การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
การตั้งครรภ์ นับเป็นก้าวแรก ของการเดินทางสู่การเป็น คุณพ่อ และ คุณแม่ อย่างเต็มตัว ทุกอย่างที่เกิดขึ้น นับเป็นการเดินทางอันมหัศจรรย์ แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางของ คุณพ่อ และ คุณแม่นั้ นบางครั้งอาจจะเจอเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนาม และ อุปสรรค โดยหนึ่งในอุปสรรคที่คุณพ่อ คุณแม่หลายคนกังวล นั้นก็คือ ‘การ คลอดก่อนกำหนด ’ การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอด ตั้งแต่ อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ จนถึง ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรือ คลอดก่อน 259 วัน โดยสิ่งที่อาจจะเป็นอุปสรรคตามมาก็คือทารกที่ คลอดก่อนกำหนด จะมีความเสี่ยงต่ออวัยวะที่พัฒนาไม่สมบูรณ์ และเกิดอาการต่าง ๆ แทรกซ้อนได้ เช่น อาการหายใจลำบาก เกิดภาวะอุณหภูมิต่ำหรือตัวเย็น เกิดภาวะตัวเหลือง และ ซีด มีการสำลักนม ท้องอืดง่าย ติดเชื้อโรคได้ง่าย ฯลฯ และ อาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ในระยะยาว อาจพบปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจวายพิการแต่กำเนิด มีความผิดปกติของสมอง ชัก หูหนวก ตาบอด และ การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ไอคิวต่ำ เป็นต้น โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนดป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร?
การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ก่อนจะพูดถึง วิธีการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เรามีเคสที่น่าสนใจ ของ คุณพ่อที่เพิ่งใจสลาย กับ การเสียลูกน้อยของเขาไปเพียงสองเดือนซึ่งอาจเป็นเพราะโรคที่มากับการคลอดก่อนกำหนด
อย่างที่หลายคนอาจจะทราบดีว่าสี่เดือนที่แล้ว ผมและภรรยาของผมได้สูญเสียลูกชายวัย 2 เดือนไป การสูญเสียครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียที่เจ็บปวดอย่างสาหัสที่สุดที่ผมและภรรยาได้เคยสัมผัสมาทั้งชีวิต ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราทั้งสองนั้นได้ผ่านช่วงเวลาที่ลำบากและความรู้สึกที่ทั้งเศร้า, ปิดกลั้นตัวเอง และไม่มั่นคงเพราะเราทั้งคู่แม้กระทั่งหมอที่รักษาลูกของผมยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมเราเสียเค้าไป จนกระทั่งตอนนี้เราได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงแล้ว
ลูกชายของผม คาเฟีย (Kavir) เกิดเมื่อ 2 เดือนก่อน ณ แผนกฉุกเฉินเพราะทีมแพทย์คิดว่าลูกชายของผมเกิดอาการอุดตันการไหลเวียนของเลือดในสายสะดือซึ่งทำให้น้ำคร่ำรอบตัวของเขาแห้ง จึงทำให้คาเฟีย (Kavir) เกิดมาตัวเล็ก น้ำหนักของเขาอยู่ที่ 1,020 กรัมและคลอดในสัปดาห์ที่ 31 คาเฟีย (Kavir) จัดว่าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยเขาจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการคลอด ผมและภรรยาหวังว่าจะได้เจอกับสายตาที่เฝ้ามองเราทั้งคู่ หวังว่าเขาจะได้ยิ้มให้ผมกับภรรยา และหวังว่าเขาจะเติบโตอย่างเด็กปกติ
หลังจากคลอดคาเฟีย (Kavir) ได้ประมาณสี่สัปดาห์ หมอเริ่มสังเกตเห็นอาการบวมบริเวณท้องของลูกชายผม โดยจากอาการแล้วทีมแพทย์ได้สงสัยเกี่ยวกับปัญหาตับของเขา ในขั้นต้นของการตั้งข้อสังเกตทีมแพทย์ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาตับของลูกชายผมโดยพวกเขาสงสัยว่าตับของคาเฟีย (Kavir) เกิดปัญหาจากโรคเมตาบอลิซึมที่มาจากพันธุกรรม การวินิฉัยครั้งนี้เป็นไปโดยขาดหลักฐานหลายอย่างทั้งประวัติของครอบครัวและผลเลือดที่สรุปไม่ได้ (โดยทางเดียวที่จะสามารถพิสูจน์สิ่งนี้ได้คือการตรวจสอบทางพันธุกรรมอย่างเร่งรีบ – และแน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้ทำ) แม้จะมีผลเลือดที่สรุปไม่ได้ แต่แพทย์ผู้ดูแลกับยืนกรานว่ามันเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้และเราต้องทำการปลูกถ่ายตับหากต้องการให้เขาได้ใช้ชีวิตปกติเหมือนเด็กทั่วไป – และชีวิตปกติเหมือนเด็กทั่วไปคือสิ่งที่เราวางแผนไว้ให้ลูกชายของเรา แต่แล้วเราก็ต้องเสียใจอย่างหนักเพราะเมื่อเราติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายตับของต่างประเทศเราก็ได้รับรู้ว่าแพทย์ที่นี้ไม่สามารถวินิจฉัยแยกโรคได้อย่างถูกต้อง พวกเขาใช้วิธีการรักษาแบบไม่แม่นยำและเร่งรีบ แต่ถึงเราจะตระหนักได้มันก็สายไปเสียแล้ว
โดยวันนี้ผมพร้อมที่จะเล่าถึงเรื่องราวของคาเฟีย (Kavir) ให้กับทุกคนได้รู้ว่าลูกชายของผมได้เสียชีวิตจากอาการตับวายซึ่งเกิดจากโรคภูมิคุ้มกัน โรคนี้ถูกเรียกว่า Neonatal Hemochromatosis หรือ NH เกิดจากการตั้งครรภ์ในรูปแบบของ Gestational Alloimmune Disease (GALD) โดยโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตับของทารกถูกทำลายด้วยแอนติบอดี้ที่สร้างขึ้นผ่านระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าหากรู้ตัวเร็วแต่แรกโรค Neonatal Hemochromatosis)จะสามารถรักษาได้อย่างง่ายดายผ่านการถ่ายเลือดและการฉีดสารยับยั้งภูมิคุ้มกันที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า 75% แต่น่าเสียดายที่ลูกชายของผม คาเฟีย (Kavir) ไม่สามารถรักษาได้ทันเวลา
สาเหตุที่ผมต้องออกมาแแชร์เรื่องราวเหล่านี้ในสาธรณะนั้นไม่ใช่เพราะผมโกรธหมอหรือเพราะผมต้องการความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น แต่ผมไม่ต้องการให้ความเจ็บปวดอันยิ่งใหญ่ที่ผมและภรรยาได้รับต้องผ่านไปอย่างไร้ค่า ผมและภรรยาไม่สามารถนำลูกชายกลับมาได้แล้วแต่ผมต้องการที่จะแบ่งปันเรื่องราวของเขาในฐานะของผู้เป็นพ่อ
หลังจากที่เราได้อ่านเรื่องที่น่าสะเทือนใจแล้วเราหวังว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่จะหันมาดูแลใส่ใจตัวเองและลูกในครรภ์ยิ่งขึ้นโดยวันนี้เรานำหลักวิธีดีๆที่จะป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดมาให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกคนอ่านกันนะคะ
ลดการคลอดก่อนกำหนดด้วยการพักผ่อน
1) การพักผ่อนและไม่ทำงานหนัก
ในช่วงเวลากลางคืนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้นอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และตอนกลางวันควรได้งีบหลับประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลายและอย่าลืมการทำงานหนักเกินไปอาจจะส่งผลที่ไม่ดีต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ด้วย!
งดเครียดตอนท้องป้องกันการปลอดก่อนกำหนด
2) งดเครียด
ภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์อาจมีภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดคลอดลูกก่อนกำหนด เสี่ยงแท้ง ทารกในครรภ์เติบโตช้า ทารกมีภาวะเครียด หรือมีโอกาสเชื้อในครรภ์สูงขึ้นได้ เพื่อช่วยภาวะความเครียดอาการซึมเศร้าที่พบได้ในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์การหากิจกรรมทำหรือได้คุยกับเพื่อนสนิทจะช่วยลดความเครียดได้นะคะ!
วิธีลดการคลอดก่อนกำหนดกินอาหารครบประโยชน์
3)รับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นอย่างเพียงพอ
มีการศึกษาพบว่าแม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์น้อย หรือมีภาวะขาดสารอาหาร และมีการเพิ่มของน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์น้อย เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด!
งด Sex ตอนท้องลดการคลอดก่อนกำหนด
4)อย่าเพิ่งเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
แม่ตั้งครรภ์มีเซ็กส์ตอนท้องได้ถ้าคุณแม่ท้องสุขภาพดี แต่กับคุณแม่บางคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องคือคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนด อีกทั้งการมีเซ็กส์ในระหว่างตั้งครรภ์ยังเสี่ยงต่อการนำเชื้อโรคเข้าสู่ปากมดลูกทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้!
ลดการคลอดก่อนกำหนดด้วยการดูแลช่องปาก
5)ดูแลสุขภาพทางช่องปาก
หากมีการอักเสบภายในช่องปากจะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อย่าละเลยเรื่องสุขภาพปากและฟันไปนะคะ!
หาหมอตามนัดลดการคลอดก่อนกำหนด
6)พบคุณหมอตามนัด
สำคัญที่สุดคุณแม่ควรมาพบคุณหมอตามตารางนัดโดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงและรับคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลท้องตามอายุครรภ์เพื่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์จะได้แข็งแรงพร้อมคลอดตามกำหนดและปลอดภัยกันนะคะ!
ที่มา : https://www.facebook.com/nakrin/posts/10107145290926535
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!