TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก กินอะไรดี? บำรุงยังไงให้ลูกแข็งแรง?

บทความ 5 นาที
ลูกในครรภ์ตัวเล็ก กินอะไรดี? บำรุงยังไงให้ลูกแข็งแรง?

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก เกิดจากอะไร ท้องเล็ก ลูกในครรภ์จะตัวเล็กไปด้วยไหม ในแต่ละไตรมาสคุณแม่ควรกินอะไร เพื่อบำรุงให้ลูกน้อยคลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์

แม้ว่าคุณแม่จะดูแลครรภ์เป็นอย่างดี รับประทานอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ลูกน้อยในท้องคุณแม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่เมื่อคุณหมออัลตราซาวนด์กลับพบว่า ลูกในครรภ์ตัวเล็ก เป็นเพราะอะไร? มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกันว่า ลูกในครรภ์ตัวเล็ก เกิดจากอะไร ท้องเล็ก ลูกในครรภ์จะตัวเล็กไปด้วยไหม และในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรกินอะไร เพื่อบำรุงให้ลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักแรกคลอดที่เหมาะสม

 

▲▼สารบัญ

  • ท้องเล็ก ลูกในครรภ์จะตัวเล็กไหม
  • ลูกในครรภ์ตัวเล็ก จะรู้ได้อย่างไร
  • วิธีอ่านตารางน้ำหนักทารกในครรภ์
  • ลูกในครรภ์ตัวเล็ก เกิดจากอะไร 
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ IUGR ที่เกิดจากคุณแม่
  • ทารกในครรภ์ตัวเล็ก อันตรายไหม
  • ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในทารกที่มีภาวะ IUGR
  • การป้องกันและรักษา
  • ลูกในครรภ์ตัวเล็ก บำรุงยังไงให้ลูกแข็งแรง
  • คุณแม่ตั้งครรภ์น้ำหนักควรเพิ่มเท่าไหร่

ท้องเล็ก ลูกในครรภ์จะตัวเล็กไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะตั้งครรภ์อายุเท่ากันก็ตาม บางคนอาจมีท้องที่ดูเล็กกว่าคนอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่าผิดปกติ ตราบใดที่คุณหมอตรวจแล้วพบว่าลูกน้อยแข็งแรงดี และน้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็ไม่ต้องกังวลใจค่ะ เพราะขนาดของท้องไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยเสมอไป

 

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก จะรู้ได้อย่างไร

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก หรือ ภาวะทารกเติบโตช้าในครรภ์ IUGR ย่อมาจาก Intrauterine Growth Retardation หมายความว่าลูกน้อยในท้องของคุณแม่โตช้ากว่าเด็กทั่วไปในช่วงอายุครรภ์เดียวกัน โดยน้ำหนักของลูกน้อยจะน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยปกติจะถือว่าน้ำหนักของทารกที่มีภาวะนี้จะมีน้ำหนักน้อยกว่า เปอร์เซนไทล์ที่ 10

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

ที่มารูปภาพ : สูติศาสตร์ล้านนา

วิธีอ่านตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ ใช้ประเมินการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ โดยเปรียบเทียบน้ำหนักจริงของทารกกับน้ำหนักเฉลี่ยของทารกในอายุครรภ์เดียวกัน

วิธีอ่านตาราง

  • อายุครรภ์ คือระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ นับอายุครรภ์จากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย
  • ช่วงน้ำหนัก แต่ละอายุครรภ์จะมีช่วงน้ำหนักที่ถือว่าเป็นปกติอยู่ 2 ค่า คือ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด
  • เปรียบเทียบน้ำหนัก นำน้ำหนักจริงของทารกที่ได้จากการอัลตราซาวนด์มาเปรียบเทียบกับช่วงน้ำหนักมาตรฐานในอายุครรภ์นั้นๆ

ตัวอย่าง

  • อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ หากผลอัลตราซาวนด์ระบุว่าทารกมีน้ำหนัก 800 กรัม ถือว่าอยู่ในช่วงปกติ เพราะอยู่ในช่วง 770-1,660 กรัม
  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ หากผลอัลตราซาวนด์ระบุว่าทารกมีน้ำหนัก 1,900 กรัม อาจต้องเฝ้าสังเกตเพิ่มเติม เพราะต่ำกว่าช่วงน้ำหนักปกติที่ 2,190-3,290 กรัม

ทั้งนี้สำหรับทารกที่เกิดครบกำหนด ควรมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติที่ ไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม

 

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก เกิดจากอะไร 

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก หรือภาวะทารกโตช้าในครรภ์ เกิดจากการที่ทารกไม่ได้รับสารอาหารและออกซิเจนเพียงพอขณะอยู่ในครรภ์ สาเหตุหลักๆ มาจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ รก และ สายสะดือ

  • รก รกทำหน้าที่เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างแม่และลูก ช่วยในการแลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจน หากรกมีปัญหา เช่น รกเล็ก รกเกาะต่ำ หรือการไหลเวียนเลือดในรกไม่ดี ก็จะส่งผลให้ทารกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • สายสะดือ สายสะดือเป็นเส้นใยที่เชื่อมต่อระหว่างทารกกับรก หากสายสะดือพันคอทารก หรือมีปัญหาในการไหลเวียนเลือด ก็อาจทำให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ IUGR ที่เกิดจากคุณแม่

  • พฤติกรรมเสี่ยง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติดต่างๆ จะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปยังรก ทำให้ทารกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน เอดส์ เริม หรือซิฟิลิส สามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  • การใช้ยา ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก
  • โรคประจำตัว โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคโลหิตจาง สามารถส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของทารก
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือความพิการแต่กำเนิดของทารกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะ IUGR
  • การตั้งครรภ์แฝด การตั้งครรภ์แฝดจะทำให้ทารกต้องแบ่งปันสารอาหารกับพี่น้อง ทำให้แต่ละคนอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

 

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก

 

ทารกในครรภ์ตัวเล็ก อันตรายไหม

ทารกในครรภ์ตัวเล็ก มักมีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาสุขภาพบางอย่างมากกว่าทารกปกติทั่วไป เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอขณะอยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในทารกที่มีภาวะ IUGR

  • ปัญหาในการดูแลทั่วไป ทารกตัวเล็กอาจต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและได้รับการดูแลเป็นพิเศษในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU) เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงพอ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจและการกิน ทารกอาจมีปัญหาในการหายใจ หรือมีปัญหาในการกินนม เนื่องจากกล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ปัญหาในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ทารกอาจมีปัญหาในการรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ เนื่องจากไขมันสะสมในร่างกายน้อย
  • ปัญหาเกี่ยวกับเลือด ทารกอาจมีจำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ ทารกอาจมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • ปัญหาทางระบบประสาท ในบางกรณี ภาวะ IUGR อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบประสาทของทารก ทำให้มีปัญหาทางด้านพัฒนาการในระยะยาว
  • ปัญหาสุขภาพระยะยาว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือปัญหาในการเรียนรู้

 

การป้องกันและรักษา

การป้องกันภาวะ IUGR ที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงก่อนการตั้งครรภ์ และไปฝากครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าทารกมีภาวะ IUGR แพทย์จะทำการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการติดตามการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด การให้ยา หรือการส่งตัวไปพบแพทย์เฉพาะทาง

 

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก บำรุงยังไงให้ลูกแข็งแรง

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก กินอะไรดี? การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นพื้นฐานที่คุณแม่ทุกคนรู้ดี แต่การเน้นสารอาหารบางชนิดเป็นพิเศษในแต่ละช่วงอายุครรภ์ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ 

 

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก

 

  • ไตรมาสแรก เน้นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการสร้างอวัยวะของลูกน้อย

ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยกำลังก่อตัว ดังนั้น คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มี กรดโฟลิกสูง เพื่อช่วยป้องกันความพิการของทารกแรกเกิด อาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว

นอกจากกรดโฟลิกแล้ว การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแป้งในปริมาณที่เพียงพอ ก็ช่วยในการสร้างเซลล์และพัฒนาการของทารกในช่วงแรกได้เป็นอย่างดี

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  • ไตรมาสสอง เน้นอาหารที่ช่วยให้ลูกน้อยเติบโตสมวัย

เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ลูกน้อยเริ่มขยายขนาดและพัฒนาสมองอย่างรวดเร็ว คุณแม่จึงต้องเพิ่มปริมาณอาหารและให้ความสำคัญกับธาตุเหล็กและไอโอดีน

  • ธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง เพื่อนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ พบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และผักใบเขียว 
  • ไอโอดีน สำคัญต่อการพัฒนาสมองของทารก พบมากในอาหารทะเล

 

  • ไตรมาสสาม เน้นอาหารที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยก่อนคลอด

ในไตรมาสสุดท้าย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างรวดเร็ว และเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด คุณแม่ควรเพิ่มปริมาณอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของทารก นอกจากนี้ ควรควบคุมปริมาณน้ำตาล เพื่อป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย

 

คุณแม่ตั้งครรภ์น้ำหนักควรเพิ่มเท่าไหร่

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ สะท้อนถึงสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารเพียงพอและเติบโตอย่างแข็งแรง

น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ดังนี้

  • คุณแม่ที่น้ำหนักปกติ (BMI 19.8-24.9) ควรเพิ่มน้ำหนัก 8-12 กิโลกรัม
  • คุณแม่ที่น้ำหนักน้อยเกินไป (BMI < 19.8) ควรเพิ่มน้ำหนักมากกว่าปกติ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารเพียงพอ
  • คุณแม่ที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน (BMI ≥ 25) ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากเกินไป แต่ก็ยังจำเป็นต้องเพิ่มให้ได้ไม่ต่ำกว่า 6 – 7 กิโลกรัม

จะเห็นได้ว่า ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ต้องใส่ใจดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน เพราะอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป จะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมในแต่ละไตรมาส และควบคุมน้ำหนักคุณแม่ให้อยู่ในเกณฑ์จะทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีน้ำหนักตามเกณฑ์​และไม่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาค่ะ

ที่มา: โรงพยาบาลพญาไท , โรงพญาบาลเปาโล , babycenter , healthsmile

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวมลิงก์ ลงทะเบียนคนท้องรับของฟรี 2568 ชี้เป้าของฟรี! สำหรับแม่ท้อง

ของใช้เตรียมคลอด มีอะไรบ้าง เตรียมของก่อนคลอด จะเป็นลางไม่ดี จริงไหม

4 บทสวดมนต์สำหรับคนท้อง คาถาคลอดลูกง่าย ปลอดภัย สวดเป็นประจำ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • ลูกในครรภ์ตัวเล็ก กินอะไรดี? บำรุงยังไงให้ลูกแข็งแรง?
แชร์ :
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

    สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

  • นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

    นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

powered by
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

    สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

  • นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

    นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว