X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อ่านกันให้ชัด ๆ ทำไม อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ถึงไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

บทความ 5 นาที
อ่านกันให้ชัด ๆ ทำไม อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ถึงไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

เรามักจะได้ยินกันเสมอ เรื่อง อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ว่ามักจะไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ แต่มันเป็นเพราะอะไรกันล่ะ บทความนี้มีคำตอบ

ทำไม อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ถึงไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

จากหลักฐาน ตามสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ในจีน แสดงให้เห็นว่า อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) มักจะมีอาการไม่รุนแรง เท่ากับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ทำไมไวรัสถึงส่งผลกระทบต่อเด็ก ต่างกันกับผู้ใหญ่ล่ะ บทความนี้มีคำตอบ

เด็กติดโควิดอาการไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

เด็ก ๆ สามารถติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ได้มั้ย?

แน่นอนค่ะ เด็ก ๆ เองก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ได้เหมือนกันคนอื่น ๆ แต่จากสถิติทั้งหลายแล้ว เลยพอจะบอกได้ว่า เด็ก ๆ จะมีภูมิต้านทานที่ดีกว่าผู้สูงอายุ ดังนั้นก็เลยไม่น่าวิตกกังวลเท่ากับเวลาผู้สูงอายุติดเชื้อ

แต่ถึงแม้ว่า เด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีรายงาน เด็กที่เสียชีวิตจากโควิด-19 (COVID-19) มาบ้างเหมือนกันนะ จากสถานการณ์ข้อมูลทั่วโลก มีเด็กหญิงวัย 12 ปี เสียชีวิตที่ประเทศเบลเยียม เด็กชายวัย 13 ปี เสียชีวิตที่ประเทศอังกฤษ แล้วจากข้อมูลในจีน ก็มีเด็กวัย 14 ปี เสียชีวิตจากโควิด-19 (COVID-19) ด้วย

อาการ เด็กติดโควิด

เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเด็ก ต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร?

จากสถิติของจีน เปิดเผยว่า เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) จะแสดงอาการน้อย เด็กจะมีไข้อ่อน ๆ ไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล อาการคล้าย ๆ กับไข้หวัดทั่วไป สอดคล้องกับที่กระทรวงสาธารณะสุขไทย ได้เคยแถลงข่าวไว้ว่า เด็กจะมีอาการไอ เจ็บคอ ผิดกับผู้ใหญ่ ที่มักจะไข้สูงนำมาก่อน

ส่วนผู้ติดเชื้อในเด็กนั้น มีเพียงแค่ 1 ใน 3 ที่จะมีอาการหนักถึงขั้นปวดบวม ไข้สูง และหายใจติดขัด สำหรับเด็กส่วนใหญ่ที่ติด โควิด-19 (COVID-19) ก็สามารถหายใจได้เป็นปกติดี ไม่ได้มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19)

อาการ เด็กติดโควิด

เกรแฮม โรเบิร์ต (Graham Roberts) กุมารแพทย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน (University of Southampton) ได้อธิบายไว้ว่า เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) จะแสดงอาการตรงระบบทางเดินหายใจส่วนบน นั่นก็คือ ปาก จมูก ลำคอ อาการก็เลยเหมือนไข้หวัดธรรมดา ส่วนผู้ใหญ่ จะแสดงอาการตรงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอด ก็เลยมักมีอาการปอดบวม ปวดอักเสบ หายใจลำบาก

ตามสถิติผู้ป่วยแล้ว เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) แล้วมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) หรือรุนแรงถึงขั้นช็อค มีเพียงแค่ 6% เท่านั้น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเด็กอีก 1% ที่มีเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการใดใดก็มี ในขณะที่จากสถิติผู้ป่วยในจีน ที่เป็นผู้ใหญ่ มักจะมีอาการเหล่านี้สูงถึง 19% และผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือเกี่ยวกับโรคหัวใจอยู่แล้ว ก็มักจะอาการหนักกว่าเด็กอีกมาก

อาการ เด็กติดโควิด

ทำไมร่างกายเด็ก ถึงจัดการกับไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ได้ดีกว่าผู้ใหญ่?

เกรแฮม โรเบิร์ต (Graham Roberts) ได้อธิบายไว้ว่า ในร่างกายของเรา ก่อนที่ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกาย จะต้องมีพาหะนำเข้าไป ไม่อย่างนั้น เซลล์เม็ดเลือดขาว จะไม่ยอมให้เชื้อไวรัสเข้าไปได้

ซึ่งเจ้าไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เนี่ย พอเข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะไปจับตัวเข้ากับโปรตีนบนผิวเซลล์ ที่เรียกว่า Angiotensin converting enzyme II (ACE-2) แล้วก็เริ่มแฝงตัวเข้าไปในร่างกายเรา

ประเด็น มันอยู่ที่เจ้า Angiotensin converting enzyme II (ACE-2) เนี่ยแหละ เด็กจะมีตัวรับ ACE-2 ในระบบทางเดินหายใจตอนบน มากกว่าระบบทางเดินหายใจตอนล่าง เด็กก็เลยแสดงอาการผ่านทาง จมููก ปาก หรือลำคอ

อาการ เด็กติดโควิด

ต่างจากผู้ใหญ่ ที่มี ACE-2 ในระบบทางเดินหายใจตอนล่างมากกว่า ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เลยแสดงอาการหนักกว่า จนถึงขั้นปอดอักเสบ

ดังนั้นการที่เด็กแสดงอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ไม่ได้หมายความว่า น้องไม่ได้มีเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในตัวหรอกนะคะ แถมยิ่งต้องระวังด้วย เพราะถึงเด็กจะอาการไม่หนัก แต่น้องอาจแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู่ผู้ใหญ่ ยิ่งบ้านไหนมีผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ยิ่งต้องระวัง เพราะถ้าหากรับเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) อาการจะน่าเป็นห่วงกว่าเด็ก

เด็กติดโควิดอาการไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

เชื้อโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเด็กในวัยต่างกันหรือไม่?

ข้อมูลจากประเทศจีน ชี้ให้เห็นว่า เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ในจีนพบว่า มีทารกอัตราส่วน 1 ใน 10 คน ติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ส่วนเด็กโตขึ้นมาหน่อย 5 ขวบขึ้นไป จะพบเพียง 3-4 คน จาก 100 ที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) และมีอาการป่วยหนัก

อ้างอิงตามสถิติของจีน ระบุว่า ไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี เสีบชีวิตด้วยโรคโควิด-19 (COVID-19) มีเพียงรายเดียว คือเด็กอายุ 14 ปี เท่านั้น

เด็กติดโควิดอาการไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

ทารกแรกเกิด สามารถติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ได้หรือไม่?

จากข้อมูลผู้ป่วยโดยรวมทั่วโลก ทารกแรกเกิด สามารถติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ได้เช่นเดียวกับทุก ๆ คน แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ว่าติดเชื้อผ่านแม่มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือว่าติดเชื้อจากการสัมผัส หลังจากแม่คลอดน้องออกมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ถือเป็นอีกสิ่ง ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง เพราะอาจก่อให้เกิดการแท้งลูก การคลอดก่อนกำหนด หรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้ จึงควรดูแลตัวเองให้ปลอดเชื้อ ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังที่สุดค่ะ

ที่มา : 1

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มาดู ภาพเชื้อโรคบนมือสุดสยอง เหตุผลว่า ทำไมต้องล้างมือ เพราะมันอี๋มาก

อยู่แต่ในบ้าน แต่ก็ติดโควิด ช็อค! อยู่บ้านมา 3 อาทิตย์ แต่ผลตรวจเจอเชื้อโควิด-19

เคล็ดลับเกี่ยวกับ วิธีการซักเสื้อผ้า ของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

บทความจากพันธมิตร
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

PP.

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • อ่านกันให้ชัด ๆ ทำไม อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ถึงไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่
แชร์ :
  • ต้านไม่อยู่ เด็ก 8 ขวบ ติดโควิด-19 ยืนยันตรวจพบเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการมากนัก

    ต้านไม่อยู่ เด็ก 8 ขวบ ติดโควิด-19 ยืนยันตรวจพบเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการมากนัก

  • เด็กติดอีกราย! เด็ก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่กลับมาจากโรงพยาบาล

    เด็กติดอีกราย! เด็ก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่กลับมาจากโรงพยาบาล

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ต้านไม่อยู่ เด็ก 8 ขวบ ติดโควิด-19 ยืนยันตรวจพบเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการมากนัก

    ต้านไม่อยู่ เด็ก 8 ขวบ ติดโควิด-19 ยืนยันตรวจพบเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการมากนัก

  • เด็กติดอีกราย! เด็ก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่กลับมาจากโรงพยาบาล

    เด็กติดอีกราย! เด็ก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่กลับมาจากโรงพยาบาล

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว