X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

บทความ 5 นาที
7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

ประจำเดือนไม่มาทีไร ไม่สบายใจทุกที ปัญหาของคุณผู้หญิงเมื่อประจำเดือนไม่มา เพราะปัจจัยต่าง ๆ แต่มั่นใจว่าตนเองไม่ได้ท้อง วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า วิธีทำให้ประจำเดือนมา สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

 

ทำไมประจำเดือนไม่มา ?

เมื่อประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนไม่มา สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุจากธรรมชาติ เช่น เกิดจากการตั้งครรภ์ หรือเข้าสู่วัยทอง เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ, ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือท้องนอกมดลูก เป็นต้น เกิดจากพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเครียด การทานอาหารมากเกินไป หรือการไม่ออกกำลังกาย รวมไปถึงผลข้างเคียงจากการทานยาต่าง ๆ เช่น ยาคุมบางชนิด, ยาควบคุมความดันโลหิต, ยาต้านเศร้า และยาแก้แพ้ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เหตุผลทำไมประจำเดือนไม่มา มีเหตุผลอะไรบ้างที่แม่ขาดประจำเดือน

 

วิดีโอจาก : PPAT Channel ปรึกษาวางแผนครอบครัว

 

7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ทำได้เองที่บ้าน

การช่วยกระตุ้นให้ประจำเดือนมาทำได้หลายวิธี โดยเราจะหยิบยกวิธีที่ปลอดภัย ไม่ต้องเผชิญกับผลข้างเคียงร้าย ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้ง 7 วิธี ได้แก่

 

1.ออกกำลังกาย

Advertisement

การออกกำลังกายสามารถกระตุ้นให้ประจำเดือนมาได้ แต่ต้องระวังไม่ออกกำลังกายที่ใช้แรงมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย ให้คุณผู้หญิงออกกำลังแบบคาร์ดิโอครั้งละอย่างต่ำ 20 นาที และออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์ หากไม่มีความรู้มากพอในชนิดการออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ หรือเทรนเนอร์ เพื่อหาการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวของเรามากที่สุด

 

2.ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร

น้ำหนักตัวมีผลต่อรอบประจำเดือน ทั้งผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป และผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป น้ำหนักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทานอาหาร จึงต้องปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักมาก ให้ลดของติดมัน ลดของหวาน ทานผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น เน้นอาหารที่มีกากใยอาหาร เพื่อช่วยในการขับถ่าย งดแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม เป็นต้น พยายามคำนวณปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน โดยพื้นฐานทั่วไปผู้หญิงต้องการพลังงานวันละประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี แต่อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย

 

3.พยายามผ่อนคลายตนเอง

สภาวะอารมณ์มีผลกับการที่ประจำเดือนไม่มาได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะความเครียดที่มากเกินไป หากรู้สึกไม่สบายใจ หรือเครียด ควรหากิจกรรมอื่นทำที่ทำให้อารมณ์ดีขึ้น อาจเป็นกิจกรรมที่ตนเองชอบ หรือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, อ่านหนังสือ, นั่งสมาธิ หรือคุยกับเพื่อน เป็นต้น นอกจากการทำกิจกรรมเหล่านี้แล้ว การให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ด้วยการนอนหลับให้เหมาะสม ถือเป็นการพักผ่อนที่สำคัญ และทำได้ไม่ยากเช่นกัน

 

4.ใช้ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดแบบทั่วไป ที่ไม่ใช่ฉุกเฉิน สามารถช่วยให้รอบเดือนมาปกติได้มากขึ้น หากใช้อย่างถูกวิธี กรณีมีความต้องการใช้ยาตัวอื่น ๆ เช่น ยาปรับฮอร์โมนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้โดยทั่วไป ไม่ควรตัดสินใจนำมาใช้เอง ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนว่าสามารถทานได้ไหม มีข้อจำกัดอะไรบ้าง แก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือเปล่า และข้อควรระวังต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

 

5.ชาสมุนไพรช่วยได้

สมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น ผักชีฝรั่ง, ขิง, ดอกคาโมมายล์ หรือใบราสป์เบอร์รีแดง เป็นต้น สมุนไพรเหล่านี้มักถูกนำมาทำเป็นน้ำชาสมุนไพร เพื่อให้ทานได้ง่าย หาซื้อได้ไม่ยาก เมื่อระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ก็ส่งผลต่อรอบเดือนได้เช่นกัน นอกจากนี้ขึ้นชื่อว่าสมุนไพร ย่อมมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากทานได้อย่างถูกวิธี และเลือกสินค้าที่ไม่ปรุงแต่งจนเกินไป

 

บทความที่น่าสนใจ : ของกิน แก้ปวดประจำเดือน ในเซเว่น หาซื้อง่าย ปวดท้องเมนส์ กินอะไรดี ?

 

วิธีทำให้ประจำเดือนมา

 

6.ประคบร้อน

ความร้อนจากการประคบ หรือจากการอาบน้ำอุ่น จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยเฉพาะการประคบเฉพาะจุด นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด เปรียบเป็นการพักผ่อนชนิดหนึ่ง กล้ามเนื้อที่ผ่อนคลายร่วมกับอารมณ์ที่ดีขึ้น สามารถช่วยให้ประจำเดือนมาตามรอบได้นั่นเอง

 

7.เพิ่มวิตามินซีในร่างกาย

วิตามินมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตเอสโทรเจน (Estrogen) และลดการหลั่งของโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มดลูกจะหดรัดตัวมากขึ้น การเพิ่มวิตามินซีในร่างกายไม่ควรใช้อาหารเสริม หากใช้ต้องเลือกให้ดี หรือปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสม เราจึงต้องหันมาเพิ่มวิตามินซีจากธรรมชาติ ด้วยการทานผลไม้ เช่น ส้ม, มะนาว, ฝรั่ง และผลไม้ตระกูลเบอร์รี หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เป็นต้น

 

ระวังความเสี่ยงจากการกระตุ้นประจำเดือน

การกระตุ้นรอบเดือนให้มาเมื่อรอบเดือนหาย ไม่ควรใช้วิธีที่เกี่ยวข้องกับการสารเคมี หรือการปรุงแต่ง แม้การใช้ยาคุมกำเนิดจะดูไม่อันตราย แต่ต้องระวังในหญิงวัย 35 ปีขึ้นไป เพราะอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น ให้เน้นวิธีที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น การทานผักผลไม้ การใช้น้ำอุ่น หากพบวิธีอื่นที่แปลกจากคนทั่วไป หรือตัวยาทั้งยาฮอร์โมน หรืออาหารเสริม ไม่ควรตัดสินใจเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้หากสงสัยว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ควรหยุดวิธีกระตุ้นประจำเดือนทุกวิธี และเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจครรภ์ และรับคำแนะนำต่อไป

 

ประจำเดือนไม่มาแบบไหนควรไปพบแพทย์

  • ประจำเดือนขาดติดต่อกันครบ 3 เดือน
  • หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี หรือ อายุ 55 ปีขึ้นไป แต่ยังมีประจำเดือน
  • ประจำเดือนเกิดความผิดปกติฉับพลัน เช่น มามากเกินไป หรือมาไม่แน่นอน เป็นต้น
  • มีอาการที่สุ่มเสี่ยงกับการตั้งครรภ์
  • มีเลือดออกหลังจากผ่านการมีเพศสัมพันธ์

 

การกระตุ้นประจำเดือนเป็นเพียงวิธีที่ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติได้มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคนด้วย ไม่สามารถรับประกันว่าจะได้ผลทันที ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ หรือมีข้อสงสัย ควรพบแพทย์จะดีที่สุด

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจำเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?

ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีลูกยากจริงหรือ

ช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา…ปกติไหม?

ที่มาข้อมูล : hellokhunmor Paolohospital Pobpad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว