ลูกออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อการเติบโตที่แข็งแรงสมวัยในอนาคตค่ะ
เช็กกันหน่อย ลูกควรสูงแค่ไหน หนักเท่าไหร่ในแต่ละเดือน
การที่ลูกน้อยมีน้ำหนัก และส่วนสูงที่เหมาะสมตามวัย จะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และช่วยส่งเสริมให้เด็กมีรูปร่าง และบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย เราไปดูกันครับว่า ลูกควรสูงแค่ไหน หนักเท่าไหร่ในแต่ละเดือน
เกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทยตามช่วงอายุและเพศ
|
อายุ |
น้ำหนักเด็กเพศชาย (กก.) |
ส่วนสูงเด็กเพศชาย (ซม.) |
น้ำหนักเด็กเพศหญิง (กก.) |
น้ำหนักเด็กเพศหญิง (ซม.) |
แรกเกิด |
2.8 – 3.9 |
47.6 – 53.1 |
2.7 – 3.7 |
46.8 – 52.9 |
1 เดือน |
3.4 – 4.7 |
50.4 – 56.2 |
3.3 – 4.4 |
49.4 – 56.0 |
2 เดือน |
4.2 – 5.5 |
53.2 – 59.1 |
3.8 – 5.2 |
52.0 – 59.0 |
3 เดือน |
4.8 – 6.4 |
55.7 – 61.9 |
4.4 – 6.0 |
54.4 – 61.8 |
4 เดือน |
5.3 – 7.1 |
58.1 – 64.6 |
4.9 – 6.7 |
56.8 – 64.5 |
5 เดือน |
5.8 – 7.8 |
60.4 – 67.1 |
5.3 – 7.3 |
58.9 – 66.9 |
6 เดือน |
6.3 – 8.4 |
62.4 – 69.2 |
5.8 – 7.9 |
60.9 – 69.1 |
7 เดือน |
6.8 – 9.0 |
64.2 – 71.3 |
6.2 – 8.5 |
62.6 – 71.1 |
8 เดือน |
7.2 – 9.5 |
65.9 – 73.2 |
6.6 – 9.0 |
64.2 – 72.8 |
9 เดือน |
7.6 – 9.9 |
67.4 – 75.0 |
6.9 – 9.3 |
65.5 – 74.5 |
10 เดือน |
7.9 – 10.3 |
68.9 – 76.7 |
7.2 – 9.8 |
66.7 – 76.1 |
11 เดือน |
8.1 – 10.6 |
70.2 – 78.2 |
7.5 – 10.2 |
67.7 – 77.6 |
1 ขวบ |
8.3 – 11.0 |
71.5 – 79.7 |
7.7 – 10.5 |
68.8 – 78.9 |
2 ขวบ |
10.5 – 14.4 |
82.5 – 91.5 |
9.7 – 13.7 |
80.8 – 89.9 |
3 ขวบ |
12.1 – 17.2 |
89.4 – 100.8 |
11.5 – 16.5 |
88.1 – 99.2 |
4 ขวบ |
13.6 – 19.9 |
95.5 – 108.2 |
3.0 – 19.2 |
95.0 – 106.9 |
5 ขวบ |
15.0 – 22.6 |
102.0 – 115.1 |
14.4 – 21.7 |
101.1 – 113.9 |
น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก วัยแรกเกิด – 5 ปี
เด็กก่อนวัยเรียนจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่เปลี่ยนไปจากวัยทารกค่อนข้างมาก เช่น เมื่อถึงวัยทารกจากที่เคยอ้วนกลม ศีรษะใหญ่ ตัวใหญ่ แขนขาสั้น ก้จะเริ่มยืดออก ส่วนทางใบหน้าและศีรษะจะเล็กลงเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว แขน ขา ลำตัวและลำคอจะเรียวยาวขึ้น มือและเท้าใหญ่แข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้ดีขึ้น คราวนี้พ่อแม่มาเช็คกันเลยดีกว่าว่าลูกน้อยมี น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก หรือไม่ เช็คกันเลย!!
น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของเด็ก
ปิกติแล้วทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2.5 – 4.5 กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 3 กิโลกรัม พอโตขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีแรก น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พออายุ 4-7 ปี น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยลงจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นน้ำหนักก้จะเพิ่มชึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉลี่ยแล้วเด็กๆ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 2.5 กิโลกรัม วิธีการเพิ่มน้ำหนักของเด็กก่อนวัยเรียนควรเริ่มที่อาหาร โดยต้องให้เด็กทานอาหารครบ 5 หมู่ รวมถึงการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การได้พักผ่อน
สิ่งที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของลูกน้อย
ไม่เพียงแต่อาหารและโภชนาการจะสำคัญต่อน้ำหนักตัวของลูกแล้ว ปัจจัยต่าง ๆ ก็ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนักได้ เช่น สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ มีพื้นที่ให้ลูกได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ก็มีส่วน ถ้าคนในครอบครัวที่มีรูปร่างอวบอ้วนเด็กก็มีแนวโน้มที่จะอ้วนตามได้เช่นกัน อีกทั้งเรื่องของสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และการใช้ยาต่าง ๆ ก็ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเด็กได้ค่ะ
แม้ว่าเรื่องน้ำหนักตัวของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอยู่สม่ำเสมอ แต่ก็อย่าวิตกกังวลจนเครียดเกินไปนะคะ เพราะร่างกายของเด็กมีระบบการย่อย การเผาผลาญ และการดูดซึมที่แตกต่างกัน อาจมีขึ้น ๆลง ๆ ในบางเดือน ที่สำคัญไม่ควรเอาน้ำหนักตัวของลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพียงแต่ให้ดูว่าอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ แต่หากสังเกตว่าลูกผอมหรืออ้วนมากไป อาจเกิดจากอาหารการกิน หรือความผิดปกติบางอย่างร่วมด้วย อย่างไรแล้วแนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์จะดีที่สุด
ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก
โดยปกติเด็กแรกเกิดจะมีความยาวหรือส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
1.อายุแรกเกิด – 6 เดือน เด็กชายควรสูงขึ้น อย่างน้อย 17 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 16 ซม.
2.อายุ 6-12 เดือน ควรสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 8 ซม. ทั้งเด็กชายและหญิง
3.อายุ 1-2 ปี เด็กชายควรสูงขึ้น อย่างน้อย 10 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 11 ซม.
4.อายุ 2-5 ปี ควรสูงขึ้นประมาณ 6-8 ซม ./ ปี ทั้งเด็กชาย และ หญิง
5.อายุ > 5 ปี – เริ่มเข้าวัยรุ่น ควรสูงขึ้น 6 ซม. / ปี ถ้าสูงขึ้น น้อยกว่า 5 ซม. / ปี ถือว่าต่ำกว่าปกติ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรหาสาเหตุ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีการปรุงอาหารสุขภาพดีให้เด็ก
เด็กควรออกกำลังกายมากแค่ไหน
ทารกตัวโตออกมาจากมดลูกอย่างชิลล์ (มีคลิป)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!