X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมแลคโตสฟรี ไขคำตอบ “ลูกแพ้นมวัว” หรือ “แพ้แลคโตส”?

บทความ 5 นาที
นมแลคโตสฟรี ไขคำตอบ “ลูกแพ้นมวัว” หรือ “แพ้แลคโตส”?

ทำความเข้าใจ “แพ้นมวัว” กับ “แพ้แลคโตสในนมวัว” ไม่เหมือนกัน ทดสอบได้ด้วย นมแลคโตสฟรี ไขข้อข้อใจ ลูกแพ้นมวัว หรือแค่ แพ้แลคโตสในนมวัว

ปัญหากวนใจคุณแม่มือใหม่ทุกวันนี้หนีไม่พ้นเรื่องอาหารการกินของลูก โดยเฉพาะอาหารมากคุณประโยชน์อย่าง “นม” ที่มักก่อ “อาการแพ้” มากวนใจแม่ กวนตัวลูก แพ้นมวัวใช่ไหม แพ้แลคโตสหรือเปล่า เป็นคำถามที่ทำเอาคุณแม่หลายคนหัวหมุนกับการเลือกชนิดของนมให้เหมาะกับลูกรัก ทั้งนม UHT นมแลคโตสฟรี นมจากพืช ฯลฯ แต่… อย่าเพิ่งเปลี่ยนไปตามใจมารดา เช็กให้ชัวร์ก่อนค่ะว่า ลูกแพ้อะไรกันแน่ แล้วค่อยแก้ที่ต้นตอ

ทราบกันดีว่าอาหารหลักอันดับแรกที่คุณแม่ป้อนเข้าปากลูกน้อยตั้งแต่เขาลืมตาดูโลกก็คือ “นม” โดยเฉพาะนมแม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยสารอาหารสำคัญและจำเป็นสำหรับการเจริญเติมโตของทารก แต่เมื่อข้ามผ่านช่วงวัยแบเบาะเข้าสู่วัยเตาะแตะ ไปจนถึงวัยซน และวัยคิดส์ การรับสารอาหารจากนมของลูกย่อมเปลี่ยนจากนมแม่ไปเป็นนมวัวพร้อมดื่มชนิดต่าง ๆ  ทั้งนมพาสเจอร์ไรซ์ นมสเตอริไลซ์ และ นม UHT ซึ่งยังคงมีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งมีไขมันดีเพิ่มพลังงาน โปรตีนสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดและกระดูก แคลเซียมสูง ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงมะเร็งสำไส้ ทั้งยังมีผลดีต่อสมอง เสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญา และพัฒนาการทางอารมณ์

เด็ก ๆ ในวัยเรียน จึงควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2  แก้ว เฉลี่ยปีละ 88 ลิตร ร่วมกับการเสริมสร้างวินัยในการออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อลูกเติบโตอย่างสมวัย ส่วนสูงสมส่วน กระดูกและฟันแข็งแรง และไม่เป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม มีสถิติพบว่า เด็กทารกราว 0.3-7.5% แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว และ 1 ใน 5 ของเด็กที่แพ้นมจะมีอาการนี้จนถึงตอนโต ซึ่งในปัจจุบันอัตราการเพิ่มของผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมมีมากถึง 80–100​% และมีคนไทยถึง 98% ที่อยู่ในภาวะนี้

 

ทำความเข้าใจ “แพ้นมวัว” กับ “แพ้แลคโตสในนมวัว” ไม่เหมือนกัน

เริ่มแรก คุณแม่ต้องมีเข้าใจก่อนว่า การแพ้นมวัว คือ แพ้โปรตีน (ในนมวัว) ซึ่งอาการที่พบโดยทั่วไป คือ

  • อาการทางผิวหนัง ผื่นแดง คัน ผื่นลมพิษ หรือผื่นฝ้าขาวนูน
  • อาการในระบบทางเดินหายใจ คัดจมูกน้ำมูกไหลเรื้อรัง มีเสมหะในลำคอหรือหลอดลม ไปจนถึงเป็นปอดอักเสบ
  • อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น สำรอกนม อาเจียนบ่อย อาการโคลิก ถ่ายเหลวเรื้อรัง หรือท้องผูกรุนแรง

โดยอาการแพ้นมวัวข้างต้นนี้อาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และจะเกิดขึ้นไม่เกิน 4 สัปดาห์หลังร่างกายลูกกินนมวัว

Advertisement

 

แพ้นมวัว หรือแพ้แลคโตส

 

แต่… การแพ้แลคโตส คือ มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง (Lactose intolerance) ซึ่งเกิดความผิดปกติของลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเทสที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตส (ที่พบในนมวัว และนมแม่) โดยเฉพาะได้เพียงพอ ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้นี้มีมากในเด็กทารก และจะลดลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ใหญ่บางคนสามารถเกิดอาการแพ้แลคโตสได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวในตอนเด็ก ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้นี่เองทำให้เกิดกรดและแก๊สมากขึ้นในช่องท้อง จนทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดหรือเสียดท้อง

 

ดังนั้น ลองสังเกตลูกน้อยก่อนนะคะว่า…

หลังจากดื่มนมไปแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง ลูกมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ลมในท้องเยอะ และผายลมบ่อยไหม?

มีอาการผิวหนังอักเสบ ปากบวม ตาบวม น้ำมูกเรื้อรัง ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก เสมหะเยอะ หอบหืด และนอนกรนหรือเปล่า?

ถ้าใช่… ก็อาจสันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่า ลูกน่าจะมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง

 

ทดสอบง่าย ๆ ด้วย นมแลคโตสฟรี

การมีภาวะ Lactose intolerance ไม่ได้หมายความว่า ลูกเป็นโรคแพ้นมวัว เพราะการแพ้นมวัวคือแพ้โปรตีนในนมวัว ในทารกขวบปีแรกเมื่อให้ดื่มนมวัวแล้วเกิดอาการแพ้โปรตีน แม้ลักษณะอาการจะใกล้เคียงกัน แต่ระยะเวลาแสดงอาการของโรคแพ้นมวัวจะเกิดขึ้นในเวลาฉับพลัน หรืออาการแพ้จะค่อย ๆ แสดงมากขึ้นใน 2 – 3 สัปดาห์ ส่วนการแพ้แลคโตสในนมวัว คือ ยังดื่มนมวัวได้ แต่ต้องเป็นนมที่ไม่มีแลคโตส

คุณแม่จึงสามารถทดสอบเบื้องต้นได้ง่าย ๆ โดยการให้ลูกดื่มนมสูตร Lactose Free เพราะนมชนิดนี้คือนมวัวแท้ ๆ ที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายน้ำตาลด้วยเอนไซม์ธรรมชาติ “แลคเตส” ทำให้น้ำตาลแลคโตสที่มีอยู่ในนมนั้นหมดไป กลายเป็นนมที่ไม่มีแลคโตสรวมถึงทำให้โมเลกุลของนมเล็กลง​ จึงดื่มง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงรสชาติและคุณประโยชน์เทียบเท่านมวัวทั่วไป ทั้งยังช่วยทำให้แลคโตสในนมมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก ที่มีประโยชน์กับทางเดินอาหารของมนุษย์ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะ ลดอาการท้องผูก ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มวิตามินบางชนิด เช่น B1, B2, B6 และ B12 เพิ่มการดูดซึมของแคลเซียม ช่วยลดปริมาณสารพิษ​และเอนไซม์ที่เป็นพิษซึ่งเกิดจากจากกระบวนการเมตาบอลิซึม จึงทำให้มีสารพิษเข้าสู่ตับลดลงด้วย

ถ้าดื่มนมที่ไม่มีแลคโตสแล้ว ลูกยังมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ลมในท้องเยอะ ผายลมบ่อย ฯลฯ ก็อนุมานได้ว่าลูกเป็นโรคแพ้นมวัวจริง ๆ

แต่ถ้าดื่มนมแลคโตสฟรีแล้วไม่มีอาการผิดปกติ แสดงว่ามาถูกทางค่ะ ลูกน่าจะมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง แต่ก็แนะนำให้ไปรับการตรวจจากแพทย์เพื่อยืนยันอีกครั้งนะคะ

นมแลคโตสฟรี

แพ้แลคโตสแก้ยังไง?

หากคุณแม่ทดสอบการแพ้แลคโตสของลูกด้วยตัวเอง หรือพาลูกไปพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าลูกมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง ทางแก้หรือทางรักษาคือ หลีกเลี่ยงน้ำตาลแลคโตสในนม คือ สามารถกินนมที่ไม่มีแลคโตสได้ ต่างกับเด็กแพ้นมวัว ที่แม้แต่นมแลคโตสฟรีก็กินไม่ได้ 

โดยกรณีเป็นลูกเล็กวัยแบเบาะที่มีภาวะนี้ แนะนำว่าไม่ควรหยุดนมแม่ค่ะ แต่ควรให้ลูกกินนมส่วนหลังมากกว่านมส่วนหน้า เพราะน้ำนมส่วนหน้ามีน้ำตาลแลคโตสมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง นมแม่ส่วนหน้า&ส่วนหลังต่างกันอย่างไร

กรณีลูกเป็นเด็กโตที่กินอาหารได้หลากหลายแล้ว ให้ดื่มนมหรืออาหารประเภทแลคโตสฟรี หรือนมที่ทำจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แต่ต้องเสริมแคลเซียมเพิ่มเติมจากอาหารจำพวกเต้าหู้ งาดำ ธัญพืช กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานได้ทั้งกระดูก หรือพวกผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อกโคลี และควรงดอาหารซึ่งมีนมที่มีน้ำตาลแลคโตสเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต เค้ก ขนมปัง

 

อย่างไรก็ตาม การแพ้แลคโตสมีหลายระดับ บางคนขาดเอนไซม์แลคเตสเพียงบางส่วน ก็สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสบางส่วนได้ หากรับประทานเพียงเล็กน้อยจะไม่เกิดอาการ ดังนั้น แนะนำให้สังเกตว่าเด็กรับประทานได้ปริมาณเท่าใดจึงจะเกิดอาการ โดยการที่รับประทานพร้อมมื้ออาหาร จะช่วยให้เอนไซม์แลคเตสมีเวลาในการย่อยได้นานมากขึ้น หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารตอนท้องว่าง หรืออาจลองรับประทานครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ถ้าอาการไม่มาก บางครั้งอาจจะสามารถรับประทานนมเปรี้ยว โยเกิร์ตได้ เนื่องจากจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตจะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสได้บางส่วน 

 

อ้างอิง : samitivejhospitals.com , tetrapak.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตอบข้อสงสัย ลูกแพ้นมวัว ได้อย่างไร ? แม่กินนมวัว ทำให้ลูกแพ้โปรตีนนมวัว จริงหรือ ?

แพ้นมวัวกินนมผงได้ไหม นมผงส่วนมากผลิตมาจากอะไร?

เคล็ดลับ! วิธีเปลี่ยนนม เพื่อคุณแม่สบายใจ คุณลูกสบายท้อง

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • นมแลคโตสฟรี ไขคำตอบ “ลูกแพ้นมวัว” หรือ “แพ้แลคโตส”?
แชร์ :
  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว