X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง “น้ำนม”

บทความ 5 นาที
รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง “น้ำนม”

รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่เกี่ยวกับน้ำนมแม่ อุ่นนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ พร้อมเคล็ดลับการเก็บนมแม่ที่จะทำให้สารอาหารในนมแม่ยังมีอยู่อย่างครบถ้วน

สำหรับคุณแม่มือใหม่ คงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและวิธีนำนมที่สต็อกไว้มาใช้ เพื่อคลายความสงสัยและความกังวล เราจะไปหาคำตอบของคำถามเกี่ยวกับเรื่องนม ๆ ของคุณแม่มือใหม่กันค่ะ

รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง น้ำนม

นมแม่แช่แข็ง สารอาหารยังดีเหมือนเดิมไหม?

เรื่องนี้เป็นคำถามฮิตที่คุณแม่ทุกคนสงสัยและอาจจะเคยถามคุณหมอมาบ้าง ซึ่งก็ได้มีการศึกษาวิจัยแล้วพบว่า นมแม่ที่เก็บไว้ในตู้เย็น จะมีคุณสมบัติไม่ดีเท่ากับนมแม่สดใหม่จากเต้า แต่ก็ยังมีประโยชน์มากกว่านมอื่น ๆ เพราะยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกัน เอ็นไซม์ ฮอร์โมน สารต้านมะเร็ง ซึ่งยังทำงานได้เป็นอย่างดี 

อย่างที่ทราบกันดีว่า นมแม่ โดยเฉพาะระยะที่เป็น “น้ำนมเหลือง” นั้นมีสารอาหารสมบูรณ์ที่สุด และมีสารอาหารสำคัญอย่าง แลคโตเฟอร์ริน และ MFGM โดยแลคโตเฟอร์รินมีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสก่อโรคให้กับลูก ส่วน MFGM มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการสร้างเซลล์สมอง และช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ที่เหนือกว่า

หากคุณแม่นำ น้ำนมเหลือง ไปแช่แข็ง ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสารอาหารในน้ำนมแม่ยังคงมีอยู่ในน้ำนมแม่แช่แข็งและเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย

นมแม่ปั๊มเสร็จจัดเก็บอย่างไร?

หลังจากคุณแม่ปั๊มนมแล้ว สามารถวางนมทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 ° C) ได้ในระยะเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงค่ะ หากอยากจะเก็บน้ำนม คุณแม่ควรชิมทุกครั้ง ถ้ามีรสเปรี้ยวให้ทิ้งไปอย่าเสียดาย ลูกท้องเสียมาจะไม่คุ้มค่ะ เมื่อเก็บนมลงในถุงเก็บน้ำนมแล้ว ก็อย่าลืมเขียนวันที่ระบุไว้ จะได้เลือกนำมาให้ลูกดื่มถูกค่ะ

นมแม่เก็บได้นานสุดกี่เดือน?

นมแม่จะเก็บได้นานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บค่ะ 

  • เก็บน้ำนมที่ตู้แช่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 1 ปี 
  • เก็บที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 ประตู เก็บได้นาน 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการเปิด – ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
  • เก็บที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็นประตูเดียว เก็บได้นาน 1 – 3 เดือน ขึ้นกับการเปิด – ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
  • เก็บที่ช่องน้ำเย็นตั้งแต่แรกปั๊ม แต่ไม่ใช่ที่ฝาประตู เก็บได้นาน 7 วัน
  • เก็บที่ห้องแอร์ตั้งแต่แรกปั๊ม เก็บได้นาน 12 ชม. 
  • ถ้าเอานมแช่เย็นออกจากตู้เย็นมาวางที่ห้องแอร์หรือกระเป๋าเก็บความเย็น เก็บได้นาน  8 ชม. แต่ถ้าลูกดื่มแล้ว จะเก็บได้นาน 4 ชม.
  • ถ้าย้ายนมแช่แข็งออกมาจากช่องฟรีซลงมาที่ช่องน้ำเย็น อยู่ได้อีก 24 ชม.

แต่ก่อนจะให้ลูกดื่มนมที่ละลายมา ควรชิมทุกครั้ง ถ้าไม่เปรี้ยว แต่มีเหม็นหืนเล็กน้อย สามารถให้ลูกกินได้ค่ะ

Advertisement

รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง น้ำนม

อุ่นนมอย่างไรให้ปลอดภัยและได้สารอาหารครบ

ที่ นมแม่ เปรียบเสมือนวัคซีนจากอกแม่สู่ลูกน้อย ก็เพราะมีสารอาหารสำคัญตามที่บอกไปข้างต้น หากคุณแม่อุ่นนมแม่ในอุณหภูมิสูงเกินไปจะส่งผลให้สารอาหารนานาที่เป็นประโยชน์กับลูกในนมแม่หายไป มาดูกันว่า วิธีอุ่นนมแม่ควรทำอย่างไรให้สารอาหารยังคงอยู่

  • วิธีอุ่นนมแม่  วิธีอุ่นนมแม่ที่แช่ตู้เย็น
    • นำถุงเก็บน้ำนมแม่ออกจากตู้เย็นแล้วพักไว้
    • นำน้ำร้อนที่ต้มด้วยกา หรือว่าอุ่นจากไมโครเวฟ เทใส่ถ้วย หรือชาม
    • วางถุงเก็บน้ำนมแม่ในถ้วยน้ำอุ่น
    • ทิ้งนมแม่ไว้ในถ้วยน้ำอุ่น ประมาณ 1-2 นาที
    • นำมือค่อย ๆ ดันน้ำนมแม่ออกจากถุงใส่ขวดนม
    • หมุนขวดนมให้นมผสมกัน ห้ามเขย่าเด็ดขาด

จากนั้น หยดน้ำนมลงที่มือเพื่อทดสอบอุณหภูมิ อย่าให้น้ำนมมีอุณหภูมิที่ร้อนเกินไป เพราะอาจจะลวกลูกน้อยได้ค่ะ

  • วิธีอุ่นนมแม่จากช่องแช่แข็ง
    • ให้นำนมแม่ออกจากช่องแช่แข็ง
    • จากนั้นนำไปแช่ในช่องแช่เย็นในตู้เย็นปกติ
    • แล้วทำเหมือนวิธีอุ่นนมแม่ที่แช่ในตู้เย็น ตามข้างบน
    • หากคุณแม่ต้องการอุ่นนมให้ลูกกินเลย แนะนำให้นำนมมาแช่ในน้ำร้อน ประมาณ 10-15 นาที หรือนานกว่านั้น
    • จากนั้นก็เทนมใส่ขวด แล้วค่อย ๆ คนให้เข้ากัน

สามารถอุ่นนมแม่ในไมโครเวฟได้ไหม?

เรียกว่าเป็นเรื่องที่คุณแม่ยุคใหม่สงสัยหนักมาก คำตอบก็คือ ไม่แนะนำให้นำนมแม่อุ่นในไมโครเวฟค่ะ เนื่องจากความร้อนในไมโครเวฟไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการไหม้บางจุดได้ อีกทั้งยังทำลาย แลคโตเฟอร์ริน MFGM แบคทีเรียดี วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ ในน้ำนมแม่ด้วยค่ะ 

จำเป็นต้องใช้ที่อุ่นขวดนมหรือไม่?

สำหรับที่อุ่นขวดนม เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการอุ่นนมโดยเฉพาะ มีการใช้ความร้อนที่สม่ำเสมอไม่เหมือนกับไมโครเวฟ ประหยัดเวลา แต่คุณแม่ต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิขณะอุ่นสูงเกินไป เพราะจะทำลายสารอาหารในนมแม่ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณแม่เก็บนมไว้มากกว่า 1 ปี น้ำนมแม่จะเริ่มเป็นกรดมากขึ้น ทำให้สารอาหารบางอย่าลดลงหรือหายไป ดังนั้นเมื่อน้ำนมที่เก็บไว้นานเกิน 1 ปี คุณแม่ก็ไม่ควรให้ลูกดื่มนะคะ 

รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง น้ำนม

ทำอย่างไรกับนมแม่ที่เก็บไว้นานเกินไป?

คุณแม่ทีมีน้ำนมที่เก็บไว้นานเกินไป สามารถนำไปรักษาสิว บำรุง และทำความสะอาดผิวหน้าได้ค่ะ เพียงใช้สำลีชุบน้ำนมแม่แต้มให้ทั่วใบหน้า หรือใช้มาสก์ชีตแช่ในน้ำนมแม่ แล้วนำไปมาสก์หน้า ก็ช่วยให้ผิวหน้านุ่มนวล หรือใช้เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางที่เปลือกตาก็ได้ค่ะ 

เพื่อให้ลูกยังคงได้รับสารอาหารจากนมแม่อย่างครบถ้วน คุณแม่ควรให้ลูกกินนมที่ไม่นานเกิน 1 ปี นะคะ อย่าลืมว่า นมแม่ คือ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย การดูแลให้ลูกได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ ถือเป็นการมอบวัคซีนที่ดีที่สุดจากอกแม่สู่ลูกน้อยนะคะ

 

ที่มา: healthline.com,  facebook.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

7 ประโยชน์ที่ยกให้ “นมแม่” ชนะเลิศ

มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

5 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกรักด้วยวิธีธรรมชาติ

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

threenuch

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง “น้ำนม”
แชร์ :
  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว