X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก วัย 6 เดือน - 3 ปี ฝึกลูกให้เป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว

บทความ 5 นาที
เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก วัย 6 เดือน - 3 ปี ฝึกลูกให้เป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้กับลูก ตั้งแต่วัยทารก ซึ่งวินัยขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก หากพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกดื้อ ก้าวร้าว พูดไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ต้องทำแบบนี้!

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก ตามช่วงอายุ

 

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก พ่อแม่สามารถเริ่มสอนลูก ฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกได้ตั้งแต่เล็กๆ เพราะพื้นฐานการฝึกที่ดีย่อมส่งผลดีไปยังอนาคต หากพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นเด็กที่รู้จักเหตุผล สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่มีนิสัยที่ดื้อรั้น ไม่ฟังใคร ไม่ก้าวร้าวหรือชอบเถียง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่สามารถสอนลูกได้ โดยมีวิธี ดังต่อไปนี้ค่ะ

 

1. วิธีสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก อายุ 6 – 12 เดือน

สำหรับทารกในวัยนี้ นอกจากกินกับนอนแล้ว พ่อแม่ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกน้อยได้เล่นตามวัยให้มากที่สุด และถ้าลูกน้อยของคุณในวัยประมาณ 10 เดือน อยู่ๆ ไม่ยอมกินนมขวด ปาขวดทิ้ง หรือไม่เอาขวดเลย นั่นแสดงว่าอาจจะถึงเวลาแล้วที่คุณจะให้ลูกได้เริ่มดื่มนมจากแก้วค่ะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพัฒนาการของทารกค่ะ

สำหรับการสร้างวินัยเชิงบวกให้กับทารกวัย 6 – 12 เดือน พ่อแม่อาจมองว่าลูกยังเด็กเกินไปหรือเปล่า วัยนี้จะรู้เรื่องอะไร แต่จริงๆ แล้วเด็กเริ่มเรียนรู้แล้วว่าพ่อแม่ไม่ได้ตามใจเขาเสมอไป ทำให้ลูกงอแงบ่อยๆ และเขาจะก็ได้เรียนรู้วิธีที่จะปลอบโยนหรือปลอบใจตัวเองตัวเองเมื่อถูกพ่อแม่ขัดใจหรือทำอะไรไม่ได้ดั่งใจด้วยค่ะ

ดังนั้น การเสริมสร้างวินัยเชิงบวกให้กับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ ได้แก่

  • ใช้เวลาด้วยกันเงียบๆ
  • ให้ลูกเล่นของเล่นที่มีความปลอดภัยสำหรับเด็กวัยนี้
  • เบี่ยงเบนความสนใจลูก
  • ทำให้ลูกไขว้เขว

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้กับลูก

2. วิธีสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก อายุ 12 – 24 เดือน

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก วัย 6 เดือน - 3 ปี ฝึกลูกให้เป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว

เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่เริ่มรู้เรื่อง เริ่มอยากรู้อยากเห็น ฉะนั้น คุณพ่อคุณเองจะต้องคอยดูแลและสอนลูกอย่างใกล้ชิด และใจเย็น

มาถึงวัยหัดเดิน ขยับขึ้นมาอีกขั้นจากวัยทารก เด็กช่วงวัยนี้จะเริ่มที่จะพยายามควบคุมตัวเอง พาตัวเองที่จะออกไปสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยขาของตัวเอง พ่อแม่จะเห็นว่าลูกจะเริ่มไม่ค่อยอยู่นิ่งเหมือนเมื่อก่อน ทั้งยังมีพัฒนาการทางความรู้สึกนึกคิดของตัวเองมากขึ้นด้วย ทำให้เด็กมักจะแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด โมโหร้าย และเรียกร้องความสนใจได้ง่าย บางคนอาจซน อยู่นิ่งไม่ได้จนทำให้พ่อแม่อารมณ์เสียได้บ่อยครั้ง แต่ทั้งหมดนี้เป็นพฤติกรรมเพียงของเด็กเท่านั้นเองค่ะ

ด้วยความที่เด็กเป็นช่วงที่ขี้สงสัย อยากสำรวจ อยากทำอะไรเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่บางครั้งก็พาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ปีนป่ายต้นไม้ ปีนเฟอร์นิเจอร์ สิ่งที่คุณแม่คุณพ่อทำได้คือ การจับตาดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และอย่าปล่อยให้ลูกอยู่เพียงลำพังอย่างเด็ดขาด

การเสริมแรงทางบวกด้วยวิธีการลงโทษแบบไทม์เอ๊าท์ (time out) อาจจะยังไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ เพราะอาจจะทำให้เด็กรู้สึกถึงความวิตกกังวลเวลาถูกแยก และกลัวการทอดทิ้งมากขึ้นค่ะ แต่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีเหล่านี้แทน ได้แก่

  • ทำบ้านให้มีความปลอดภัยกับเด็ก
  • ให้ข้อเสนอที่เป็นตัวเลือกให้กับลูกเมื่อมีการลงโทษ
  • เบี่ยงเบนความสนใจลูก
  • ทำให้ลูกไขว้เขว
เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้กับลูก

ให้ข้อเสนอเป็นตัวเลือกเมื่อต้องการทำโทษลูก

3. วิธีสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก อายุ 24 – 36 เดือน

เด็กวัยนี้จะเดินได้คล่องแล้ว และกำลังเรียนรู้การควบคุมร่างกายตัวเองอย่างอิสระโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ ทั้งยังเริ่มที่จะสร้างบุคลิกของตัวเองขึ้นมา ทำให้คุณปวดหัวหนักกว่าเดิมไปอีก เพราะว่าลูกน้อยจะเริ่มค้นพบตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ต้องการอะไร มีความต้องการอะไร และเริ่มที่จะเรียกร้องความต้องการที่มากขึ้น บ่อยครั้งที่เด็กจะระเบิดอารมณ์ ร้องกรีดออกมาเมื่ออยากได้ในสิ่งที่ต้องการ

สิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้คือ ต้องอดทน พยายามเอาใจใส่ลูก ให้ความรัก คอยระมัดระวังควบคุมดูแลอย่างรอบคอบ คอยกำหนดขอบเขตไม่ให้ลูกกรีดร้องไปมากกว่านี้ อาจมีการตอบสนองสิ่งที่ลูกคาดหวังบ้าง แต่อย่างไรก็ตามควรอธิบายเหตุผลของการกระทำที่พ่อแม่ต้องทำเพื่อลงโทษลูกค่ะ หรืออธิบายถึงอารมณ์ของลูกให้ลูกได้ฝึกควบคุมตนเอง เช่น “หนูคงกำลังโกรธ แม่เข้าใจเลยที่หนูรู้สึกโกรธ เรามาเป่าไล่ตัวโกรธกันก่อน หายใจลึกๆ ฮึบ แล้วเป่าออกดังฟู่” วิธีการนี้จะสอนให้เด็กรู้จักอารมณ์และวิธีจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น พ่อแม่ไม่ควรจัดการอารมณ์ของลูกด้วยการออกคำสั่ง และไม่ควรใช้วิธีเดิมๆ ซึ่งเป็นวิธีเชิงลบว่า “แม่บอกแล้วใช่ไหมว่าอย่าทำแบบนี้ อย่ามาโมโหนะ” เพราะจะยิ่งทำให้อารมณ์เด็กพลุ่งพล่าน เพราะสมองส่วนอารมณ์ถูกกระตุ้นค่ะ

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก วัย 6 เดือน - 3 ปี ฝึกลูกให้เป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว

พ่อแม่ให้ลูกได้มีกิจกรรมงานบ้านร่วมกัน เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างวินัยได้เช่นกัน

สำหรับวิธีการเสริมแรงวินัยเชิงบวกให้กับลูกน้อยที่ดีที่สุด ได้แก่

  • ทำบ้านให้มีความปลอดภัยกับเด็ก
  • ให้ข้อเสนอที่เป็นตัวเลือกให้กับลูกเมื่อมีการลงโทษ
  • เบี่ยงเบนความสนใจลูก
  • ทำให้ลูกไขว้เขว
  • กำหนดขอบเขตให้กับลูก
  • อธิบายเหตุและผลของการกระทำนั้นๆ
  • ใช้วิธีการลงโทษแบบไทม์เอ๊าท์ (time out) สั้นๆ

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้รางวัลลูกบ้างเมื่อลูกสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดี อาจมีการโอบกอดพูดคุยลูก หรือ อธิบายเหตุผลต่างๆ ให้ลูกฟังค่ะ และคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจวิธีนี้ต้องใช้เวลา อาจจะไม่ได้ผลในทันทีเหมือนกับการดุด่าหรือตีลูกนะคะ

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง : parents.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีเลี้ยงลูกแบบคนฟินแลนด์ พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไรให้เก่ง ฉลาด แบบไม่บังคับ

สอนลูก 3 ขวบ เรื่องสำคัญที่ต้องฝึกลูก 3 ขวบ ลูกวัยอนุบาล ควรเรียนรู้เรื่องอะไร

15 พฤติกรรมเสี่ยงออทิสติกเทียม เจ้าตัวเล็กบ้านไหน ดูทีวี เล่นเกม ต้องอ่าน

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก วัย 6 เดือน - 3 ปี ฝึกลูกให้เป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว
แชร์ :
  • 10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

    10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

  • 10 เทคนิค ฝึกวินัยให้ลูก ทำอย่างไรให้ลูกมีวินัยตั้งแต่เด็ก

    10 เทคนิค ฝึกวินัยให้ลูก ทำอย่างไรให้ลูกมีวินัยตั้งแต่เด็ก

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

    10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

  • 10 เทคนิค ฝึกวินัยให้ลูก ทำอย่างไรให้ลูกมีวินัยตั้งแต่เด็ก

    10 เทคนิค ฝึกวินัยให้ลูก ทำอย่างไรให้ลูกมีวินัยตั้งแต่เด็ก

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ