หนึ่งในอาการที่คุณแม่ต้องเจอคือ “ท้องลด” อาการนี้บอกเลยว่าเมื่อมาถึงคุณแม่จะสบายตัวขึ้นมาก ทำให้มีเวลาคิดเรื่องเตรียมตัวคลอดได้แล้ว เพราะนี่คืออีกหนึ่งสัญญาณที่ใกล้จะได้เจอลูกน้อยกันแล้ว! เอาล่ะ เรามาทำความรู้จักอาการ “ท้องลด” กันดีกว่า
อาการ ท้องลด คืออะไร?
อาการท้องลด เกิดจากการที่ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนศีรษะลงมาอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด ท้องมีขนาดเล็กลง และ หายใจสะดวกขึ้น โดยทั่วไปอาการนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้าย อาจจะเป็นช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด หรือ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดก็ได้ ทั้งนี้ในคุณแม่บางคนก็อาจไม่มีอาการท้องลดเตือนเมื่อใกล้ถึงเวลาคลอดก็ได้
ท้องลดใกล้คลอดดูยังไง
อย่างที่บอกไปว่า เมื่อคุณแม่ท้องลด นั่นหมายถึงการที่ทารกกลับหัว เป็นท่าเตรียมพร้อมที่จะคลอด คุณแม่จะสังเกตได้ว่าความสูงของยอดมดลูกลดลง รู้สึกโล่งสบาย หายใจสะดวกขึ้นหรือที่เรียกกันว่า แต่ช่วงนี้มักจะปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ เพราะศีรษะลูกจะอยู่ในตำแหน่งที่กดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
ท้องลด กี่วันคลอด
ส่วนใหญ่แล้วอาการท้องลด อาจเกิดขึ้น 2 – 3 สัปดาห์ก่อนคลอด หากมีอาการนี้ในท้องแรก อาจจะคลอดภายใน 1 เดือน ส่วนท้องหลัง เมื่อท้องลดคุณแม่ต้องรีบเตรีมตัวเพราะอาจจจะคลอดภายในไม่กี่วัน
อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง
นอกจากอาการท้องลดแล้ว ยังมีอาการใกล้คลอดอื่นๆ ที่คุณแม่ควรสังเกต เพื่อเตรียมคว้ากระเป๋าไปคลอด และพร้อมเจอหน้าลูกน้อย ดังนี้
- เจ็บท้อง คือ การที่มดลูกบีบรัดตัวอย่างสม่ำเสมอ แต่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยการเจ็บท้องจริง ๆ ที่ไม่หลอกจะเจ็บเป็นพัก ๆ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย
- เจ็บท้องอย่างต่อเนื่อง หากอาการเจ็บจะไม่หายไปเมื่อครบ 1 ชั่วโมง ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที แต่ถ้าเจ็บแล้วหายไปอาจเป็นการเจ็บเตือนจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
- น้ำเดิน คือ การที่มีน้ำใส ๆ ออกจากบริเวณช่องคลอดเป็นจำนวนมาก (ถุงน้ำคร่ำแตก) ไม่หยุดและไม่ใช่อาการปวดปัสสาวะ
- เลือดหรือมูกออกทางช่องคลอด การที่มูกที่จุกอยู่ที่ปากช่องคลอดหลุดออกมา เกิดจากการที่มดลูกบีบรัดตัว เพราะศีรษะของลูกเคลื่อนลงไปกดปากมดลูก ส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดและมูกที่อุดกั้นหลุดออกมา
- ลูกดิ้นน้อยลง การดิ้นของลูกบ่งบอกถึงความแข็งแรง แต่หากทารกดิ้นน้อยลงอย่างน้อยกว่าสิบครั้งต่อวัน อาจจะสื่อถึงความผิดปกติ ที่อาจจะไม่ใช่แค่ใกล้คลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อาการท้องลดนอกจากจะทำให้คุณแม่สบายตัวขึ้นแล้ว เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องสังเกตตัวเองมากๆ ด้วย เพราะอาการนี้แสดงว่าคุณแม่ใกล้จะได้เจอกับลูกน้อยแล้ว เตรียมตัวจัดกระเป๋าไปคลอดกันได้เลย สำหรับคุณแม่มือใหม่ อาจจะต้องรอนานสักหน่อย แต่สำหรับคุณแม่ท้องสองต้องรีบแล้ว เพราะ “ท้องลด” เมื่อไหร่ ก็ใกล้คลอดได้ทุกเมื่อ และเตรียมตัวพร้อมแล้ว อย่าลืมบอกคนรอบข้างให้เตรียมตัวไปด้วยกันด้วย จะได้ไม่ฉุกละหุกเมื่อถึงเวลาใกล้คลอดจริงๆ
“เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด” ต่างกันยังไงนะ?
อาการท้องลด คือ สัญญาณที่ลูกต้อยเตรียมตัวออกมาเจอกับคุณพ่อคุณแม่กันแล้ว อาการต่อไปที่คุณแม่ต้องพบเจอก็คือการ “เจ็บท้องคลอด” แต่อาการเจ็บท้องนั้น แบบไหนคือ เจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอด เรามาดูกันดีกว่าว่าทั้งสองอาการต่างกันอย่างไร?
|
“เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด” ต่างกันยังไงนะ?
|
เจ็บท้องเตือน
|
เจ็บท้องคลอด
|
- เจ็บไม่สม่ำเสมอ เป็นๆ หายๆ
|
- ปวดสม่ำเสมอ เช่น ปวดทุก 10 นาที
|
- เจ็บห่างๆ เช่น ชั่วโมงละครั้ง
|
- ปวดถี่ขึ้น จากปวดทุก 10 นาที เป็น 5 นาที
|
|
|
|
- ปวดส่วนบนของมดลูก หรือยอดมดลูกและแผ่นหลัง
|
- เมื่อทานยาแก้ปวด อาการปวดก็หาย
|
- เมื่อทานยาแก้ปวด อาการปวดลดลง แต่มดลูกยังคงบีบตัว
|
|
|
เมื่อใกล้คลอดไม่ได้มีแค่อาการท้องลด เจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอดเท่านั้น แต่อาจมีเลือดออกจากช่องคลอด ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อย มีไข้หรือหนาวสั่น น้ำคร่ำเป็นสีอื่นๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู รวมทั้งคลื่นไส้อาเจียน เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
หายใจถูกวิธี ลดความเจ็บในการคลอดได้
คุณแม่หลายๆ คนที่ต้องการคลอดเอง อาจมีความกังวลเรื่องความเจ็บปวด เรามีวิธีลดความปวดง่ายๆ ด้วยการหายใจที่ถูกต้องมาฝากกัน
1. หายใจแบบลึก และช้า
วิธีนี้เหมาะสำหรับเมื่อเจ็บท้องคลอดแบบไม่รุนแรงมากให้ฝึกตามนี้ โดยจะแบ่งเป็น 2 จังหวะ
1.1 เมื่อมดลูกเริ่มบีบตัว ให้หายใจเข้าปอดลึกๆ ช้าๆ โดยการนับจังหวะ 1-2-3-4-5 แล้วค่อยๆ หายใจออกทางปากช้าๆ นับจังหวะ 1-2-3-4-5
ให้เป็นจังหวะตลอดระยะเวลาที่มดลูกบีบตัว (ประมาณ 1 นาที)
1.2 เมื่อมดลูกเริ่มคลายจังหวะจะเจ็บน้อยลง ให้สูดหายใจลึกๆ และหายใจออกจนหมด อีก 1 ครั้ง แล้วหายใจตามปกติ เป็นการจบ 1 ครั้ง จนเมื่อมดลูกบีบตัวให้ทำตาม ข้อ 1.1 ถึง 1.2 ใหม่อีกครั้ง
2. การหายใจแบบตื้น เร็วและเบา
วิธีนี้เหมาะสำหรับเมื่อเจ็บท้องหนักใกล้คลอด ปากมดลูกเปิดมาก โดยจะแบ่งเป็น 4 จังหวะ
2.1 เมื่อมดลูกบีบตัว ให้ให้สูดหายใจลึกๆ และหายใจออกจนหมด
2.2 สูดหายใจเข้าทางจมูกแบบตื้นและเบา ติดต่อกันเร็วๆ 4-6 ครั้ง
2.3 จากนั้นหายใจออกโดยการห่อปาก และเป่าลมออกทางปากเบาๆ 1 ครั้ง
2.4 เมื่อมดลูกคลายตัว ความเจ็บลดลง ให้หายใจแบบลึกและช้าเพื่อผ่อนคลาย และเพื่อนำออกซิเจนไปให้ลูกน้อยในครรภ์ได้มากขึ้น
คุณแม่ควรฝึกรับมือความเจ็บปวดด้วยการหายใจแบบนี้ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 6-7 เดือน เพื่อให้ชินเมื่อถึงช่วงเจ็บท้องจริงจะได้สามารถนำเทคนิคลดความเจ็บปวดนี้มาใช้ได้ทันที
ที่มา : โรงพยาบาลบางปะกอก 3 , โรงพยาบาลนครธน , ศูนย์ศรีพัฒน์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
รีวิวผ่าคลอดบล็อกหลัง ฉบับคนกลัวมาก มาก มาก มาก
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อาการปกติ vs ผิดปกติ ที่ต้องสังเกต
ผ่าคลอด ห้ามยกของหนักกี่โล หลังคลอดกี่วันออกแรงเยอะ ๆ ได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!