เหา เรื่องเหา ๆ ที่พ่อแม่หนักใจ เหาคืออะไร เกิดจากอะไร และกำจัดได้อย่างไร
บ้านไหนมีลูกผู้หญิงเรื่องเหาคงเป็นเรื่องปกติที่เหล่าผู้ปกครองมักเจอ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าเหานั้นติดได้แค่กับเด็ก ๆ ผู้หญิงเท่านั้น เพราะเด็กผู้ชายก็สามารถเป็นเหาได้เช่นกัน แล้วคุณพ่อคุณแม่สงสัยกันหรือไม่ว่าเจ้าเหาที่เด็ก ๆ มักเป็นกันนั้น มันเกิดจากอะไรกันแน่ เหาคืออะไร และกำจัดได้อย่างไร แล้วสิ่งที่เข้าใจผิดมาตลอดของเหล่าคุณผู้ปกครอง คือ เหาไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาสุขอนามัยหรือความสกปรกแต่อย่างใด
เหาคืออะไร
เหาคืออะไร และกำจัดได้อย่างไร
เหา หรือ Head Lice เป็นแมลง Pediculus humanus capitis สีออกเทาๆ ขนาดยาว 3-4 มิลลิเมตร กินขี้ไคลบนหนังศรีษะคน เป็นอาหาร เหาตัวเมียมีอายุประมาณ 1 เดือน จะไข่ที่โคนผมประมาณ 7-10 ฟอง ต่อวัน ไข่จะเห็นเป็นตุ่มสีขาวติดแน่นอยู่กับผม หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เหาออกไข่ ไข่ที่ไม่มีเหาแล้วจะยังคงติดแน่นอยู่กับผม เมื่อผมงอกยาวขึ้นไข่ก็จะเลื่อนตามไปด้วย
เหาติดอย่างไร
เหาไม่สามารถกระโดดหรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน สาเหตุของเหาเกิดจากปรสิตชื่อเหา (Lice) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนหนังศีรษะมนุษย์ คอยดูดเลือดและวางไข่ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดเท่าเมล็ดงา การติดโรคเหาส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการอยู่ใกล้ชิดคนที่ติดเหา
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหามักจะเกิดจากการอยู่ใกล้ชิดคนที่เป็นเหา ทั้งนี้ เหาไม่สามารถกระโดดจากศีรษะผู้ป่วยไปยังผู้อื่น เนื่องจากเหาเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถกระโดดหรือว่ายน้ำได้
นอกจากนี้ ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าโรคเหาสามารถติดต่อกันได้หากไม่รักษาความสะอาด ทั้งที่จริงแล้ว โรคเหานั้นสามารถติดได้แม้จะรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่สามารถติดจากสัตว์ได้ เพราะเหาเป็นสัตว์ปรสิตที่มีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น
อาการของคนเป็นเหา
เหา คืออะไร และกำจัดได้อย่างไร
โดยส่วนใหญ่ อาการของเหาไม่ได้สร้างความเจ็บปวดให้แก่เด็ก ๆ แต่จะสร้างความรำคาญและรบกวนร่างกายและจิตใจ อาการที่อาจพบได้ ได้แก่
- รู้สึกเหมือนมีตัวอะไรกำลังเคลื่อนไหวอยู่บนหนังศีรษะ
- มีอาการคันซึ่งเกิดจากการแพ้น้ำลายของเหา
- เจ็บที่บริเวณหนังศีรษะเนื่องจากการเกา และการเกาอาจทำให้อักเสบจนเป็นแผลและตุ่มน้ำได้
- รู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากอาการข้างต้น จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้อาการอักเสบเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคเหา เนื่องจากเมื่อเกิดอาการคันแล้วผู้ป่วยจะเกาอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดแผลและติดเชื้ออักเสบในที่สุด โดยมีรายงานพบว่าผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคเหาค่อนข้างรุนแรงอาจมีอาการผมร่วง และหนังศีรษะมีสีคล้ำขึ้นเนื่องจากการอักเสบ
เหาคืออะไร และกำจัด ได้อย่างไร
ภาวะแทรกซ้อนของเหา
ภาวะแทรกซ้อนของเหาส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย การติดเหาอาจนำมาสู่การติดเชื้อบนหนังศีรษะ เพราะเมื่อเกิดอาการคันจากเหาผู้ป่วยจะเกาะและอาจทำให้เป็นแผลเปิด นอกจากนี้ หากผู้ป่วยแพ้อุจจาระของเหาจะยิ่งทำให้เกิดอาการคันบริเวณหลังคอและหลังใบหูได้ ด้านจิตใจ ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวล จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน
วิธีกำจัดเหา
การรักษาเหาเป็นสิ่งที่ทำเองได้ที่บ้านด้วยการใช้ยาหรือวิธีอื่น ๆ เช่น การสางผม การใช้ยา เป็นต้น โดยการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- การสางผมด้วยหวีสางเหา (Wet-combing)
เหาคืออะไร และ กำจัดได้อย่างไร
การสางผมขณะที่เปียกด้วยหวีสางเหา ซึ่งมีซี่หวีถี่กว่าปกติ โดยความถี่ของหวีจะช่วยกำจัดเหา และไข่เหา แนะนำว่าควรชะโลมครีมนวดผมก่อนที่จะทำการสาง เพื่อให้สะดวกต่อการสางมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยทำให้เหาเคลื่อนไหวได้ช้าลงอีกด้วย เมื่อทำการหวีแล้วให้นำหวีไปเช็ดกับผ้าสะอาดเพื่อตรวจสอบว่ามีเหาหรือไม่ ควรทำซ้ำอย่างน้อยทุก ๆ 1 – 2 วัน จนกว่าจะไม่พบเหาบนหนังศีรษะ
- การใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
น้ำมันหอมระเหยจากพืชบางชนิด อาจเป็นพิษและส่งผลกระทบกับเหาและไข่เหาได้ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวมีดีต่อการกำจัดเหา ได้แก่ น้ำมันต้นทีทรี น้ำมันโปยกั๊ก น้ำมันกระดังงา การใช้น้ำมันหอมระเหยในการกำจัดเกานั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยในเด็กอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่นได้
ยารักษาโรคเหา มีดังนี้
- เพอร์เมทริน (Permethrin)
- ไพรีทริน (Pyrethrins)
- มาลาไทออน (Malathion)
- คาบาริล (Carbaryl)
เหาสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้ไม่เกิน 2 วันเท่านั้น และไข่ของมันไม่สามารถฟักได้หากอยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม หากพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคเหา แนะให้ว่าควรทำความสะอาดบ้านโดยเร็วเพื่อกำจัดเหาที่อาจติตามเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน
การป้องกันเหา
เหาคือ อะไร และกำจัดได้อย่างไร
- สอนลูกไม่ให้ใช้หวีร่วมกับคนอื่น เด็กที่ไว้ผมยาวควรมัดผมหรือถักเปียไว้ประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเหาได้ง่าย
- ทําความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ด้วยการซักน้ำร้อน
- ล้างหวีในน้ำร้อนเพื่อฆ่าตัวเหา
- แยกของใช้ส่วนตัว หวีผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน ไม่ใช้ของร่วมกัน
- ตัดเล็บลูกให้สั้นเพื่อป้องกันการแคะ แกะ เกา ผิวหนังหรือบริเวณที่มีผื่นคัน
Source : pobpad
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีทำพาสปอร์ตให้ลูก เด็กทำพาสปอร์ตได้ตอนอายุเท่าไหร่? ต้องใช้อะไรบ้าง?
โรคเฮอร์แปงไจน่า ตุ่มแผลในปากเด็ก ติดง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน พ่อแม่ต้องระวัง!
ไข้เลือดออกเด็กตาย อีกหนึ่งราย มันมาแล้ว ระบาดหนักเกือบ 700 ราย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!