X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สายสะดือพันคอทารก จะรู้ได้อย่างไร ?

บทความ 3 นาที
สายสะดือพันคอทารก จะรู้ได้อย่างไร ?สายสะดือพันคอทารก จะรู้ได้อย่างไร ?

ทารกและแม่ท้องเชื่อมโยงชีวิตซึ่งกันและกันผ่านสายสะดือ ที่เป็นเสือนท่อลำเลียงอาหารและอากาศสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ถ้าหากสายสะดือนั้นกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว แต่กลับทำให้ทารกได้รับอันตรายด้วยภาวะสายสะดือพันคอทารกจะทำอย่างไร

รู้ได้อย่างไร สายสะดือพันคอทารก สายสะดือพันคอทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ

สายสะดือ คืออะไร

คำว่า สายสะดือ สำหรับแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีข้อสงสัยว่าคืออะไรกันแน่ สายสะดือคือ รก ใช่หรือไม่ “สายสะดือ” คือ สิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างทารกและรกไว้ด้วยกัน หลัก ๆ สายสะดือประกอบด้วยเส้นเลือดสำคัญ 3 เส้น ได้แก่

  • เส้นเลือดดำเส้นใหญ่ที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์
  • ส่วนเส้นเลือดอีก 2 เส้นนั้น เป็นเส้นเลือดแดง มีหน้าที่หลัก คือ ลำเลียงของเสียออกจากร่างกายของทารก

ตามปกติแล้วสายสะดือมักจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งแต่ละคนจะมีความยาวของสายสะดือที่แตกต่างกันอาจจะสั้นหรือยาวกว่านี้ก็ได้  แต่ไม่มีผลเสียต่อทารกนะคะ  และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร สายสะดือจะขดไปขดมาปะปนอยู่รอบ ๆ ตัวทารกในครรภ์

 

สายสะดือพันคอทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตามปกติแล้ว ทารกอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำและจะมีการเคลื่อนไหวไปมา สังเกตได้ คือ  ลูกดิ้น การเคลื่อนไหวไปมาของลูกนี้เองอาจส่งผลให้สายสะดือเข้าไปพันรอบคอ ซึ่งปกติหากอายุครรภ์ยังน้อย ๆ  ทารกยังมีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวได้สะดวก

เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ทารกมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวไปมาทำได้รวดเร็วเร็วขึ้น เรียกว่า หกคะเมนตีลังกาก็ว่าได้ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ไปเกี่ยวพันกับสายสะดือ เมื่อลูกยังดิ้นอยู่เรื่อย ๆ ทำให้เกิดการพันแล้วหลุดได้ น้อยครั้งค่ะที่จะพันแน่น แต่ถ้าเกิดกรณีสายสะดือพันคอทารก

สายสะดือพันคอทารก

สายสะดือพันคอทารกมีผลอย่างไร

สายสะดือพันคอทารกในกรณีที่ทำให้เกิดอันตราย คือ เกิดภาวะขาดออกซิเจนในรายที่สายสะดือพันคอจนแน่นทำให้หลอดเลือดที่อยู่ภายในสายสะดือถูกกดทับ เลือดจึงไม่สามารถไหลผ่านได้อย่างสะดวก ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าเดิม

 

รู้ได้อย่างไร  สายสะดือพันคอทารก

ในช่วงครรภ์แก่ คุณแม่ควรนับลูกดิ้นเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์  ระหว่างนี้จะเป็นช่วงที่คุณแม่สังเกตการดิ้นของลูกได้ง่ายที่สุด หากนับการดิ้นแล้วสังเกตว่าลูกดิ้นน้อยลง ควรรีบไปพบคุณหมอ  เพื่อวินิจฉัยสายสะดือพันคอด้วยวิธีการตรวจอัลตราซาวนด์

  1. หากตรวจพบว่า  ทารกมีความเสี่ยงสายสะดือพันคอ คุณหมอมักจะนัดไปตรวจครรภ์ถี่ขึ้น และสังเกตการดิ้นของทารกอยู่เสมอ  ไม่จำเป็นต้องผ่าคลอดทันทีเสมอไป
  2. การผ่าคลอดทันที หากตรวจพบสายสะดือพันคอทารก  คือ  สายสะดือพันคอนั้นรั้งแน่น จนทำให้เลอืดไปเลี้ยงสมองและอาจส่งผลต่อการขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ แบบนี้จึงจะทำการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน
  3. สายสะดือพันคอทารก บางกรณีอาจคลอดปกติได้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด
  4. เน้นย้ำ คุณหมอจะวินิจฉัยสายสะดือพันคอทารกได้จากการอัลตร้าซาวด์ หากพบว่า สายสะดือพันคอทารกทำให้คุณหมอต้องนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น และคุณแม่เองต้องนับการดิ้นของทารกอยู่เสมอ ซึ่งหากดิ้นน้อยลงคุณหมอจะต้องทำการรวจการเต้นของหัวใจเสมอ

หากพบว่าการเต้นของหัวใจผิดปกติ นั่นหมายถึง ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์  กรณีเช่นนี้คุณหมอต้องทำการผ่าตัดคลอดอย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยของทารก  หากคลอดมาแล้วอย่างปลอดภัย  รับรองได้ค่ะว่า ลูกน้อยจะมีพัฒนาการและสุขภาพเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป  คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ

 

ข้อคิดสะกิดใจ

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์  ภาควิชาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อคิดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สรุปได้ดังนี้   การตั้งครรภ์และการคลอด เป็นกลไกธรรมชาติ  ส่วนมากการคลอดโดยเฉพาะการคลอดแบบธรรมชาติจะจบลงด้วยดี คือ ปลอดภัยทั้งแม่และทารก  ทางที่ดีที่สุด คือ  จุดเริ่มต้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์การฝากครรภ์และการให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองตามที่คุณหมอแนะนำจะช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ได้

 

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่ามัวแต่ห่วงสายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร

สายสะดือพันคอทารกพันตัวอยู่สามทบ หมอนัดพอดี เลยให้แม่แอดมิทผ่าคลอด

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยเงียบที่ต้องระวัง ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องได้
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยเงียบที่ต้องระวัง ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องได้
อาการท้องผูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแก้ไขไม่ทันอาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
อาการท้องผูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแก้ไขไม่ทันอาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
แชร์ไอเท็มลับ ป้องกันท้องแตกลายได้อยู่หมัดฉบับแม่ตั้งครรภ์
แชร์ไอเท็มลับ ป้องกันท้องแตกลายได้อยู่หมัดฉบับแม่ตั้งครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ เหล่าบุศณ์อนันต์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • สายสะดือพันคอทารก จะรู้ได้อย่างไร ?
แชร์ :
  • สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

    สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

    สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

สายสะดือมีความสำคัญกับชีวิตของทารกน้อย เพราะสายสะดือเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างแม่กับลูก ทำหน้าที่แทน ปอด ตับ ไต ให้กับทารกในครรภ์ ตามปกติแล้วทารกในครรภ์มักมีการเคลื่อนไหวไปมาภายในถุงน้ำคร่ำอยู่ตลอเวลาถือเป็นเรื่องปกติ ส่งผลให้สายสะดืออาจพันเข้ากับอวัยวะต่าง ๆ หากครรภ์อ่อน สายสะดือพันหลวมสามารถหลุดดออกไป แต่ถ้าครรภ์แก่ใกล้คลอดสายสะดือพันคอทารกถือว่ามีความเสี่ยงแต่มีวิธีการตรวจสอบสายสะดือพันคอทารกได้ค่ะ บทความนี้มีคำตอบ
theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ