X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คู่มือการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

บทความ 3 นาที
คู่มือการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตหรือ Growth Curve ที่คุณแม่เห็นในสมุดบันทึกสุขภาพของลูกที่ทางโรงพยาบาลได้ให้ติดตัวลูกมาตั้งแต่แรกเกิด เป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ใช้ในการติดตามพัฒนาการและประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็กตามเพศ อายุ และเชื้อชาติ โดยแสดงออกมาในรูปกราฟ หากคุณแม่มีสมุดบันทึกสุขภาพลูกอยู่ติดมือ ลองมาทำความเข้าใจวิธีการใช้กราฟนี้กันดูนะคะ

ทำความรู้จักกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

สำหรับ กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต ในสมุดบันทึกจะแสดงออกมารูปของกราฟ โดยได้รับการพัฒนามาจากข้อมูลประชากรเด็กไทยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แยกตามเพศและอายุ ดังนี้

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิง (สีชมพู) อายุ 0-36 เดือน กราฟเทียบน้ําหนักส่วนสูงกรมอนามัย

คู่มือการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

กราฟมาตรฐาน กราฟการเจริญเติบโต

 

Advertisement

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กชาย (สีฟ้า) อายุ 0-36 เดือน กราฟเทียบน้ําหนักส่วนสูงกรมอนามัย

คู่มือการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

กราฟมาตรฐาน กราฟการเจริญเติบโต

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิง (สีชมพู) อายุ 2-19 ปี

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต กราฟมาตรฐาน

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กชาย (สีฟ้า) อายุ 2-19 ปี

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต กราฟมาตรฐาน

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต เป็นเส้นกราฟที่ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ เส้นกราฟกลุ่มล่างแกนตั้งด้านขวาจะแสดงน้ำหนัก (กิโลกรัม) และเส้นกราฟกลุ่มบนแกนแนวตั้งด้านซ้ายจะแสดงความสูง (เซนติเมตร) โดยมีแกนนอนเป็นอายุ ได้แก่ 0-36 เดือน (1 ช่องย่อยเล็ก ๆ เท่ากับ 1 เดือน) และอายุ 2-19 ปี (1 ช่องย่อยเท่ากับปี) และมีเส้นกราฟเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile) ที่ 3, 10, 25, 50, 75, 90 และ 97 ทั้งส่วนของน้ำหนักและความสูง ของเพศและอายุเดียวกันเป็นตัวเปรียบเทียบว่าเด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สูงกว่า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

วิธีการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

1.ดูกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตตามเพศและอายุให้ถูกต้อง สีชมพูสำหรับเด็กหญิง และสีฟ้าสำหรับเด็กชาย

2.นำความสูง (เซนติเมตร) และน้ำหนัก (กิโลกรัม) ของเด็ก ณ อายุที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากำหนดจุดลงบนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต เช่น ลูกอายุ 3 ปีมีน้ำหนัก 13 กิโลกรัม และความสูง 93 เซนติเมตร ให้ลากเส้นแนวตั้ง (ขนานกับแกนตั้ง) ที่อายุ 3 ปี ขึ้นไปตัดกับเส้นแนวนอน (ขนานกับแกนนอน) ที่น้ำหนัก 13 กิโลกรัม จะได้จุดตัดระหว่างอายุกับน้ำหนัก 1 จุด และลากเส้นแนวตั้งที่อายุ 3 ปี ขึ้นไปตัดกับความสูงที่ 93 เซนติเมตร จะได้จุดตัดระหว่างอายุกับความสูงอีก 1 จุด ให้พิจารณาดูว่ากราฟการเจริญเติบโตของเด็กมีแนวโน้มเป็นไปตามเส้นกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เท่าไร และมีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือเพิ่มขี้นจากเดิมหรือไม่

3.สามารถทำวิธีเดียวกันแบบนี้ เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะได้กราฟการเจริญเติบโตของเด็กทั้งส่วนที่แสดงเป็นน้ำหนัก (กราฟช่วงล่าง) และส่วนที่แสดงเป็นความสูง (กราฟช่วงบน)

ดูความหมายของเปอร์เซ็นต์ไทล์บนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต >> 

วิธีดูความหมายของเปอร์เซ็นต์ไทล์บนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 97 (P97) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 3 คน ถือว่าเด็กมีแนวโน้มพัฒนาการเจริญเติบโตที่สูงกว่าปกติ (มีความสูงอยู่ในช่วงแนวหน้าหรือต้นแถวของเด็กกลุ่มนี้)

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 (P75) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 25 คน ถือว่าเด็กมีแนวโน้มพัฒนาการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 (P50) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 50 คน ถือว่าเด็กมีแนวโน้มพัฒนาการเจริญเติบโตที่ปกติ (อยู่กลางแถวของเด็กกลุ่มนี้)

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 (P25) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 75 คน

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 (P3) หมายถึง  เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 97 คน (มีความสูงอยู่ในช่วงปลายแถวเด็กกลุ่มนี้) เป็นต้น

ในความหมายของน้ำหนักเปอร์เซ็นต์ไทล์ก็เช่นเดียวกับความสูง ซึ่งเด็กที่มีเกณฑ์ปกติจะมีค่าอยู่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 ส่วนเด็กที่มีกราฟการเจริญเติบโตอยู่ที่ความสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 ของกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กเพศและอายุเดียวกัน หรือเด็กมีความสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 (กรณีที่เด็กมีคุณพ่อสูงเกิน 170 เซนติเมตร และมีคุณแม่สูงเกิน 157 เซนติเมตร) หรือเด็กที่มีกราฟการเจริญเติบโตที่ช้าลง เช่น เมื่อปีที่แล้วมีส่วนสูงอยู่ที่ P90 แต่ปีนี้มีส่วนสูงอยู่ที่ P75 ถือว่าเริ่มมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ และมีโอกาสเกิดภาวะตัวเตี้ย (Short stature) ควรที่จะปรึกษาแพทย์ทางด้านพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกนะคะ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

Source : www.kidgrowth.net

https://nutrition.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=96

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกศีรษะโตผิดปกติหรือไม่?
การวัดรอบศีรษะลูกน้อย บอกอะไร?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • คู่มือการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว