X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ "โกรธ" ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน

บทความ 5 นาที
ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ "โกรธ" ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน

ลูกโยน-ขว้างสิ่งของไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่เป็นความเสี่ยงที่คุณพ่อคุณแม่สามารถพบเจอได้เป็นปกติ เกิดจากพัฒนาการด้านการจับสิ่งของที่ไม่รู้ว่าควรโยน หรือไม่ควรโยนในสถานการณ์ไหนบ้าง สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ลูกฝึกไปทีละขั้นตอนควบคู่ไปกับความเข้าใจในตัวเด็กของคุณพ่อคุณแม่ด้วย

 

ลูกชอบโยนของ ปาของ เวลาโกรธ เกิดจากอะไร

เด็กเล็กที่กำลังเรียนรู้ และมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ในบางครั้งด้วยความเป็นเด็กอาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งที่เขากำลังเรียนรู้อยู่นั้นต้องใช้ในเวลาใดบ้าง และเวลาไหนที่ไม่ควรใช้ นั่นหมายถึง “การโยนของ” ด้วยเช่นกัน เขาอาจเรียนรู้วิธีการโยนเพื่อใช้ทักษะนี้ทำสิ่งต่าง ๆ แต่เขาอาจไม่เข้าใจว่าไม่ควรโยนใส่ผู้อื่นในเวลาโกรธ หรือของชิ้นไหนโยนได้โยนไม่ได้ ถือเป็นปัญหาพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสพบเจออยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นสิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ลูกเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อหลีกเลี่ยงนิสัย ลูกโยนทุกอย่างที่ขวางหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 คำปลอบลูก ทำอย่างไรให้ลูกหายโกรธ ง่าย ๆ ด้วยคำพูด

 

4 ขั้นตอนแก้นิสัยลูกโยน สิ่งของ

การแก้นิสัยของเด็กที่ชอบโยนของทำได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้ความเข้าใจในตัวของเด็ก และผู้ปกครองต้องมีความใจเย็นสามารถแก้ไขได้เป็นขั้นตอนอย่างตั้งใจ และคอยระวังไม่ให้พฤติกรรมของลูกรุนแรงขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 1 : คือความเข้าใจ

ก่อนเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากความ “เข้าใจ” ในตัวของเด็ก ว่าเขาคือผ้าขาวที่ต้องได้รับการแต่งเติมที่ถูกต้อง ทักษะการโยนเป็นเรื่องปกติ แต่เด็กเอามาใช้ไม่ถูกต้องในบางจังหวะเท่านั้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามไม่โกรธ ไม่ดุ หรือใช้อารมณ์เมื่อเห็นว่า ลูกโยน ของ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเกิดความหวาดกลัว ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ในด้านนี้ได้

 

ลูกโยน 2

 

Advertisement

ขั้นตอนที่ 2 : ฝึกฝนในทางที่ถูก

เมื่อปัญหาการเรียนรู้เป็นอุปสรรคของเด็กในการโยนของ คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มได้ด้วยการฝึกให้เข้าใจถึงสิ่งที่ควรทำ ให้ลูกได้รู้ว่าสามารถใช้มือหยิบ,จับ หรือโยนกับสิ่งใดได้บ้าง เพื่อสร้างความเคยชินให้เด็กได้ซึมซับเอาไว้ โดยสามารถทำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

 

  • เกมเก็บของ : คุณพ่อคุณแม่สามารถเปลี่ยนพื้นที่ห้องที่โล่งกว้างให้เป็นพื้นที่ฝึกทักษะของลูกได้ด้วยการนำสิ่งของต่าง ๆ เช่น ของเล่น หรือของใช้เล็ก ๆ ให้ลูกโยนลงพื้นเบา ๆ ให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด จากนั้นทำการจับเวลาถอยหลังให้ลูกเก็บของต่าง ๆ ขึ้นบนโต๊ะให้ได้ก่อนเวลาหมด หากลูกทำได้อาจมีรางวัลเล็ก ๆ ให้กับเขา หรือสามารถเพิ่มกติกาเพื่อให้ลูกมีทักษะในการแยกสิ่งของด้วยการให้ลูกนำของที่โยนลงพื้นเก็บใส่กล่องที่จำแนกชนิดไว้ เป็นต้น

 

  • ทำเองเก็บเอง : หลังจากได้รู้วิธีการฝึกขั้นพื้นฐานให้กับเด็กเล็กแล้ว ต่อไปคือการจัดการกับปัญหา ลูกโยน ของใช้ของเล่น ด้วยการให้เขารับผิดชอบสิ่งที่ตนเองทำ เช่น ลูกโยนเสื้อผ้าลงพื้นหลังจากใส่แล้ว ก็ให้ลูกเก็บใส่ตะกร้าด้วยตนเอง หรือเมื่อลูกโยนของเล่นลงพื้นทิ้งไว้แบบนั้น ก็ต้องตามให้ลูกมาเก็บให้เข้าที่ เป็นต้น

 

  • สื่อกลางเรียนรู้ : เด็กอาจไม่ฟังไม่แปลก ความดื้อในเด็กสามารถพบเจอได้ในตัวของเด็กทุกคน คุณพ่อคุณแม่สามารถลองให้เด็กเรียนรู้จากสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโยนของ หรือจัดของช่วยได้ วิธีนี้อาจทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น หรือสามารถสอนลูกผ่านการเล่านิทานให้ลูกฟังตามแต่โอกาสก็ได้เช่นกัน

 

ผู้ปกครองต้องระวังเรื่องของเล่นของเด็กไม่ควรมีส่วนคมใด ๆ ที่สามารถนำไปทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บด้วย นอกจากนี้การฝึกลูกให้มีพฤติกรรมหยิบจับสิ่งของที่ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเรียนรู้ได้จากวิดีโอที่เราเลือกมาให้ตามด้านล่างนี้

 

 

ขั้นตอนที่ 3 : ทำดีต้องมีรางวัล

เมื่อคนทำดีก็ควรได้รับรางวัลตอบแทนบ้าง สำหรับเด็กเล็กก็ไม่แตกต่างกัน การแสดงออกของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมของเด็ก ส่งผลโดยตรงต่อตัวของเด็กเอง เขาจะจดจำได้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องหรือไม่ก็มาจากจุดนี้ด้วยนั่นเอง เมื่อลูกไม่โยนของ หรือเก็บของตามพื้นด้วยตนเอง หากผู้ปกครองเห็น ควรกล่าว “ชื่นชม” เป็นอย่างน้อย และอาจให้รางวัลตามสมควร แต่ต้องระวังหากเด็กได้รางวัลตลอดจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทำความดี ทำสิ่งที่ถูกเพื่อหวังรางวัล ผู้ปกครองควรดูตามความเหมาะสม และท่องไว้เสมอว่าเป็นการตอบสนองต่อเด็กเล็กที่มีทักษะในทางที่ถูกต้องเท่านั้น

 

ขั้นตอนที่ 4 : ผิดคือผิด

ลูกโยน ข้าวของต่าง ๆ มาจากพัฒนาการที่ควรเรียนรู้ในทางที่ถูกต้องก็จริง แต่ถ้าหากลูกเคยผ่านขั้นตอนทั้ง 3 ข้อที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ลูกก็ยังมีพฤติกรรมโยนของเมื่อโกรธ หรือตั้งใจทำ คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงออกอย่างชัดเจน ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และไม่เห็นด้วยกับการกระทำของลูกน้อย เช่น การบอกลูกให้หยุดขว้างปาด้วยท่าทีที่จริงจัง หรือจับมือลูกเบา ๆ ให้หยุดปาแล้วบอกว่าให้หยุดทำเพราะไม่ดี เป็นต้น หากลูกไม่หยุดให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเขาหยุดไปเอง แต่ต้องระวังไม่ใช้อารมณ์กับเด็ก หรือการที่เด็กหยุดทำแล้วไปต่อว่าเด็กต่อจะยิ่งทำให้เด็กโกรธ และต่อต้านมากยิ่งขึ้น

 

ลูกโยน 3

 

เด็กโกรธขว้างปาสิ่งของไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ

หลังจากทำตามขั้นตอนแล้วพบว่าเด็กโกรธทุกครั้ง และทำการปาข้าวของตลอด นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าเด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความโกรธของตนเองได้ ถือว่าเป็นปัญหาที่ควรใส่ใจอย่างมากสำหรับเด็กเล็ก นอกจาก ลูกโยน สิ่งของต่าง ๆ แล้วการแสดงออกที่น่าเป็นห่วงยังมีดึงหยิกเส้นผม, กระชากของหรือผู้อื่น, ร้องไห้อาละวาดดิ้นไปดิ้นมา, ไม่หยุดร้องไห้แม้ผ่านไปเป็นชั่วโมง ไปจนถึงการตัดสินใจทุบตีทำร้ายผู้อื่น

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เซ็นทรัลพัฒนา จุดประกายการศึกษาไทย เปิดตัว "First Class Preschool" โมเดลใหม่สำหรับเด็ก 1-6 ปี
เซ็นทรัลพัฒนา จุดประกายการศึกษาไทย เปิดตัว "First Class Preschool" โมเดลใหม่สำหรับเด็ก 1-6 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกมีนิสัยก้าวร้าวชอบตีผู้ใหญ่ เด็กตีผู้ใหญ่บ่อย ๆ ควรทำอย่างไร?

 

ลูกโยน 4

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมโกรธรุนแรง

อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ที่ควรจัดการได้ด้วยตนเอง แต่สำหรับเด็กแล้วอาจมีอะไรที่มากกว่านั้น เพราะจะเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นรอบตัวเด็กด้วย จึงต้องให้ความสำคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ควบคุมตนเองก่อน : เมื่อลูกโวยวายหรือ ลูกโยน สิ่งของ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียด หรือโมโหได้ หากใช้อารมณ์จัดการปัญหาแน่นอนว่าจะยิ่งเกิดผลเสียมากกว่าผลดี สิ่งที่ควรทำก่อนเข้าหาลูกทุกครั้งคือต้องระงับอารมณ์ตนเองให้เกิดความใจเย็นเสียก่อนนั่นเอง

 

  • พฤติกรรมของคนในครอบครัว : ท่องไว้ก่อนเสมอว่า “สิ่งแรกที่เด็กเห็น คือสิ่งแรกที่เด็กจะจำ” ดังนั้นหากว่ากันตามนี้แล้ว เมื่อคนรอบตัวเด็กแสดงกิริยาท่าทางให้เด็กเห็นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติ เด็กก็จะมองว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ปกติเช่นกัน หากไม่ต้องการให้เด็กจดจำพฤติกรรมการปาสิ่งของด้วยอารมณ์โกรธ ก็ไม่ควรทำให้เด็กเห็นด้วยนั่นเอง

 

  • ให้เวลากับเด็ก : ลูกที่มีอารมณ์โกรธอาจเลือกใช้วิธีการให้เขาได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น ปล่อยให้เขาโกรธอยู่คนเดียว งดความสนใจเพื่อให้เขาสงบลงได้ด้วยตนเอง จากนั้นค่อยเข้าไปพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจต่อกัน พยายามหาสาเหตุว่าทำไมเด็กจึงโกรธ และอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กได้รู้จักการขอโทษ และการให้อภัย

 

หากการกระทำต่าง ๆ ของผู้ปกครองไม่สามารถส่งผลในเชิงบวกของเด็กได้อาจต้องพาลูกเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ เพื่อไม่ให้เด็กใช้อารมณ์ความโกรธจนติดเป็นนิสัยไปจนถึงช่วงวัยรุ่น

 

บทความที่น่าสนใจ

“ขโมยของ หยิบเล็กหยิบน้อย” เมื่อเด็กกลายเป็นจอมโจร Robin Hood ควรแก้อย่างไร

ถึงสนามบินแล้ว แต่ลูกกลัวเครื่องบินไม่ยอมขึ้น ทำอย่างไรดี ?

ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน

 

ที่มาข้อมูล : amarinbabyandkids rakluke sanook

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ "โกรธ" ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน
แชร์ :
  • 7 วิธีทำให้ลูกโชคดีที่มีเราเป็นพ่อแม่

    7 วิธีทำให้ลูกโชคดีที่มีเราเป็นพ่อแม่

  • วิธีสอนลูกให้รักสิ่งแวดล้อม สร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมปลูกฝังจิตสำนึกรอบด้าน

    วิธีสอนลูกให้รักสิ่งแวดล้อม สร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมปลูกฝังจิตสำนึกรอบด้าน

  • เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?”  วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

    เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?” วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

  • 7 วิธีทำให้ลูกโชคดีที่มีเราเป็นพ่อแม่

    7 วิธีทำให้ลูกโชคดีที่มีเราเป็นพ่อแม่

  • วิธีสอนลูกให้รักสิ่งแวดล้อม สร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมปลูกฝังจิตสำนึกรอบด้าน

    วิธีสอนลูกให้รักสิ่งแวดล้อม สร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมปลูกฝังจิตสำนึกรอบด้าน

  • เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?”  วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

    เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?” วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว