X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

บทความ 5 นาที
10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

คุณกำลังประสบปัญหากับการ “ทำโทษลูก” หรือเปล่า? การอบรมสั่งสอนลูกเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับพ่อแม่หลายคน ไม่ว่าพ่อแม่คนไหนก็มักประสบปัญหาในช่วงแรกทั้งนั้น หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยคุณได้

“ทำโทษลูก” คำที่อาจสร้างความลำบากใจ บางคนอาจดุลูก บางคนอาจตีลูก หรือถึงขั้นลงไม้ลงมืออย่างรุนแรงแน่นอนว่านั่นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง การทำโทษลูกต้องเริ่มจากตัวของเราที่จะทำความเข้าใจในความผิดของเด็ก เหตุผลที่เด็กทำ ไปจนถึงการทำโทษที่สมเหตุสมผล สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการที่จะทำโทษเด็กในแต่ละครั้ง

 

วิธีทำโทษลูกเริ่มได้ง่ายแบบมีขั้นตอน

การทำโทษลูกฟังดูง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วควรมีขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อให้การทำโทษนั้นออกมาได้ประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย โดยเราจะมาแนะนำ 10 ข้อต้องรู้ก่อนทำโทษลูก ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทำตามกันทีละข้อ

 

  1. ใจเย็น ๆ เริ่มที่ตัวเรา

เมื่อเด็กทำผิดร้ายแรงไม่แปลกที่คุณพ่อคุณแม่จะเกิดอารมณ์โกรธต่อเด็ก แต่การจะแสดงออกสิ่งใดออกไปจะส่งผลรุนแรงต่อเด็กได้ เขาจะยิ่งจดจำการกระทำของเราจนอาจกลายเป็นปมในใจของเขา หรือเมื่อเขาโตขึ้นอาจนำไปทำต่อกับผู้อื่น ดังนั้นเมื่อเด็กทำผิดสิ่งแรกคือ “ต้องใจเย็น ๆ ” อย่าเพิ่งดุด่า หรือลงมือใด ๆ และค่อย ๆ ทำตามวิธีต่อ ๆ ไปที่เรากำลังจะกล่าวถึงนี้

 

  1. หาความเป็นจริง

จริงอยู่ที่ภาพตรงหน้าคือการกระทำของลูกเมื่อเรามองเห็นด้วยตาเปล่า แน่นอนว่าปกติแล้วก็ต้องถูกลงโทษไปตามระเบียบ แต่หากว่าเขาไม่ได้เป็นคนทำผิด หรือเขามีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ การลงโทษเด็กไปในทันทีจึงอาจฟังดูเป็นเรื่องที่แย่พอสมควร ถ้าหากเราไม่ใจเย็น ๆ แล้วค่อย ๆ ถามถึงสาเหตุที่เขาทำ หรือจริง ๆ แล้วลูกทำ หรือเพื่อนทำจะกลายเป็นว่าตัวของเราเองนั่นแหละที่ตัดสินใจผิดพลาด เด็กอาจรู้สึกไม่ดีกับเราและมองว่าเราไม่ยอมฟังเขาเลย

 

  1. ยุติธรรมอย่างพอดี

การก้าวผ่านเส้นบาง ๆ ที่เรียกว่าความยุติธรรม อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่บางรายวิธีทำโทษลูก มีความสำคัญอย่างมากหากลูกทำผิดจริง เพราะหากปล่อยละเลยเขาแล้วคิดต่อไปเองว่าเขาเป็นแค่เด็กจะยิ่งทำให้เด็กเกิดการจดจำว่าสิ่งที่เขาทำมันไม่ผิด หรืออาจคิดต่อไปว่าถึงผิดก็ไม่ถูกลงโทษ ก็คงไม่จำเป็นต้องกลัวการทำความผิด หากเด็กซึมซับความคิดแบบนี้ยิ่งเขามีอายุที่มากขึ้นจะยิ่งแก้ไขได้ยากกว่าตอนเด็กมาก ยิ่งหากปล่อยให้เคยตัวจนถึงวัยรุ่นจะยิ่งต่อต้านได้มากขึ้นนั่นเอง

Advertisement

 

ทำโทษลูก 2

 

  1. ใช้เหตุผลในการลงโทษให้เหมาะสม

เมื่อทำตาม 4 วิธีทำโทษลูกที่เรากล่าวไปแล้ว และได้ผลสรุปออกมาว่าลูกมีความผิดจริง ๆ ขั้นตอนต่อมาคือการลงโทษให้เป็นเหตุเป็นผลจากความผิดที่ลูกมี อย่าใช้ความหนักเบามีกำหนด การทำโทษ เช่น ลูกทำความผิดไม่มากแต่กลับลงโทษรุนแรงและไม่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดของเขาเลย ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น

 

  • เด็กไม่ยอมเก็บของเล่นปล่อยให้อยู่บนพื้นตั้งแต่เช้า ไม่ควรลงโทษลูกด้วยการไม่ให้เล่นของเล่น 1 วันแต่ควรลงโทษให้เก็บของเล่นเข้าที่
  • เด็กล้างจานของตัวเองไม่สะอาด เพราะห่วงดูรายการทีวีที่เขาชอบ ไม่ควรลงโทษด้วยการให้ล้างจานทั้งหมดในบ้าน หรืองดรายการทีวี แต่ให้เขาล้างจานของตัวเองใหม่ให้สะอาด
  • ลูกกินขนมแล้วไม่ยอมทิ้งถุงขนม วางทิ้งไว้บนโต๊ะ เพราะจะไปเล่นกับเพื่อน ไม่ควรลงโทษด้วยการห้ามเขาไปเล่นกับเพื่อน 1 อาทิตย์ แต่ให้เขาเก็บขยะของตัวเองให้หมดก่อนจะออกไปเล่น

 

นอกจากจะทำโทษจากต้นเหตุที่ลูกทำผิดแล้ว ยังสามารถทำโทษเขาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสังคม ได้แก่

 

  • Time out : การให้นั่งนิ่ง ๆ อยู่ที่มุมห้องตามระยะเวลาที่เหมาะสม วิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็กอายุ 4-5 ปี
  • ต่อรองด้วยกิจกรรม : ให้นำกิจกรรมที่ลูกชอบมาต่อรองว่าหากเขาไม่ยอมปรับปรุงตัวอาจมีการยกเลิกการไปเที่ยว หรือยกเลิกของเล่นที่กำลังจะซื้อให้ วิธีนี้เหมาะกับเด็กโต 6 ปี ขึ้นไป

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมวิธีลงโทษลูกได้ผลดีแบบไม่ต้องลงมือตี!!!

 

วิดีโอจาก : PRAEW

 

  1. คำนึงในมุมมองของเด็กด้วย

การทำโทษเด็กให้ได้ผลต้องมองในความคิดของเด็กด้วยว่า หากเราเป็นเด็กมีแรงจูงใจในการทำผิดแบบนี้เหมือนกันหรือไม่ แล้วแรงจูงใจนั้นอยู่ในมุมที่เข้าใจได้หรือไม่ หากมองในมุมมองของเด็กจะยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจในการกระทำของเขาได้ และค่อยทำโทษเขาด้วยวิธีการจากข้อที่ 4 ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำโทษทั้งในมุมมองของเด็กและมุมมองของคุณพ่อคุณแม่

 

  1. ห้ามโต้เถียงกับเด็กมากเกินไป

การเถียงกับลูกไปมาจะยิ่งทำให้เขาไม่ยอมแพ้ด้วยความเป็นเด็ก หรืออาจทำให้เกิดผลในเชิงลบมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้เช่นกัน ในบางครั้งเขาอาจอยู่ในอารมณ์ที่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ให้เขาพูดจบฟังว่าลูกจะพูดอะไรก่อน หากไม่มีเหตุผลที่เพียงพอกับเรื่องที่เขาทำ ก็ต้องยืนยันที่จะทำโทษ พร้อมกับอธิบายให้เขาทราบเสมอว่าทำไมต้องถูกทำโทษ และควรทำอย่างไรถึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

  1. อย่าสร้างความอับอาย

ไม่ว่าจะวัยไหนก็ไม่ควรถูกประจานการกระทำผิดในที่สาธารณะ เพราะทุกคนก็เคยทำผิดมาก่อน และไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำผิดตลอดไป เด็กเองก็เช่นกัน วิธีทำโทษลูกที่ถูกต้องจะต้องระมัดระวังการแสดงออกในที่สาธารณะ เช่น การดุเสียง การตี หรือการกระทำอื่น ๆ ที่สร้างความอับอายให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปเขาเข้าใจในการกระทำต่าง ๆ ได้มากขึ้นก็จะยิ่งสนใจสิ่งรอบตัว และยิ่งมีผลมากขึ้นกับวัยรุ่น เขาจะยิ่งจดจำไม่พอใจ และเก็บปัญหาไว้คนเดียวซึ่งจะเป็นผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกได้

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ทำโทษลูก 3

 

  1. อธิบายถึงรายละเอียด

เมื่อลงโทษลูกแล้วก็ต้องบอกเขาด้วยว่าเมื่อเขาทำผิดควรแก้ปัญหาอย่างไร แล้วทำไมถึงผิด อย่าเอาแต่ทำโทษแต่ไม่บอกอะไรกับเด็ก หากทำแบบนั้นจะเป็นการลงโทษที่สูญเปล่า เพราะเด็กเล็กก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีหากไม่ได้รับฟังคำอธิบายจากคุณพ่อคุณแม่

 

  1. พูดชมเขาหากเขาไม่ผิด

เมื่อทำตามวิธี ทำโทษลูก ที่เรากล่าวไปแล้ว 7 ข้อ อย่าลืมที่จะกล่าวชื่นชมในช่วงเวลาที่เขาไม่ผิด หากเขาทำสิ่งดีมีความเข้าใจ และไม่สร้างปัญหาใด ๆ ลูกควรได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันความคิดที่ว่า “ทำผิดโดนลงโทษ แต่พอทำดีกลับไม่มีแม้แต่คำชม” นอกจากนี้การที่เขาได้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ จะยิ่งทำให้เขาเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

  1. ความรักเป็นสิ่งสำคัญ

เด็กอาจทำผิดไปบ้างในบางเวลา ไม่เคยมีใครที่ไม่ทำความผิดเลยในทุกช่วงเวลาของชีวิต แต่สำหรับเด็กที่ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เขาอาจคิดไปเองว่าเมื่อเขาแล้วถูกทำโทษคงเป็นเพราะเราไม่รักเขาอีกแล้วเลยทำแบบนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยพูดคุยกับเด็กแสดงความรักให้เขาเห็นเพื่อไม่ให้เขาคิดไปเองว่าคนอื่น ๆ ไม่รักเขาแล้ว

 

สิ่งที่จะขาดไม่ได้จากการทำโทษลูกคือความเข้าใจที่ต้องมีมากพอ และอย่ามองข้ามเมื่อเด็กต้องการอธิบาย เพราะการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ กับเด็กอาจส่งผลต่อตัวตนของเขาไปตลอดชีวิต

 

บทความที่น่าสนใจ

ตีลูกดีไหม จะผิดไหมถ้ายังทำโทษลูกด้วยการตี!!!

ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ “โกรธ” ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน

“ขโมยของ หยิบเล็กหยิบน้อย” เมื่อเด็กกลายเป็นจอมโจร Robin Hood ควรแก้อย่างไร

 

ที่มาข้อมูล : amarinbabyandkids

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว