X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง โรคอันตรายที่มักถูกหลายคนมองข้าม!

บทความ 5 นาที
โรคดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง โรคอันตรายที่มักถูกหลายคนมองข้าม!

โรคดีซ่าน ที่เมื่อได้ยินแล้ว หลายคนคงจะนึกถึงอาการ ตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่มีลักษณะตาเหลือง ตัวเหลือง แล้วจะต้องเป็นโรคดีซ่านเสมอไป มาทำความรู้จัก โรคดีซ่าน โรคอันตรายที่หลายคนมักมองข้าม

 

โรคดีซ่านคืออะไร?

โรคดีซ่าน (Jaundice) เป็นโรคที่มีอาการป่วยที่เยื่อบุตาขาว ผิวหนังของผู้ป่วยจะกลายเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ภาวะตัวเหลืองตาเหลือง” มีสาเหตุมาจากปริมาณสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ที่อยู่ในกระแสเลือด มีมากเกินไป อาจเกิดจากสาเหตุของการเจ็บป่วยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดจากระบบการทำงานของตับ น้ำดี และเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เกิดการทำงานผิดปกติ

โรคดีซ่าน

 

โรคดีซ่านเกิดจากอะไร?

ดีซ่านเกิดจากความผิดปกติของสารบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารสีเหลือง ที่ทำให้เกิดอาการตาเหลือง ตัวเหลือง โดยปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดแดง จะมีการสลายตัว และมีการเกิดเซลล์ใหม่มาแทนที่ สารบิลิรูบินนี้ มีหน้าที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเก่า เกิดการสลายตัว โดยจะถูกขับออกไปตามท่อน้ำดี และกระแสเลือด ลำเลียงไปตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้โรคดีซ่าน สามารถพบความผิดปกติของสีของของเสีย ที่ถูกขับออกจากร่างกาย ทั้งปัสสาวะ และอุจจาระ

 

สาเหตุขอโรคดีซ่าน มักพบบ่อยในความผิดปกติของระบบน้ำดี โรคตับอักเสบ โรคไข้ทัยฟอยด์ โรคตับแข็งจากพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งตับ โรคมาลาเรีย และโรคเลือดต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน

  • โรคติดเชื้อในตับ เช่น โรคฉี่หนู โรคไวรัสตับอักเสบ เอ บี และ ซี
  • โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคไข้มาลาเรีย ที่มีสาเหตุมาจากเม็ดเลือดแดงแตก
  • โรคตับอักเสบจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • โรคตับอักเสบ โรคแพ้ภูมิตนเอง
  • โรคจากความผิดปกติของน้ำดี เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
  • โรคทางเลือดบางชนิด เช่น โรค G6PD และ ธาลัสซีเมีย

 

บางกรณีพบว่าดีซ่านในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากการพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และอวัยวะของทารก อาจยังไม่เติบโตแข็งแรงได้เต็มที่ อาการของดีซ่านในทารก อาจหายไปภายในสองสัปดาห์ แต่หากมีอาการนานเกินไป ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทันที

 

โรคดีซ่านมีกี่ชนิด?

โรคดีซ่าน สามารถแบ่งตามตำแหน่งของการเกิด ดังนี้

  • ดีซ่านที่เกิดก่อนการเข้าสู่ตับ

เป็นภาวะการเกิดดีซ่าน ก่อนสารบิลิรูบินจะถูกลำเลียงไปตามกระแสเลือด ไปที่ตับ เช่น เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด อย่างโรคไข้จับสั่น โรคโลหิตจางชนิดต่าง ๆ

  • ดีซ่านที่เกิดในตับ

เป็นภาวะดีซ่านที่เกิดขึ้นภายในตับ เกิดจากความผิดปกติที่เกิดจากการเสียหายภายในตับ เช่น โรคตับแข็ง มะเร็งตับ ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทำให้ตับไม่สามารถสังเคราะห์สารบิบิรูบิน แล้วขับออกได้ตามปกติ

  • ดีซ่านที่เกิดหลังออกจากตับ

เป็นภาวะดีซ่านที่เกิดจากการ ไม่สามารถลำเลียงสารบิลิรูบินไปสู่ลำไส้ได้ เช่น มีนิ่ว หรือ เนื้องอก ในอวัยวะที่เกี่ยวข้อง หรือ มะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

โรคดีซ่าน

โรคดีซ่านมีอาการอย่างไร?

โรคดีซ่าน ที่นอกจากจะสังเกตได้จากอาการตาเหลือง ตัวเหลือง แล้วยังสามารถสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  • ดวงตาและผิวหนังมีสีเหลือง
  • อุจจาระมีสีซีดลง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดช่วงชายโครงด้านขวา
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ท้องบวม ขาบวม
  • น้ำหนักลดผิดปกติ
  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • มีอาการคันตามตัว 

 

การวินิจฉัยโรคดีซ่าน

1. การตรวจเลือด

เป็นการตรวจการทำงานของตับ ด้วยการตรวจเลือด เพื่อทำการตรวจวัดระดับเอนไซม์ และโปรตีนในเลือด ซึ่งตับที่ถูกทำลาย จะเกิดความเสียหาย และจะปล่อยเอนไซม์ เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้โปรตีนในเลือดลดลง

 

2. การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจเพื่อวัดระดับ สารยูโรบิลิโนเจน ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ไปขัดขวางการทำงานของสารบิลิรูบินในระบบย่อยอาหาร ซึ่งปริมาณที่มากเกินไป จะแสดงถึงภาวะการเกิดโรคดีซ่าน และการวัดสารบิลิรูบิน จะพบในปัสสาวะของผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเท่านั้น

 

3. การฉายภาพรังสี

เป็นการตรวจหาดีซ่าน ที่มีข้อสงสัยว่าเกิดจากตับ หรือ เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี ทำให้เห็นภาพที่ผิดปกติภายในตับ หรือ ระบบน้ำดี ผ่านการฉายภาพรังสี ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวด์ การทำซีทีสแกน และการทำเอ็มอาร์ไอ

 

4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ

วิธีนี้จะเป็นการตรวจหาโรค ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับแข็ง หรือโรคมะเร็งตับ โดยมักจะใช้การเอาเข็มเจาะ เอาชิ้นเนื้อที่ตับไปในตรวจใจห้องแล็บ เพื่อหาความผิดปกติในเซลล์

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

 

5. การส่องกล้องผ่านทางปาก

เป็นการส่องกล้อง เพื่อตรวจบริเวณท่อน้ำดีของตับ โดยการฉีดสี และเอกซ์เรย์ผ่านกล้อง

โรคดีซ่าน

การรักษาโรคดีซ่าน

การรักษาโรคดีซ่าน แพทย์มักทำการรักษาตามโรคที่เป็นต้นเหตุ เพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดโรค รวมถึงอันตรายแทรกซ้อน ซึ่งจะพิจารณาตามชนิดที่เป็นลักษณะของการเกิด ดังนี้

  • ดีซ่านที่เกิดก่อนการเข้าสู่ตับ

การรักษาโรคดีซ่านที่เกิดก่อนเข้าสู่ตับ จะเน้นการป้องกัน ไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดการสลายตัวมากเกินไป เพื่อลดปริมาณสารบิลิรูบินในเลือด ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยการให้ผู้ป่วยเติมเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง และให้ยารักษาแก่ผู้ป่วยที่เลือดมีภาวะติดเชื้อ เช่น โรคมาลาเรีย

 

  • ดีซ่านที่เกิดขึ้นภายในตับ

การรักษาดีซ่านที่เกิดขึ้นในตับ จะเป็นการเน้นการรักษา ฟื้นฟู เซลล์ตับที่ถูกทำลายไป และป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ในรายที่ป่วยจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยา ส่วนในรายที่ตับมีความเสียหายอย่างรุนแรง อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ปลูกถ่ายตับใหม่ ส่วนสาเหตุอื่น ที่มีผลต่อตับ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถรักษา และป้องกันได้ด้วยการแก้ไขสาเหตุต้นตอ คือ การลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

 

  • ดีซ่านที่เกิดหลังออกจากตับ

โรคดีซ่านที่เกิดหลังออกจากตับ มักมีการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดแก้ไขระบบทางเดินของน้ำดี ถุงน้ำดี และตับอ่อน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการอุดตัน ของท่อน้ำดี

 

วิธีการป้องกันโรคดีซ่าน

  • ดูแลสุขอนามัยในการรับประทาน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ ซึ่งเป็นสาเหตุของพยาธิใบไม้ในตับ สาเหตุหนึ่งของมะเร็งทางเดินน้ำดี
  • รักษาความสะอาดอยู่เสมอ
  • ลด หรือ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา 
  • เลิกสูบบุหรี่ และยาสูบอื่น ๆ
  • ควบคุมน้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในทางเดินน้ำดี
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังอย่าปล่อยให้ตนเองเครียดจนเกินไป

 

โรคดีซ่าน ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวหากรู้เท่าทัน ดังนั้นใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมเสี่ยง และกำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคหรือไม่ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

 

ที่มาข้อมูล : 1 2

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง เกิดจากอะไร? อาการนี้ที่แม่ต้องรู้

ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง โรคอันตรายที่มักถูกหลายคนมองข้าม!
แชร์ :
  • อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

    อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

  • สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

    สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

  • เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

    เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

  • อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

    อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

  • สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

    สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

  • เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

    เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ