X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจําเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?

บทความ 5 นาที
ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจําเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?

ท้องแล้วประจำเดือนจะมาไหม ท้องแต่มีประจำเดือน เป็นไปได้จริงหรือ ท้องแล้วมีประจำเดือนได้อย่างไร ทำเอาหลายคนสงสัย ว่าการที่เลือดออกนั้นผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาแล้วยังท้อง มีประจำเดือนแต่ท้อง ท้องแต่มีประจำเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร วันนี้เราได้รวบรวมทุกข้อสงสัย มาให้แม่ท้องได้รู้กัน

 

ท้องแต่มีประจำเดือน ประจำเดือนมาแล้วยังท้อง เป็นไปได้หรือ?

ประจำเดือน จะเกิดจากเยื่อบุผนังของมดลูกที่หลุดออกมา เนื่องจากไข่ที่ตกลงมานั้นไม่ได้เกิดการผสมเชื้อ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ เมื่อไม่มีการผสมกันก็จะหลุดลอกออกมาทำให้เกิดประจำเดือน แต่ในกรณีที่ประจำเดือนไม่มานั้น อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญก็คือ การตั้งครรภ์ เมื่อมีการตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนก็จะหายไป แต่ในบางรายกลับพบว่า มีเลือดออกมาแบบประจำเดือน แต่กลับมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

 

มีอาการเลือดออกคล้ายประจำเดือน ทั้ง ๆ ที่ตั้งครรภ์ โดยอาการข้างต้นนี้เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในคนท้อง ส่วนใหญ่คนมักจะเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก มีเลือดออกจากช่องคลอดเปื้อนกางเกงใน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าประจำเดือนมา ซึ่งจะเป็นอยู่แค่ 1 – 2 วันเท่านั้น อาการดังกล่าวก็จะหายไป

 

ท้องแต่มีประจำเดือน

 

อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ?

เลือดล้างหน้าเด็ก เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อน ที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 5-7 หลังจากที่ไข่ได้รับการผสมเชื้อ การฝังตัวอาจทำให้เกิดเลือดออกในเยื่อบุโพรงมดลูกได้ และอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ปกติ ไม่เป็นอันตราย ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เมื่อคุณแม่ตรวจครรภ์แล้วหากทราบว่าตั้งครรภ์ ก็สามารถเริ่มดูแลสุขภาพได้ทันที

 

 

เป็นประจำเดือน 2 รอบ ท้องไหม ท้องแต่มีประจำเดือน ได้ไหม ?

มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นเรื่องจริงได้หรือ ? การมีประจำเดือน 2 ครั้งในรอบเดือน อาจไม่ใช่เลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ แต่เป็นการที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน การรับประทานยา หรือการกินอาหารบางชนิด ความผิดปกติของการตกไข่ การออกกำลังกายหนัก ความเครียด การทำงานของไทรอยด์ที่ผิดปกติ

 

มีประจำเดือนแต่ท้อง ส่วนในเรื่องของการตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับว่า มีการป้องกันมากน้อยแค่ไหน เช่น หากทำการหลั่งนอก ก็มีโอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์ได้ เพราะระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ก็จะมีอสุจิปะปนออกมา แม้ในปริมาณที่น้อย แต่ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน ส่วนในกรณีของการมีประจำเดือน 2 รอบ เป็นเรื่องที่คาดเดายาก เนื่องจากประจำเดือนมาไม่ปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม และรักษาอย่างถูกต้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร ไขข้อสงสัยแบบไหนถึงเรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก

 

เลือดล้างหน้าเด็ก กับ ประจำเดือน แตกต่างกันอย่างไร ?

เลือดล้างหน้าเด็กจะมีปริมาณที่น้อยกว่าประจำเดือนมาก ส่วนสีเลือดก็จะมีความจางกว่าเลือดประจำเดือนปกติทั่วไป และมักจะหมดภายในไม่กี่วัน โดยจะออกมาทางช่องคลอดในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะมาก่อน 1 สัปดาห์ เมื่อถึงวันที่ประจำเดือนมา แต่ประจำเดือนกลับไม่มา ถ้าหากอยากจะแยกแยะให้ชัดเจนไปเลย ควรใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ร่วมด้วย ถ้าผลออกมาว่า ตั้งครรภ์ เลือดที่ไหลออกมาช่องคลอดนั้นคือเลือดล้างหน้าเด็ก หากไม่พบว่าตั้งครรภ์เลือดที่ออกมานั้น คือประจำเดือนที่คลาดเคลื่อนตามภาวะปกติของการมีประจำเดือน

 

 

รอบเดือน ผิดปกติหรือไม่สังเกตจากอะไร ?

ผู้หญิงส่วนมากจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมประจำเดือนเลื่อน มาไม่ตรง หรือบางครั้งก็ไม่มาเลย โดยวิธีสังเกตประจำเดือน หรือรอบเดือน มีวิธีง่าย ๆ  ดังนี้

  • รอบเดือนแต่ละรอบ ห่างกันเกิน 35 วัน หรือห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 1 – 2 ชั่วโมง
  • ในแต่ละรอบเดือน มีประจำเดือนมากกว่า 7 วัน
  • เวลาเป็นประจำเดือน มักปวดหน่วง ๆ รุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  •  เมื่อคุณอายุน้อยกว่า 11 ปี แต่มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน

 

ท้องแต่มีประจำเดือน

สาเหตุที่ มีประจำเดือนแต่ท้อง อาการผิดปกติที่อาจเป็นไปได้มีอะไรบ้าง ?

  • การแท้งคุกคาม

มีเลือดออกจากช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออกมากหรือน้อยแตกต่างกันไป อาจจะมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยในบางราย ส่วนใหญ่มักจะพบเมื่อตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรก ถ้าในช่วงแรกการที่มีเลือดออกจากช่องคลอด อาจเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่เยื่อบุโพรงมดลูก ที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการแท้งคุกคาม การแท้งคุกคาม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ความพิการของทารกตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

 

  • การตั้งครรภ์โดยไม่พบตัวอ่อน

การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า ท้องลม เป็นการตั้งครรภ์โดยผิดปกติ ที่เกิดจากการฝังไข่กับอสุจิ ผสมกันเป็นตัวอ่อน ฝังตัวในระยะแรก แต่ส่วนของตัวเด็กฝ่อไปเหลือเพียงแต่ถุงการตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ฝ่อ จึงต้องมีการขูดออก หรือในบางราย ก็อาจเกิดการแท้งธรรมชาติหลุดออกมาในช่วง 6 สัปดาห์แรก หรือหลัง 12 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุหลัง ๆ ที่ทำให้ตั้งครรภ์โดยไม่พบตัวอ่อนก็คือ ความผิดปกติของมดลูก ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีผลต่อการฝังตัว

 

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

ที่พบได้บ่อย คือ ภาวะที่ตัวออกไปฝังตัวนอกโพรงมดลูก จะมีอาการปวดท้องน้อย และมีเลือดออกทางช่องคลอด หากถุงการตั้งครรภ์แตกก็อาจจะทำให้เกิดการตกเลือดในช่องท้อง คนไข้อาจมีอาการซีด ความดันต่ำ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

  • การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ออกมามากเหมือนประจำเดือน แพ้ท้องมาก ครรภ์เป็นพิษ มีอาการบวม และเลือดออกจากช่องคลอด คล้ายกับอาการแท้ง เมื่อตรวจพบจะต้องทำการขูดมดลูกเพื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 40 ภาวะแท้งคุกคาม อันตรายไหม?

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจําเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?

 

หากมีเลือดออกในช่วงอายุครรภ์ที่ เกิน 20 สัปดาห์ มีสาเหตุมาจากอะไร ?

  • รกเกาะต่ำ ในสตรีตั้งครรภ์ปกติรกจะเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของมดลูก หากรกเกาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมมาถึงปากมดลูก เรียกว่า ภาวะรกเกาะต่ำ
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีเลือดออก และมีก้อนเลือดใต้รก จึงทำให้มีอาการปวดท้อง เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด
  • การฉีกขาดของหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มรกพบน้อย

 

 

การรักษาเลือดออกตอนท้อง

การรักษาขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัย และให้การรักษาเฉพาะตามโรคที่เป็น  หากเป็นการตั้งครรภ์ปกติให้คำแนะนำและนัดตรวจติดตามอาการหรือคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อยืนยันการมีชีวิตของทารกในครรภ์ สตรีตั้งครรภ์บางรายอาจไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์จนกระทั่งลูกดิ้น โดยเฉพาะในรายที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ สตรีวัยรุ่น รูปร่างอ้วน ไม่ได้คุมกำเนิด เป็นต้น

 

ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจําเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?

 

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

เมื่ออาการแพ้ท้องของคุณแม่หายไป การรับประทานอาหารของคุณแม่จะดีขึ้น แต่ไม่ควรกินอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ขนมหวาน ไขมันมากเกินไป รวมถึงไม่กินอาหารดิบ ๆ สุก ๆ ของหมักดอง ผงชูรส และไม่ควร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย กลางคืนควรนอนพักให้เต็มอิ่ม ควรนอนวันละ 8 – 10 ชั่วโมง และหาเวลานอนช่วงกลางวันอีกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

 

  • การออกกำลังกาย

ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดี ร่างกายแข็งแรง ไม่ได้ทำให้เกิดการแท้งแต่อย่างใด เพียงแต่อย่าออกกำลังกายหักโหมมากเกินไปจนทำให้อ่อนเพลีย หรือกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์

 

  • การรักษาความสะอาด

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ อุณหภูมิของร่างกายจะร้อนขึ้น มีเหงื่อออกมาก ควรอาบน้ำให้ร่างกายสดชื่น หากรู้สึกหนาวเย็นก็ควรอาบน้ำอุ่น รวมถึงทาโลชั่นบำรุงผิวเพื่อบำรุง

 

  • ดูแลปากและฟัน

หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มักฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย ควรแปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และบ้วนน้ำยาทำความสะอาด หากมีปัญหาช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ

 

  • การดูแลเต้านม

ขณะตั้งครรภ์เต้านมจะมีการขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมสร้างน้ำนมให้เจ้าตัวน้อย บางรายอาจจะมีน้ำนมไหลออกมาก่อนคลอด ถือเป็นเรื่องปกติ เวลาอาบน้ำล้างเต้านมให้สะอาด ไม่ควรใช้สบู่ถูเนื่องจากจะทำให้ผิวแห้งเกินไป เมื่อผิวแห้ง หรือหัวนมสั้น หัวนมบอด ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลก่อนที่จะคลอด ไม่งั้นอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลือดออกแบบไหนปกติ? เลือดออกแบบไหนให้ไปหาหมอดีกว่า

ตั้งครรภ์มีเลือดออกอันตรายไหม อาการเลือดออกแบบไหนที่บอกว่าแท้งลูก

การนับอายุครรภ์ ลูกกี่สัปดาห์แล้วนะ? คุณแม่ทั้งหลายมารู้วิธีการนับอายุครรภ์กัน

ที่มา : 1 , 2 

 

ร่วมแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับรอบเดือน และการท้องแต่มีประจำเดือน ได้ที่นี่!

ท้องแต่มีประจำเดือน ได้ไหมคะ มีใครเคยเป็นบ้าง แล้วอันตรายไหมคะ

รอบเดือน มาไม่ปกติ แถมมีสีคล้ำกว่าปกติ จะเป็นอันตรายไหมคะ

 

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจําเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?
แชร์ :
  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

    คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

    คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ