เรื่องของความสูง ความเตี้ยของเด็กแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม อาหารการกิน พฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และอื่น ๆ เด็กบางคนดูเหมือนจะเตี้ย แต่ความจริงแล้วเขาสามารถเพิ่มความสูงได้ โดยเฉพาะในวัยที่กำลังเจริญเติบโต หากพ่อแม่รู้วิธีส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างถูกวิธี ลูกต้องตัวสูงเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่ง theAsianparent จะมาบอกวิธีให้กับคุณพ่อคุณแม่กันว่า อยากให้ลูกตัวสูง ต้องทำอย่างไร
ปัจจัยที่ทำให้เด็กตัวสูงไม่เท่ากัน
- พันธุกรรม เป็นเหมือนตัวกำหนดความสูงมาตรฐานของลูก ๆ เช่น พ่อแม่สูง 160 ซม. ลูกก็จะสูงไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก อาจเท่ากันหรือมากกว่า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสูงของปู่ย่าตายายด้วย
- อาหารการกิน ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกสูง อาหารเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะแคลเซียมและโปรตีน โดยเด็ก ๆ ควรต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอในการใช้เสริมสร้างการเจริญเติบโตในแต่ละวัยด้วย ลูกน้อยจึงจะมีความสูงและการเจริญเติบโตที่ดี
- การออกกำลังกาย เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการพัฒนา และเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังช่วยให้กระดูกแข็งแรงอีกด้วย
- โรคภัยไข้เจ็บ หากเด็ก ๆ ป่วย หรือมีโรคประจำตัวบางโรคที่เป็นตัวขัดขวางการเจริญเติบโต เด็กคนนั้นก็จะมีความสูงน้อยกว่าเพื่อนคนอื่น เช่น โรคต่อมไร้ท่อ โรคกระดูก เป็นต้น
ลูกเราโตช้าหรือเร็ว รู้ได้อย่างไร
ปกติแล้วเด็กผู้หญิงจะโตเร็วกว่าเด็กผู้ชาย และจะโตเร็วเป็นพิเศษในช่วงอายุ 10-11 ปี พออายุ 16 ปีก็จะหยุดการเจริญเติบโต ในทางตรงกันข้าม เด็กผู้ชายจะเริ่มสูงเมื่ออายุ 12-15 ปี และจะหยุดโตเมื่ออายุ 18 ปี แต่เด็กบางคนโตช้ากว่าเพื่อน ทำให้จะหยุดสูงเมื่ออายุ 20 ปี สำหรับอัตราความสูงที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละวัยมีดังนี้
- แรกเกิด – 1 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 ซม./ปี
- เด็กวัย 1 – 2 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 ซม./ปี
- เด็กอายุ 2 – 4 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-8 ซม./ปี
- เด็กอายุ 4 – 10 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 ซม./ปี
และเมื่อเด็ก ๆ หยุดสูง ความสูงเฉลี่ยของหญิงไทยจะอยู่ที่ 150-170 ซม. จะมีความสูงอยู่ที่ 160-180 ซม.
อยากให้ลูกตัวสูงต้องทำอย่างไร ผู้หญิง หยุด สูงอายุ เท่า ไหร่
วิธีที่ทำให้ลูกตัวสูง ควรทำอย่างไร
เมื่อพ่อแม่รู้แล้วว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกหยุดการเจริญเติบโต ทำให้ลูกตัวเตี้ย สูงไม่ทันเพื่อน ดังนั้น พ่อแม่ต้องพยายาม บางคน อายุ 18 อยาก สูง ก็มีเหมือนกัน มาดูกันเลยดีกว่า ว่ามีวิธีอะไรบ้างที่พอจะช่วยได้บ้าง
1. กินนมและอาหาร
เด็กจะตัวสูงได้ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง ซึ่งพ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ตั้งแต่วัยทารก โดยให้ลูกน้อยได้ดื่มนมและกินอาหารเสริมตามวัย พอโตขึ้นมาหน่อยในวัยเรียน พ่อแม่ก็ต้องให้ลูกได้ดื่มนมเป็นประจำ วันละ 1-2 แก้ว เน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียม ซึ่งเด็ก ๆ ในวัย 1-3 ปี จะต้องการแคลเซียม 700 มก. สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มก. ส่วนเด็กอายุ 9-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,300 มก.
ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์
รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่
2. นอนหลับพักผ่อน
เด็กเล็กในวัยที่เจริญเติบโต จะต้องการการพักผ่อน 10-13 ชั่วโมงในแต่ละคืน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมเซมและผลิตฮอร์โมนด้านการเจริญเติบโต ส่วนเด็กวัยเรียนและคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรที่จะนอนให้ได้วันละ 10-12 ชั่วโมง เด็กวัยรุ่นต้องการเวลานอน 8 ชั่วโมงครึ่ง จนถึง 9 ชั่วโมงครึ่ง
3. ขยับร่างกาย
เด็ก ๆ วัยซนส่วนใหญ่ก็ชอบวิ่งเล่น ออกกำลังกายกันอยู่แล้ว แต่การออกกำลังกายที่ดีนั่นควรใช้เวลาอย่างน้อย 60 นาที ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป้นการออกกำลังกายเสมอไปก็ได้ แค่ขยับร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกาย จากการเดินไปซื้อของ ให้ช่วยแม่กวาดบ้าน กวาดใบไม้ ดูดฝุ่น หรือพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น แค่นี้เด็ก ๆ ก็เหมือนได้ออกกำลังกายแล้ว ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายแบบนี้เหมาะกับเด็กที่ออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ได้
4. การฉีดฮอร์โมนเข้าร่างกาย
สำหรับเด็กที่เข้ารับการตรวจฮอร์โมนเติบโตกับคุณหมอ แล้วพบว่าเด็กขาดฮอร์โมนเติบโต ถ้าพ่อแม่อยากให้เด็กมีความสูงที่เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถให้คุณหมอฉีดฮอร์โมนได้ แต่ขึ้นอยู่กับผลการทดสอบร่างกายของลูกน้อย ซึ่งเด็กแต่ละคนจะสูงมากหรือน้อยนั้น คุณหมอจะช่วยประเมินให้ได้ แน่นอนว่าการฉีดแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูง
วิธีทำนายความสูงของลูก ในอนาคตลูกจะสูงเท่าไร
1. วัดความสูงของลูกเมื่ออายุ 2 ขวบ
วิธีการคือให้คุณแม่นำความสูงของลูก เมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ มาคูณ 2 เช่น ลูกอายุ 2 ขวบ มีความสูงเท่ากับ 85 ซม. เอา 2 มาคูณ (85 x 2) เท่ากับ 170 ซม. แสดงว่าลูกของเราสามารถสูงได้ถึง 170 ซม.
2. เช็กจากตารางการเติบโต
เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ต้องวัดความสูงของลูกน้อยก่อน จากนั้นนำไปเทียบกับตารางด้านล่าง แล้วดูแนวโน้มว่าลูกเราจะสูงขึ้นเท่าไหร่ ตามเส้นโค้งของกราฟ เช่น ในขณะนี้ลูกอายุ 6 ปี ความสูงเท่ากับ 109 ซม. และคาดว่าเด็กอาจมีความสูงเท่ากับ 66 นิ้ว หรือประมาณ 167.5 ซม. เมื่อมีอายุประมาณ 20 ปี ทั้งนี้ตารางดังกล่าวเป็ยของประเทศอังกฤษ ซึ่งเด็กไทยอาจไม่สูงเท่านี้ แต่พ่อแม่สามารถใช้เทียบดูคร่าวๆ ได้
วิธีทำนายความสูงเด็ก ผู้หญิง หยุด สูงอายุ เท่า ไหร่
ส่วนด้านล่างนี้ เป็นตารางการเจริญเติบโตของเด็กไทย
ผู้หญิง หยุด สูงอายุ เท่า ไหร่ ตารางการเจริญเติบโตเด็กหญิง 0-2 ปี
ตารางการเจริญเติบโตเด็กหญิง 2-7 ปี ผู้หญิง หยุด สูงอายุ เท่า ไหร่
ตารางการเจริญเติบโตเด็กชาย 0-2 ปี
ตารางการเจริญเติบโตเด็กชาย 2-7 ปี
ดูกราฟตารางการเจริญเติบโตของเด็กเพิ่มเติม คลิก
3. ดูจากพันธุกรรม
วิธีการคือ จดความสูงของแม่และของพ่อ จากนั้นหาความสูงเฉลี่ยของทั้งสองคน ถ้าเป็นเด็กผู้ชายให้บวกเพิ่ม 6.25 ส่วนเด็กผู้หญิงลบด้วย 6.25 เช่น
- พ่อสูง 170 ซม.
- แม่สูง 155 ซม.
- ความสูงเฉลี่ย คือ (170 + 155)/2 = 162.5 ซม.
- ถ้าลูกชาย ความสูงลูกจะได้ประมาณ 162.5 + 6.25 = ประมาณ 168 ซม.
- ถ้าลูกสาว ความสูงลูกจะได้ประมาณ 162.5 – 6.25 = ประมาณ 156 ซม.
วิธีนี้เป็นการประมาณเท่านั้น ซึ่งมีโอกาสแม่นยำ บวกลบ 5 ซม. ร้อยละ 68 และมีความแม่นยำ บวกลบ 10 ซม. ถึงร้อยละ 95 ทั้งนี้ คุณแม่อาจต้องคิดความสูงบวกลบไว้เผื่อด้วย เนื่องจากเป็นการทำนายเท่านั้น
ที่มา: doctor, Phyathai, livestrong, Verywell Family
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ปิดเทอมให้ลูกทำอะไรดี กิจกรรมช่วงปิดเทอมที่ลูกทำแล้วไม่เบื่อ
มีลูกห่างกันกี่ปีถึงจะดี ลูกคนต่อไปควรเว้นระยะเท่าไหร่
ท้องแรก ท้องสอง ต่างกันไหม การ์ตูนสุดฮา เปรียบเทียบแม่ท้องแรกกับท้องสอง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!